ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ เผย “แบงก์ชาติ-คลัง” ตกลงไม่ใช้ “ซีโร่ คูปอง” ในการแก้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 แสนล้านบาท แต่จะใช้สินทรัพย์กองทุนฟื้นฟูฯ ให้คลังที่มีอยู่ 3-4 แสนล้านบาท พร้อมโอนหุ้นแบงก์-เอเอ็มซี ให้ด้วย ส่งผลให้หนี้เหลือไม่ถึง 7-8 แสนล้านบาท แน่นอน
นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า ขณะนี้ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.ได้ตกลงเบื้องต้นกับ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง แล้วว่าจะไม่ใช้แนวทางให้กระทรวงการคลังออกพันธบัตรรัฐบาลที่ปลอดดอกเบี้ย (ซีโร่ คูปอง) โดยให้ ธปท.เข้าไปซื้อเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯที่เหลืออยู่ 1.14 ล้านล้านบาท เพราะมองว่าเรื่องนี้ผิดวินัยทางการเงิน จึงจะทบทวนใช้แนวทางอื่นแทน
ส่วนกรณีโอนทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯ ไปใช้หนี้ดังกล่าวจากการตีราคาประมาณ 3-4 แสนล้านบาท ทำให้หนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯลดลงเหลือ 7-8 แสนล้านบาท โดยในส่วนของทรัพย์สินอื่นๆ นอกเหนือจากหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่ โดยเฉพาะที่ดินแปลงใหญ่อย่างที่ดินรัชดาฯ และภูเก็ตจะไม่โอนให้แก่กระทรวงการคลัง แต่จะพยายามขายและนำรายได้ส่งให้คลังต่อไป
ขณะที่หุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่ทั้งธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 55.29% บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (BAM) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท จำกัด (SAM) ในสัดส่วนแห่งละ 100% ในขณะนี้ยังมีรายได้ในลักษณะปันผลมายังกองทุนฟื้นฟูฯ ในทุกปี จึงคาดว่าจะโอนหุ้นให้แก่กระทรวงการคลัง ส่วนคลังจะดำเนินการขายหุ้นหรือถือหุ้นต่อไปให้ก็ขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลัง
“กองทุนฟื้นฟูฯ จะพยายามเคลียร์หนี้สิน และโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้คลังไปทั้งหมด ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีนี้น่าจะได้เห็น เมื่อจบแล้วก็จะออกกฎหมายปิดตัวกองทุนฟื้นฟูฯ ต่อไป แต่ประเด็นก็ไม่แน่ใจว่ากฎหมายปิดตัวกองทุนฟื้นฟูฯจะเข้าได้ทันสภา หรือไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อโอนทรัพย์ของกองทุนฟื้นฟูฯไปแล้วจะนำรายได้ไปใช้หนี้ในกอง FIDF1 หรือFIDF3 ไหนจะต้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง” ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าว
ก่อนหน้านี้ นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.มีแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่เหลืออยู่ 1.14 ล้านล้านบาทอยู่หลายวิธี แต่ไม่ว่าจะเลือกแนวทางใดก็ไม่สามารถดำเนินการได้ทันทีต้องมีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สามารถดำเนินการตามแนวทางที่เลือกไว้ได้ จึงคาดว่าอาจจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการ
นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า ขณะนี้ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.ได้ตกลงเบื้องต้นกับ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง แล้วว่าจะไม่ใช้แนวทางให้กระทรวงการคลังออกพันธบัตรรัฐบาลที่ปลอดดอกเบี้ย (ซีโร่ คูปอง) โดยให้ ธปท.เข้าไปซื้อเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯที่เหลืออยู่ 1.14 ล้านล้านบาท เพราะมองว่าเรื่องนี้ผิดวินัยทางการเงิน จึงจะทบทวนใช้แนวทางอื่นแทน
ส่วนกรณีโอนทรัพย์สินของกองทุนฟื้นฟูฯ ไปใช้หนี้ดังกล่าวจากการตีราคาประมาณ 3-4 แสนล้านบาท ทำให้หนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯลดลงเหลือ 7-8 แสนล้านบาท โดยในส่วนของทรัพย์สินอื่นๆ นอกเหนือจากหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่ โดยเฉพาะที่ดินแปลงใหญ่อย่างที่ดินรัชดาฯ และภูเก็ตจะไม่โอนให้แก่กระทรวงการคลัง แต่จะพยายามขายและนำรายได้ส่งให้คลังต่อไป
ขณะที่หุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่ทั้งธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วน 55.29% บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (BAM) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท จำกัด (SAM) ในสัดส่วนแห่งละ 100% ในขณะนี้ยังมีรายได้ในลักษณะปันผลมายังกองทุนฟื้นฟูฯ ในทุกปี จึงคาดว่าจะโอนหุ้นให้แก่กระทรวงการคลัง ส่วนคลังจะดำเนินการขายหุ้นหรือถือหุ้นต่อไปให้ก็ขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลัง
“กองทุนฟื้นฟูฯ จะพยายามเคลียร์หนี้สิน และโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้คลังไปทั้งหมด ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีนี้น่าจะได้เห็น เมื่อจบแล้วก็จะออกกฎหมายปิดตัวกองทุนฟื้นฟูฯ ต่อไป แต่ประเด็นก็ไม่แน่ใจว่ากฎหมายปิดตัวกองทุนฟื้นฟูฯจะเข้าได้ทันสภา หรือไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อโอนทรัพย์ของกองทุนฟื้นฟูฯไปแล้วจะนำรายได้ไปใช้หนี้ในกอง FIDF1 หรือFIDF3 ไหนจะต้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง” ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าว
ก่อนหน้านี้ นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ธปท.มีแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่เหลืออยู่ 1.14 ล้านล้านบาทอยู่หลายวิธี แต่ไม่ว่าจะเลือกแนวทางใดก็ไม่สามารถดำเนินการได้ทันทีต้องมีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สามารถดำเนินการตามแนวทางที่เลือกไว้ได้ จึงคาดว่าอาจจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการ