ASTVผู้จัดการรายวัน - บอร์ดกองทุนฟื้นฟูฯ สรุปเคลียร์หนี้ต้องออก พ.ร.บ.มาปิดกองทุนฯ และผ่านต้องสภา ก่อนโอนสินทรัพย์ให้กระทรวงการคลัง เผยสินทรัพย์มีประมาณ 3-4 แสนล้านบาท เงินต้นที่เหลือโอนให้ปลัดคลังเจรจากับผู้ว่าฯ ธปท.
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักบริหารหนี้สาธารณะ ในฐานะรองประธานกรรมการ คณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการจัดการกองทุนได้ตกลงในหลักการให้ออกกฎหมายปิดตัวกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อให้สามารถดำเนินการโอนสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ทั้งหมดของกองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูฯ ไปให้กระทรวงการคลังในการใช้หนี้เงินต้นจำนวน 1.14 ล้านล้านบาทได้
โดยรายละเอียดของร่างกฎหมายปิดตัวกองทุนฟื้นฟูฯ จะมีการดำเนินการตกลงร่วมกันในรายละเอียด ระหว่างธปท.และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หลังจากนั้นจะมีการโอนทรัพย์สินให้แก่กระทรวงการคลัง ซึ่งคาดว่าคลังจะแต่งตั้งให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ( สคร.)เป็นผู้บริหารจัดการทรัพย์สินดังกล่าวและนำรายได้ไปชดเชยหนี้กองทุน ฟื้นฟูฯ ต่อไป
“เท่าที่ประเมินราคาเบื้องต้น ตีราคาตลาด คาดว่าจะได้เงินมูลค่าหลายแสนล้านบาท และในส่วนของสินทรัพย์บางอย่างที่ได้ไปก็จะไม่ได้ขายออกทันที ซึ่งหากบริหารจัดการต่อ 3-4 ปี ก็ช่วยลดภาระหนี้ไปได้เยอะ ส่วนหนี้สินก็จะเคลียร์ตามเนื้อหากฎหมายปิดตัวกองทุนฟื้นฟูฯที่ระบุชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไรและเข้าสู่กระบวนการทางบัญชีต่อไป”นายจักรกฤศฎิ์กล่าว
ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการจัดการกองทุนครั้งนี้ ทางกระทรวงการคลังไม่ได้เสนอแนวทางอะไรเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ในส่วนที่เหลือจากการโอนสินทรัพย์ไปชดใช้หนี้ เพราะการแก้ปัญหาหนี้สินดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทางนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังและนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท.อยู่ระหว่างคุยรายละเอียดกันอยู่ รวมถึงเรื่องที่กระทรวงการคลังจะออกพันธบัตรรัฐบาลแบบปลอดอัตราดอกเบี้ย (ซีโร่ คูปอง) ให้ธปท.เข้าซื้อด้วย
ด้านนางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ จัดการกองทุน ธปท.และในฐานะผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของกองทุนฟื้นฟูนั้น เหลือหนี้สินในส่วนของกองทุนที่ต้องใช้คืนด้วยตัวเองอีก 31,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการชำระคืนพันธบัตรออมทรัพย์ให้กับประชาชน ซึ่งสินทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจะโอนไปให้กระทรวงการคลังเพื่อใช้หนี้ หลังจากที่ พ.ร.บ.ปิดกองทุน
ผ่านการอนุมัติของรัฐสภา ซึ่งกระบวนการดังกล่าวคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
“เท่าที่ได้มีการตีราคาเบื้องต้น เพื่อเสนอให้ที่ประชุมรับทราบ โดยในส่วนของหุ้นใช้ราคาตลาดและสินทรัพย์อื่นใช้ราคายุติธรรม แล้ว มูลค่าของสินทรัพย์ที่จะโอนไปมีประมาณ 300,000-400,000 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับหมดหน้าที่ของกองทุนฟื้นฟูฯแล้ว หนี้สินที่เหลือจะเป็นหน้าที่ต้องหาทางแก้ไขร่วมกันระหว่างคลังและธปท.ต่อไป”ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯกล่าว
ในส่วนของภาระหน้าที่ตามกฎหมายเดิมที่กำหนดให้กองทุนรฟื้นฟูฯ ยังมีหน้าที่ดูแลสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินกรณีที่จะสถาบันการเงินมีความ ไม่มั่นคงทางการเงิน ไปจนถึงเดือน ส.ค.2555 นั้น กองทุนฟื้นฟูฯยังทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไป และระหว่างนั้น หากพ.ร.บ.ปิดกองทุน ประกาศใช้ เชื่อว่าจะมีเนื้อหา หรือบทเฉพาะกาล เพื่อจัดการหรือหาหน่วยงานรับผิดชอบมาทำหน้าที่แทนกองทุนฟื้นฟูฯ.
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักบริหารหนี้สาธารณะ ในฐานะรองประธานกรรมการ คณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการจัดการกองทุนได้ตกลงในหลักการให้ออกกฎหมายปิดตัวกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อให้สามารถดำเนินการโอนสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ทั้งหมดของกองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูฯ ไปให้กระทรวงการคลังในการใช้หนี้เงินต้นจำนวน 1.14 ล้านล้านบาทได้
โดยรายละเอียดของร่างกฎหมายปิดตัวกองทุนฟื้นฟูฯ จะมีการดำเนินการตกลงร่วมกันในรายละเอียด ระหว่างธปท.และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หลังจากนั้นจะมีการโอนทรัพย์สินให้แก่กระทรวงการคลัง ซึ่งคาดว่าคลังจะแต่งตั้งให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ( สคร.)เป็นผู้บริหารจัดการทรัพย์สินดังกล่าวและนำรายได้ไปชดเชยหนี้กองทุน ฟื้นฟูฯ ต่อไป
“เท่าที่ประเมินราคาเบื้องต้น ตีราคาตลาด คาดว่าจะได้เงินมูลค่าหลายแสนล้านบาท และในส่วนของสินทรัพย์บางอย่างที่ได้ไปก็จะไม่ได้ขายออกทันที ซึ่งหากบริหารจัดการต่อ 3-4 ปี ก็ช่วยลดภาระหนี้ไปได้เยอะ ส่วนหนี้สินก็จะเคลียร์ตามเนื้อหากฎหมายปิดตัวกองทุนฟื้นฟูฯที่ระบุชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไรและเข้าสู่กระบวนการทางบัญชีต่อไป”นายจักรกฤศฎิ์กล่าว
ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการจัดการกองทุนครั้งนี้ ทางกระทรวงการคลังไม่ได้เสนอแนวทางอะไรเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ในส่วนที่เหลือจากการโอนสินทรัพย์ไปชดใช้หนี้ เพราะการแก้ปัญหาหนี้สินดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทางนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังและนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท.อยู่ระหว่างคุยรายละเอียดกันอยู่ รวมถึงเรื่องที่กระทรวงการคลังจะออกพันธบัตรรัฐบาลแบบปลอดอัตราดอกเบี้ย (ซีโร่ คูปอง) ให้ธปท.เข้าซื้อด้วย
ด้านนางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ จัดการกองทุน ธปท.และในฐานะผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของกองทุนฟื้นฟูนั้น เหลือหนี้สินในส่วนของกองทุนที่ต้องใช้คืนด้วยตัวเองอีก 31,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการชำระคืนพันธบัตรออมทรัพย์ให้กับประชาชน ซึ่งสินทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจะโอนไปให้กระทรวงการคลังเพื่อใช้หนี้ หลังจากที่ พ.ร.บ.ปิดกองทุน
ผ่านการอนุมัติของรัฐสภา ซึ่งกระบวนการดังกล่าวคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
“เท่าที่ได้มีการตีราคาเบื้องต้น เพื่อเสนอให้ที่ประชุมรับทราบ โดยในส่วนของหุ้นใช้ราคาตลาดและสินทรัพย์อื่นใช้ราคายุติธรรม แล้ว มูลค่าของสินทรัพย์ที่จะโอนไปมีประมาณ 300,000-400,000 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับหมดหน้าที่ของกองทุนฟื้นฟูฯแล้ว หนี้สินที่เหลือจะเป็นหน้าที่ต้องหาทางแก้ไขร่วมกันระหว่างคลังและธปท.ต่อไป”ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯกล่าว
ในส่วนของภาระหน้าที่ตามกฎหมายเดิมที่กำหนดให้กองทุนรฟื้นฟูฯ ยังมีหน้าที่ดูแลสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงินกรณีที่จะสถาบันการเงินมีความ ไม่มั่นคงทางการเงิน ไปจนถึงเดือน ส.ค.2555 นั้น กองทุนฟื้นฟูฯยังทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไป และระหว่างนั้น หากพ.ร.บ.ปิดกองทุน ประกาศใช้ เชื่อว่าจะมีเนื้อหา หรือบทเฉพาะกาล เพื่อจัดการหรือหาหน่วยงานรับผิดชอบมาทำหน้าที่แทนกองทุนฟื้นฟูฯ.