กองทุนฟื้นฟูประกาศเปิดประมูลที่ดินรัชดาฯ ที่ได้คืนจากคุณหญิงอ้อ อีกรอบต้นเดือน มิ.ย.นี้ คาดราคาพุ่งมากกว่า 1,000 ล้านบาท เพราะกฎหมายยอมให้สร้างตึกสูงได้แล้ว ยืนยันพร้อมเดินหน้าทำงานต่อช่วงรอรัฐบาลใหม่อนุมัติโอนสินทรัพย์ไปคลัง
นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในช่วงสิ้นเดือนนี้ จะมีการเสนอขออนุมัติให้เปิดประมูลขายที่ดินย่านรัชดาฯรอบใหม่อีกครั้ง หลังจากได้รับคืนมาจากคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร และกองทุนฟื้นฟูฯได้ว่าจ้างบริษัทประเมินราคากลาง เพื่อเตรียมการเปิดประมูลใหม่เรียบร้อยแล้ว
“ในขณะที่ยังไม่สามารถปิดกองทุนเพื่อการฟื้นฟูก่อนกำหนดเดิม เพื่อโอนสินทรัพย์ทั้งหมดไปให้กระทรวงการคลังบริหารได้ ตามที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากในช่วงนี้ไม่สามารถแก้ไขกฎหมายได้ เพราะต้องรอรัฐบาลใหม่ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ก็ต้องเดินหน้าดูแลและจัดการทรัพย์สินที่เหลือต่อไปก่อน เพื่อไม่ให้ขาดช่วง โดยในส่วนของที่ดินรัชดาฯ
ซึ่งได้คืนจากคุณหญิงพจมานเรียบร้อยแล้วนั้น หากคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ อนุมัติ ก็สามารถประกาศให้สาธารณะทราบว่าจะมีการประมูลใหม่ ภายในต้นเดือนหน้านี้”
สำหรับข้อแตกต่างของการขายที่ดินรัชดาในครั้งนี้กับครั้งก่อนหน้า คือ เงื่อนไขการสร้างตึกสูง ซึ่งในปัจจุบันกทม.อนุญาตให้ที่ดินย่านนั้น สามารถปลูกตึกสูงได้ จากเดิมที่ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างตึกสูง ทำให้ศักยภาพของที่ดินในขณะนี้มีมากขึ้น และยอมรับว่าราคาที่ดินก็เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งในขณะนี้มีราคาประเมิน และราคากลางที่จะประมูลแล้ว แต่ยังไม่สามารถบอกได้ โดยการประมูลขายนั้น ขายให้กับทุกคนไม่มียกเว้น ใครสนใจก็มาซื้อได้ถ้าไม่มีปัญหาในเรื่องกฎหมาย
ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กล่าวต่อว่า สินทรัพย์อีกส่วนหนึ่งที่จะเดินหน้าจัดการต่อไป น่าจะเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) จำกัด ซึ่งอยู่ในกระบวนขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยในฐานะที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ก็เห็นว่า ยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะเป็นเรื่องทางธุรกิจ ไม่ต้องรอให้มีการโอนสินทรัพย์จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไปกระทรวงการคลังก่อน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เท่าที่บริษัทประเมินราคาประเมินราคาขณะนี้ อยู่ที่สูงกว่า 1,000 ล้านบาท จากราคาเดิม ซึ่งขายให้กับคุณหญิงพจมาน ในช่วงปี 2546 ในราคา 772 ล้านบาท เนื่องจากราคาที่ดินในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มีการปรับกฎหมายให้สามารถสร้างตึกสูงได้
นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฟื้นฟูฯ) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ในช่วงสิ้นเดือนนี้ จะมีการเสนอขออนุมัติให้เปิดประมูลขายที่ดินย่านรัชดาฯรอบใหม่อีกครั้ง หลังจากได้รับคืนมาจากคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร และกองทุนฟื้นฟูฯได้ว่าจ้างบริษัทประเมินราคากลาง เพื่อเตรียมการเปิดประมูลใหม่เรียบร้อยแล้ว
“ในขณะที่ยังไม่สามารถปิดกองทุนเพื่อการฟื้นฟูก่อนกำหนดเดิม เพื่อโอนสินทรัพย์ทั้งหมดไปให้กระทรวงการคลังบริหารได้ ตามที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากในช่วงนี้ไม่สามารถแก้ไขกฎหมายได้ เพราะต้องรอรัฐบาลใหม่ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ก็ต้องเดินหน้าดูแลและจัดการทรัพย์สินที่เหลือต่อไปก่อน เพื่อไม่ให้ขาดช่วง โดยในส่วนของที่ดินรัชดาฯ
ซึ่งได้คืนจากคุณหญิงพจมานเรียบร้อยแล้วนั้น หากคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ อนุมัติ ก็สามารถประกาศให้สาธารณะทราบว่าจะมีการประมูลใหม่ ภายในต้นเดือนหน้านี้”
สำหรับข้อแตกต่างของการขายที่ดินรัชดาในครั้งนี้กับครั้งก่อนหน้า คือ เงื่อนไขการสร้างตึกสูง ซึ่งในปัจจุบันกทม.อนุญาตให้ที่ดินย่านนั้น สามารถปลูกตึกสูงได้ จากเดิมที่ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างตึกสูง ทำให้ศักยภาพของที่ดินในขณะนี้มีมากขึ้น และยอมรับว่าราคาที่ดินก็เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งในขณะนี้มีราคาประเมิน และราคากลางที่จะประมูลแล้ว แต่ยังไม่สามารถบอกได้ โดยการประมูลขายนั้น ขายให้กับทุกคนไม่มียกเว้น ใครสนใจก็มาซื้อได้ถ้าไม่มีปัญหาในเรื่องกฎหมาย
ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กล่าวต่อว่า สินทรัพย์อีกส่วนหนึ่งที่จะเดินหน้าจัดการต่อไป น่าจะเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) จำกัด ซึ่งอยู่ในกระบวนขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยในฐานะที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ก็เห็นว่า ยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะเป็นเรื่องทางธุรกิจ ไม่ต้องรอให้มีการโอนสินทรัพย์จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไปกระทรวงการคลังก่อน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เท่าที่บริษัทประเมินราคาประเมินราคาขณะนี้ อยู่ที่สูงกว่า 1,000 ล้านบาท จากราคาเดิม ซึ่งขายให้กับคุณหญิงพจมาน ในช่วงปี 2546 ในราคา 772 ล้านบาท เนื่องจากราคาที่ดินในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มีการปรับกฎหมายให้สามารถสร้างตึกสูงได้