“กรณ์” ชง ครม.วันนี้อนุมัติงบกลาง 1.2 แสนล้าน ระบุมีความจำเป็นต้องตั้งชดเชยเงินคงคลัง และฟื้นฟูความเสียหายจากภัยธรรมชาติ บิ๊ก สบน.แจงเหตุชดเชยเงินคงคลังสูงส่วนหนึ่งมาจากค่ารักษาพยาบาลที่แห่เบิกเกินงบที่ตั้งไว้ ชี้งบกลางหนุนงบลงทุนปี 55 มีสัดส่วนสูงขึ้นเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายเพิ่มสัดส่วนถึง 25% ในปี 60
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (18 ม.ค.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบการตั้งงบประมาณกลางปี 2554 เพิ่มเติม 1.2 แสนล้านบาท เพื่อนำไปชดใช้เงินคงคลัง และไปฟื้นฟูประเทศที่ได้รับความเสียจากปัญหาภัยธรรมชาติในปีที่ผ่านมา
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงข้อเสนอกระทรวงการคลังในการตั้งงบกลางปี 2554 เพิ่มเติม 1.2 แสนล้านบาท เพื่อนำไปชดเชยเงินคงคลังที่ถูกนำมาใช้และส่วนหนึ่งตั้งในงบกลางเพื่อนำไปช่วยฟื้นฟูหลังน้ำท่วมว่าจากการชดเชยเงินคงคลัง 8.5 หมื่นล้านบาทนั้น เป็นส่วนของการนำออกไปชำระหนี้คืนก่อนกำหนดเพียง 4.2 หมื่นล้านบาท ที่เหลือเป็นการตั้งชดเชยเงินคงคลังที่ถูกดึงไปจ่ายเป็นงบค่ารักษาพยาบาลที่ส่วนใหญ่ในงบประมาณประจำปีจะตั้งไว้ไม่เพียงพอเนื่องจากมียอดการเบิกเกินไปค่อนข้างมาก
ส่วนที่เหลืออีก 3.5 หมื่นล้านบาท ก็น่าจะนำไปใส่ไว้ในงบกลางเพื่อให้มีงบเหลือเพียงพอหลังจากดึงไปช่วยเหลือน้ำท่วมช่วงที่ผ่านมาจนทำให้งบกลางปี 2554 เหลือเพียงครึ่งเดียว
อย่างไรก็ตาม ในการจัดงบกลางปีนั้นเปิดช่องให้รัฐบาลสามารถดำเนินการได้หากต้องการจัดทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมีความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมทั้งการทำเพื่อนำมาชดเชยภาระเงินคงคลังในปีต่อไป เพื่อให้การจัดงบประมาณปีถัดไปจัดทำได้คล่องตัวยิ่งขึ้น
“ปี 53 รัฐบาลจัดเก็บรายได้เกินเป้าหมายมากทำให้มีเงินเหลือเข้าคลังสูงหากไม่ดึงไปชำระหนี้ก่อนกำหนดในปี 54 จำนวน 4.2 หมื่นล้านบาท จะทำให้เงินคงคลังมีสูงเกินไปถึง 4 แสนล้านบาท ส่วนปี 54 หากตั้งงบกลางปีใช้หนี้เงินคลังที่จะเป็นภาระในปี 55 อีก 8.5 หมื่นล้านบาทก็จะทำให้ส่วนหนี้ไปเพิ่มเป็นงบลงทุนทำให้รัฐบาลสามารถทำโครงการใหม่ได้ และเป็นส่วนที่ต้องผ่านการกลั่นกรองจากสภาก็น่าจะเหมาะสมกว่า” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มสัดส่วนของงบลงทุนในปี 55 อีก 8.5 หมื่นล้านบาท ก็น่าจะเพิ่มสัดส่วนงบลงทุนให้สูงขึ้นมาอีกเกือบ 2% จากปี 54 ที่มีสัดส่วนเพียง 13% เนื่องจากงบประจำที่เพิ่มขึ้นมากทำให้มาเบียดงบลงทุนโดยเฉพาะการปรับเงินเดือนข้าราชการ โดยเป้าหมายทางการคลังต้องการรักษาสัดส่วนงบประจำให้อยู่ในระดับ 60% งบลงทุน 25% และงบชำระหนี้ 15% แต่ปัจจุบันยังห่างไกลอยู่มาก ภายในปี 2560 คาดว่า จะทำให้งบกลับมาอยู่ในสัดส่วนดังกล่าวได้เพื่อเป็นการรักษากรอบวินัยทางการคลังยั่งยืนในอนาคต โดยในอนาคตจะนับรวมการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่คลังถือหุ้น และการลงทุนในรูปของพีพีพี ด้วย เพราะการนับหนี้สาธารณะยังนับรวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจด้วยเพื่อให้สะท้อนภาพหนี้สินและการลงทุนที่แท้จริง
ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุว่า การจัดทำงบกลางปีครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อนำมาชดใช้เงินคงคลังเป็นหลัก จึงไม่ได้เป็นเงินที่ออกมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจหรือมีผลต่อเศรษฐกิจไม่มากนัก แต่ก็น่าจะมีผลดีต่องบปี 55 มากกว่าหากต่อไปจะมีการตั้งงบลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเชื่อว่า การประมาณการรายได้ที่เกินเป้า 1.2 แสนล้านบาทนั้นพิจารณาค่อนข้างรัดกุมแล้ว เพราะรายได้หลักมาจากกรมสรรพากรหากดูผลการจัดเก็บภาษีเงินได้ก็น่าจะชี้วัดได้ในระดับหนึ่ง
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (18 ม.ค.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบการตั้งงบประมาณกลางปี 2554 เพิ่มเติม 1.2 แสนล้านบาท เพื่อนำไปชดใช้เงินคงคลัง และไปฟื้นฟูประเทศที่ได้รับความเสียจากปัญหาภัยธรรมชาติในปีที่ผ่านมา
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงข้อเสนอกระทรวงการคลังในการตั้งงบกลางปี 2554 เพิ่มเติม 1.2 แสนล้านบาท เพื่อนำไปชดเชยเงินคงคลังที่ถูกนำมาใช้และส่วนหนึ่งตั้งในงบกลางเพื่อนำไปช่วยฟื้นฟูหลังน้ำท่วมว่าจากการชดเชยเงินคงคลัง 8.5 หมื่นล้านบาทนั้น เป็นส่วนของการนำออกไปชำระหนี้คืนก่อนกำหนดเพียง 4.2 หมื่นล้านบาท ที่เหลือเป็นการตั้งชดเชยเงินคงคลังที่ถูกดึงไปจ่ายเป็นงบค่ารักษาพยาบาลที่ส่วนใหญ่ในงบประมาณประจำปีจะตั้งไว้ไม่เพียงพอเนื่องจากมียอดการเบิกเกินไปค่อนข้างมาก
ส่วนที่เหลืออีก 3.5 หมื่นล้านบาท ก็น่าจะนำไปใส่ไว้ในงบกลางเพื่อให้มีงบเหลือเพียงพอหลังจากดึงไปช่วยเหลือน้ำท่วมช่วงที่ผ่านมาจนทำให้งบกลางปี 2554 เหลือเพียงครึ่งเดียว
อย่างไรก็ตาม ในการจัดงบกลางปีนั้นเปิดช่องให้รัฐบาลสามารถดำเนินการได้หากต้องการจัดทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมีความจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมทั้งการทำเพื่อนำมาชดเชยภาระเงินคงคลังในปีต่อไป เพื่อให้การจัดงบประมาณปีถัดไปจัดทำได้คล่องตัวยิ่งขึ้น
“ปี 53 รัฐบาลจัดเก็บรายได้เกินเป้าหมายมากทำให้มีเงินเหลือเข้าคลังสูงหากไม่ดึงไปชำระหนี้ก่อนกำหนดในปี 54 จำนวน 4.2 หมื่นล้านบาท จะทำให้เงินคงคลังมีสูงเกินไปถึง 4 แสนล้านบาท ส่วนปี 54 หากตั้งงบกลางปีใช้หนี้เงินคลังที่จะเป็นภาระในปี 55 อีก 8.5 หมื่นล้านบาทก็จะทำให้ส่วนหนี้ไปเพิ่มเป็นงบลงทุนทำให้รัฐบาลสามารถทำโครงการใหม่ได้ และเป็นส่วนที่ต้องผ่านการกลั่นกรองจากสภาก็น่าจะเหมาะสมกว่า” นายจักรกฤศฏิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มสัดส่วนของงบลงทุนในปี 55 อีก 8.5 หมื่นล้านบาท ก็น่าจะเพิ่มสัดส่วนงบลงทุนให้สูงขึ้นมาอีกเกือบ 2% จากปี 54 ที่มีสัดส่วนเพียง 13% เนื่องจากงบประจำที่เพิ่มขึ้นมากทำให้มาเบียดงบลงทุนโดยเฉพาะการปรับเงินเดือนข้าราชการ โดยเป้าหมายทางการคลังต้องการรักษาสัดส่วนงบประจำให้อยู่ในระดับ 60% งบลงทุน 25% และงบชำระหนี้ 15% แต่ปัจจุบันยังห่างไกลอยู่มาก ภายในปี 2560 คาดว่า จะทำให้งบกลับมาอยู่ในสัดส่วนดังกล่าวได้เพื่อเป็นการรักษากรอบวินัยทางการคลังยั่งยืนในอนาคต โดยในอนาคตจะนับรวมการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่คลังถือหุ้น และการลงทุนในรูปของพีพีพี ด้วย เพราะการนับหนี้สาธารณะยังนับรวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจด้วยเพื่อให้สะท้อนภาพหนี้สินและการลงทุนที่แท้จริง
ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุว่า การจัดทำงบกลางปีครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อนำมาชดใช้เงินคงคลังเป็นหลัก จึงไม่ได้เป็นเงินที่ออกมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจหรือมีผลต่อเศรษฐกิจไม่มากนัก แต่ก็น่าจะมีผลดีต่องบปี 55 มากกว่าหากต่อไปจะมีการตั้งงบลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเชื่อว่า การประมาณการรายได้ที่เกินเป้า 1.2 แสนล้านบาทนั้นพิจารณาค่อนข้างรัดกุมแล้ว เพราะรายได้หลักมาจากกรมสรรพากรหากดูผลการจัดเก็บภาษีเงินได้ก็น่าจะชี้วัดได้ในระดับหนึ่ง