วานนี้(10 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคม สมาชิกสภา อบต. ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีตัวแทนประธานสภา อบต.ทั้งหมด 77 คนจากทั่วประเทศร่วมประชุม
รายงานระบุว่า ที่ประชุมมีวาระการประชุมแนวทางการบริหารทั้งหมด 5 วาระ
ทั้งนี้ในวาระที่ 3 ได้มีการหารือถึงแนวท่างการต่อสู้เรียกร้องสิทธิ สวัสดิการของสมาชิกสภา อบต.ทั่วประเทศ ทั้งนี้พบว่า มีการแสดงความคิดเห็นอย่างเคร่งเครียดกับการขึ้นเงินเดือนของรัฐบาล ที่ขึ้นเงินเดือนให้สมาชิกสภาเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ขึ้นเงินเดือนให้กับนายก อบต. 100 เปอร์เซ็นต์
รายงานระบุว่า นางเจรจา สัมบูรณ์กูล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาลำดวน อ.เมือง จ.สระแก้ว ต้องการ อยากให้สถานะของสมาชิก อบต.อย่างน้อยได้มาตรฐานที่เทียบเท่ากับกำนันผู้ใหญ่บ้าน เพราะเห็นว่า ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในสายตาของรัฐบาลเลย
“ขอยืนยันว่าเมื่อนายก อบต.ขึ้นเงินเดือน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าสมาชิกสภาขึ้นไม่เทียบเท่ากันก็จะไม่ขอรับ และพร้อมเดินหน้าเจรจาต่อรองกับรัฐบาลต่อไป”
ขณะที่นายสุรศักดิ์ อินทนา ประธานสภา อบต.ทุ่ม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ผู้แทนกรรมการสภาพ 19 จังหวัดภาคอีสาน ให้ความเห็นว่า กฎหมายของกระทรวงมหาดไทยที่ว่าด้วยนายก อบต.และประธานสภา ซึ่ง ซี8(ระดับ 8) เท่ากัน แต่ทำไมขององค์การปกครองท้องถิ่นถึงไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือนให้เทียบเท่า
“ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำไมถึงมีเงินเดือนเท่ากัน เป็นการบริหารงานแบบสองมาตรฐาน ซึ่งไม่ยุติธรรม ถ้าไม่ได้ขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ ตนเองซึ่งเป็นตัวแทนภาคอีสานขอต่อสู้ร่วมกับสมาชิกจนกว่าจะได้รับความยุติธรรม”
รายงานระบุด้วยว่า นายจุฬา มีบุญรอด นายกสมาคมสมาชิกสภา อบต.แห่งประเทศไทย ยืนยันว่า จะเข้ายื่นหนังสือของสมาคมต่อรัฐมนตรีหรือผู้รับผิดชอบ
โดยจะระบุวันเพื่อให้รัฐบาลดำเนินแก้ไขเยียวยา ถ้าไม่ได้รับการเยียวยาก็จะขึ้นป้ายให้รัฐบาลทราบว่า จะไม่สนับสนุนพรรคการเมืองที่ดูแลเรื่องนี้อยู่ ภาระหน้าที่ของสภา อบต.มีงานมากมายที่ต้องดูแลประชาชนอยากให้รัฐบาลเห็นใจ เช่นนโยบายปราบปรามยาเสพย์ติดของรัฐบาลที่ยังไม่ได้ผลในภาพรวม มีแต่ระดับท้องถิ่นที่เข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิดกับประชาชน พร้อมทั้งประสานงานกันเองภายใน ซึ่งท้องถิ่นทุกคนมีส่วนร่วมแต่ทำไมการปรับเงินเดือนถึงไม่ยุติธรรม
รายงานระบุว่า ที่ประชุมมีวาระการประชุมแนวทางการบริหารทั้งหมด 5 วาระ
ทั้งนี้ในวาระที่ 3 ได้มีการหารือถึงแนวท่างการต่อสู้เรียกร้องสิทธิ สวัสดิการของสมาชิกสภา อบต.ทั่วประเทศ ทั้งนี้พบว่า มีการแสดงความคิดเห็นอย่างเคร่งเครียดกับการขึ้นเงินเดือนของรัฐบาล ที่ขึ้นเงินเดือนให้สมาชิกสภาเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ขึ้นเงินเดือนให้กับนายก อบต. 100 เปอร์เซ็นต์
รายงานระบุว่า นางเจรจา สัมบูรณ์กูล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาลำดวน อ.เมือง จ.สระแก้ว ต้องการ อยากให้สถานะของสมาชิก อบต.อย่างน้อยได้มาตรฐานที่เทียบเท่ากับกำนันผู้ใหญ่บ้าน เพราะเห็นว่า ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในสายตาของรัฐบาลเลย
“ขอยืนยันว่าเมื่อนายก อบต.ขึ้นเงินเดือน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าสมาชิกสภาขึ้นไม่เทียบเท่ากันก็จะไม่ขอรับ และพร้อมเดินหน้าเจรจาต่อรองกับรัฐบาลต่อไป”
ขณะที่นายสุรศักดิ์ อินทนา ประธานสภา อบต.ทุ่ม อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ผู้แทนกรรมการสภาพ 19 จังหวัดภาคอีสาน ให้ความเห็นว่า กฎหมายของกระทรวงมหาดไทยที่ว่าด้วยนายก อบต.และประธานสภา ซึ่ง ซี8(ระดับ 8) เท่ากัน แต่ทำไมขององค์การปกครองท้องถิ่นถึงไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือนให้เทียบเท่า
“ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำไมถึงมีเงินเดือนเท่ากัน เป็นการบริหารงานแบบสองมาตรฐาน ซึ่งไม่ยุติธรรม ถ้าไม่ได้ขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ ตนเองซึ่งเป็นตัวแทนภาคอีสานขอต่อสู้ร่วมกับสมาชิกจนกว่าจะได้รับความยุติธรรม”
รายงานระบุด้วยว่า นายจุฬา มีบุญรอด นายกสมาคมสมาชิกสภา อบต.แห่งประเทศไทย ยืนยันว่า จะเข้ายื่นหนังสือของสมาคมต่อรัฐมนตรีหรือผู้รับผิดชอบ
โดยจะระบุวันเพื่อให้รัฐบาลดำเนินแก้ไขเยียวยา ถ้าไม่ได้รับการเยียวยาก็จะขึ้นป้ายให้รัฐบาลทราบว่า จะไม่สนับสนุนพรรคการเมืองที่ดูแลเรื่องนี้อยู่ ภาระหน้าที่ของสภา อบต.มีงานมากมายที่ต้องดูแลประชาชนอยากให้รัฐบาลเห็นใจ เช่นนโยบายปราบปรามยาเสพย์ติดของรัฐบาลที่ยังไม่ได้ผลในภาพรวม มีแต่ระดับท้องถิ่นที่เข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิดกับประชาชน พร้อมทั้งประสานงานกันเองภายใน ซึ่งท้องถิ่นทุกคนมีส่วนร่วมแต่ทำไมการปรับเงินเดือนถึงไม่ยุติธรรม