แบงก์ทยอยขึ้นดอกเบี้ยทั้งตามแบงก์กรุงเทพ ล่าสุด กสิกรไทย (KBANK) และไทยพาณิชย์ (SCB) แบงก์ชาติยิ้มหลังขึ้นดอกเบี้ยเงินบาทไม่ผันผวน เผย ทิศทางเงินนอกไหลเข้า แม้ต่างชาติขายหุ้นทำกำไร แต่ 8 วันทำการ ทุนต่างชาติทะลักเข้าตลาดตราสารหนี้ 6 หมื่นกว่าล้านบาท “กรณ์” เชื่อหุ้นมีโอกาสเห็น 1,700 จุด!
นายสมเกียรติ ศิริชาติไชย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ มีผลตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค.นี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ปรับขึ้น 0.12-0.25% โดยเงินฝากออมทรัพย์บุคคลธรรมดาเป็น 0.62% และเงินฝากออมทรัพย์นิติบุคคลเป็น 0.50% เงินฝากประจำ 3 เดือนสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลปรับขึ้น 0.10%-0.40% เป็น 1.10-1.30% เงินฝากประจำ 6 เดือนปรับขึ้น 0.15-0.40% โดยเงินฝากประจำ 6 เดือนบุคคลธรรมดา เป็น 1.40-1.65% และเงินฝากประจำ 6 เดือนนิติบุคคล เป็น 1.25%-1.50%
เงินฝากประจำ 12 เดือนปรับขึ้น 0.15-0.50% โดยเงินฝากประจำ 12 เดือนบุคคลธรรมดาเป็น 1.65-1.75% และเงินฝากประจำ 12 เดือนนิติบุคคลเป็น 1.30-1.65% เงินฝากประจำ 24 เดือนปรับขึ้น 0.10-0.25% โดยเงินฝากประจำ 24 เดือนบุคคลธรรมดาเป็น 2.25-2.50% และเงินฝากประจำ 24 เดือนนิติบุคคลเป็น 2.00-2.25% และเงินฝากประจำ 36 เดือนสำหรับนิติบุคคลปรับขึ้น 0.50% เป็น 2.50%
สำหรับดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ ธนาคารได้ทำการปรับ MLR, MOR และ MRR เป็น 6.37%, 6.63% และ 7.05% ตามลำดับ
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) กล่าวว่า ธนาคารปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ เงินฝากประจำ ตั๋วแลกเงินและเงินให้สินเชื่อทุกประเภท ส่งผลให้ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล เป็น 0.62% ต่อปี และ 0.50% ต่อปี ตามลำดับ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน เป็น 1.15-1.40% ต่อปี เงินฝากประจำ 6 เดือนเป็น 1.50-1.625% ต่อปี เงินฝากประจำ 12 เดือน เป็น 1.60-1.75% ต่อปี และเงินฝากประจำระยะยาว 24 เดือนปรับเป็น 2.40-2.70% ต่อปี และ 36 เดือน ปรับเป็น 3.00% ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับเป็น 6.375% ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MOR เป็น 6.625% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MRR เป็น 7.000% และเพื่อเป็นของขวัญแก่ลูกค้าต้อนรับปีกระต่าย ธนาคารจัดแคมเปญบัญชีเงินฝากประจำ “ได้กับได้” ดอกเบี้ยสูงขึ้นทุก 5 เดือน พร้อมรับสิทธิ์พิเศษถอนเงินช่วงใด ได้รับดอกเบี้ยช่วงนั้น ดอกเบี้ยสูงสุดอยู่ที่ 4.25% ต่อปี
***ธปท.ยิ้มบาทนิ่งแม้ขึ้นดอกเบี้ย
น.ส.วงษ์วธู ไพธิรัชต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท.เปิดเผยว่า หลังจาก กนง.ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 2.25% ต่อปี พบว่า เงินบาทไม่ได้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งแข็งค่า 2-3 สตางค์ หรือเงินบาทอยู่ที่ระดับ 30.41-30.43 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ก่อนหน้าที่มีการประกาศขึ้นดอกเบี้ยเงินบาทเคลื่อนไหวเฉลี่ย 7-8 สตางค์ หรืออยู่ที่ระดับ 30.37-30.38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากตลาดได้รับรู้ข่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว
ทั้งนี้ การที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก-เงินกู้ มองว่า เป็นการรักษาฐานลูกค้า การบริหารจัดการต้นทุนให้มีความเหมาะสม พร้อมทั้งรองรับการคุ้มครองเงินฝากที่ในปีนี้ลดสัดส่วนคุ้มครองเงินฝากเหลือ 50 ล้านบาท จึงยืนยันว่าขณะนี้สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบและสถาบันการเงินแต่ละแห่งไม่ได้น่าเป็นห่วง
“หากเงินเฟ้อมากจนเกินรายได้ประชาชนที่หาได้ก็เหมือนกับการเก็บภาษีประชาชนที่ทุกคนเหมือนกันเท่ากันหมด ไม่เลือกว่าใครมีรายได้เท่าไหร่ ซึ่งในความเป็นจริงคนจนจะมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตมากกว่า จึงต่างกับการใช้นโยบายการคลังที่เลือกได้ว่าจะใช้กับคนกลุ่มไหนหรือธุรกิจอะไร อีกทั้งไม่สร้างความเชื่อถือในการทำธุรกิจในการกำหนดราคาสินค้าด้วย”
**ปีนี้ตลาดบอนด์ไทยยังสดใส**
น.ส.วงษ์วธู กล่าวต่อว่า ในปี 54 คาดว่าจะยังมีเงินทุนต่างประเทศเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ต่อเนื่องจากการขยายตัวเศรษฐกิจที่ดีของกลุ่มประเทศในเอเชีย รวมทั้งไทย พร้อมทั้งการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยที่จะปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ยังเพิ่มขึ้น สะท้อนเห็นจากในปีที่ผ่านมา ดัชนีน้ำหนักการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยเพิ่มขึ้น ทำให้ตั้งแต่วันที่ 4-12 ม.ค.ที่ผ่านมา มีเงินลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นสุทธิในตลาดตราสารหนี้ 60,800 ล้านบาท เป็นการซื้อต่อเนื่องปี 53 ที่ทั้งปีมีเงินต่างชาติเข้ามาลงทุนสุทธิ 186,000 ล้านบาท ขณะที่ในตลาดหุ้นยังเป็นการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ 8,700 ล้านบาท หลังจากปีที่ผ่านมามียอดซื้อสุทธิ 81,000 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทย อินโดนีเซีย รวมถึงฟิลิปปินส์มีเฉพาะปี 53 มีดัชนีเพิ่มขึ้นถึง 30-40%
ในปี 53 เงินบาทแข็งค่าไปในทางเดียว ทำให้เงินบาทแข็งค่าถึง 10.6% และมีค่าความผันผวน 4% แต่ในปีนี้ชี้ให้เห็นว่าระยะต่อไปภาพตลาดไม่ใช่แข็งหรืออ่อนค่าไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ประกอบกับหลายฝ่ายเริ่มมีมุมมองต่างกันมากขึ้น อาทิ เรื่องการปรับตัวเศรษฐกิจสหรัฐ ปัญหาหนี้สินยุโรป เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าใครให้น้ำหนักปัจจัยใดมากกว่ากัน ทำให้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่าลงเป็นผลจากผู้นำเข้าซื้อเงินดอลลาร์มากขึ้น จึงไม่ได้แข็งไปในทิศทางเดียวและมีผลให้เงินทุนไหลเข้าๆ ออกๆ เป็นช่วง ฉะนั้น ปีนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ควรจะรอบคอบในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น และมีการป้องกันความเสี่ยง
"ขณะนี้ผู้ส่งออกมีอัตราการป้องกันความเสี่ยงเพียง 20% ของมูลค่ารวมการนำเข้า ขณะที่ผู้ส่งออกมีการป้องกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมาจากประมาณ 20% มาอยู่ที่ 50% ของมูลค่ารวมการส่งออก” น.ส.วงษ์วธู กล่าว
***“กรณ์” ดันหุ้น ชี้ดัชนีแตะ 1,700จุด!
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น 0.25% เป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่า ธปท.เป็นห่วงอัตราเงินเฟ้อ โดยแนวโน้มดอกเบี้ยไทยยังปรับขึ้นได้อีก เพราะเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อแล้วดอกเบี้ยยังต่ำกว่า
รมว.คลัง กล่าวในงานเสวนา “ไทยยังเข้มแข็ง หุ้นไทยจะยังแรงแค่ไหนในปี 2554” ระบุว่า ดัชนีหุ้นไทยจะยังปรับได้ดีต่อเนื่อง มีโอกาสปรับตัวได้ไปถึง 1,754 จุด ได้อย่างแน่นอน เพียงแต่ยังบอกเวลาไม่ได้ว่าเป็นเมื่อไหร่ โดยตลาดหุ้นไทยถือเป็นหนึ่งในสองตลาดในภูมิภาคเอเชีย ที่ดัชนียังไม่กลับไปจุดเดิมที่เคยสูงสุดก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง
“2 ปีที่ผ่านมา หุ้นปรับได้ดีจาก 300 จุดมาถึงพันกว่าจุดในปัจจุบัน หากการขยายตัวในอนาคตจะเพิ่มได้อีกสามร้อยจุดต่อปี ก็ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถทำได้ เพราะผลประกอบการของบริษัทยังออกมาดี เศรษฐกิจก็ขยายตัวได้ดี”
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงอยู่ที่เศรษฐกิจของจีน หากการขยายตัวลดลงเหลือ 6% จากที่ขยายตัวได้ 8-9% ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย
นายสมเกียรติ ศิริชาติไชย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ มีผลตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค.นี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ปรับขึ้น 0.12-0.25% โดยเงินฝากออมทรัพย์บุคคลธรรมดาเป็น 0.62% และเงินฝากออมทรัพย์นิติบุคคลเป็น 0.50% เงินฝากประจำ 3 เดือนสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลปรับขึ้น 0.10%-0.40% เป็น 1.10-1.30% เงินฝากประจำ 6 เดือนปรับขึ้น 0.15-0.40% โดยเงินฝากประจำ 6 เดือนบุคคลธรรมดา เป็น 1.40-1.65% และเงินฝากประจำ 6 เดือนนิติบุคคล เป็น 1.25%-1.50%
เงินฝากประจำ 12 เดือนปรับขึ้น 0.15-0.50% โดยเงินฝากประจำ 12 เดือนบุคคลธรรมดาเป็น 1.65-1.75% และเงินฝากประจำ 12 เดือนนิติบุคคลเป็น 1.30-1.65% เงินฝากประจำ 24 เดือนปรับขึ้น 0.10-0.25% โดยเงินฝากประจำ 24 เดือนบุคคลธรรมดาเป็น 2.25-2.50% และเงินฝากประจำ 24 เดือนนิติบุคคลเป็น 2.00-2.25% และเงินฝากประจำ 36 เดือนสำหรับนิติบุคคลปรับขึ้น 0.50% เป็น 2.50%
สำหรับดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ ธนาคารได้ทำการปรับ MLR, MOR และ MRR เป็น 6.37%, 6.63% และ 7.05% ตามลำดับ
นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) กล่าวว่า ธนาคารปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ เงินฝากประจำ ตั๋วแลกเงินและเงินให้สินเชื่อทุกประเภท ส่งผลให้ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล เป็น 0.62% ต่อปี และ 0.50% ต่อปี ตามลำดับ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน เป็น 1.15-1.40% ต่อปี เงินฝากประจำ 6 เดือนเป็น 1.50-1.625% ต่อปี เงินฝากประจำ 12 เดือน เป็น 1.60-1.75% ต่อปี และเงินฝากประจำระยะยาว 24 เดือนปรับเป็น 2.40-2.70% ต่อปี และ 36 เดือน ปรับเป็น 3.00% ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ปรับเป็น 6.375% ต่อปี อัตราดอกเบี้ย MOR เป็น 6.625% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ย MRR เป็น 7.000% และเพื่อเป็นของขวัญแก่ลูกค้าต้อนรับปีกระต่าย ธนาคารจัดแคมเปญบัญชีเงินฝากประจำ “ได้กับได้” ดอกเบี้ยสูงขึ้นทุก 5 เดือน พร้อมรับสิทธิ์พิเศษถอนเงินช่วงใด ได้รับดอกเบี้ยช่วงนั้น ดอกเบี้ยสูงสุดอยู่ที่ 4.25% ต่อปี
***ธปท.ยิ้มบาทนิ่งแม้ขึ้นดอกเบี้ย
น.ส.วงษ์วธู ไพธิรัชต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท.เปิดเผยว่า หลังจาก กนง.ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 2.25% ต่อปี พบว่า เงินบาทไม่ได้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งแข็งค่า 2-3 สตางค์ หรือเงินบาทอยู่ที่ระดับ 30.41-30.43 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ก่อนหน้าที่มีการประกาศขึ้นดอกเบี้ยเงินบาทเคลื่อนไหวเฉลี่ย 7-8 สตางค์ หรืออยู่ที่ระดับ 30.37-30.38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากตลาดได้รับรู้ข่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว
ทั้งนี้ การที่ธนาคารพาณิชย์บางแห่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก-เงินกู้ มองว่า เป็นการรักษาฐานลูกค้า การบริหารจัดการต้นทุนให้มีความเหมาะสม พร้อมทั้งรองรับการคุ้มครองเงินฝากที่ในปีนี้ลดสัดส่วนคุ้มครองเงินฝากเหลือ 50 ล้านบาท จึงยืนยันว่าขณะนี้สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบและสถาบันการเงินแต่ละแห่งไม่ได้น่าเป็นห่วง
“หากเงินเฟ้อมากจนเกินรายได้ประชาชนที่หาได้ก็เหมือนกับการเก็บภาษีประชาชนที่ทุกคนเหมือนกันเท่ากันหมด ไม่เลือกว่าใครมีรายได้เท่าไหร่ ซึ่งในความเป็นจริงคนจนจะมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตมากกว่า จึงต่างกับการใช้นโยบายการคลังที่เลือกได้ว่าจะใช้กับคนกลุ่มไหนหรือธุรกิจอะไร อีกทั้งไม่สร้างความเชื่อถือในการทำธุรกิจในการกำหนดราคาสินค้าด้วย”
**ปีนี้ตลาดบอนด์ไทยยังสดใส**
น.ส.วงษ์วธู กล่าวต่อว่า ในปี 54 คาดว่าจะยังมีเงินทุนต่างประเทศเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ต่อเนื่องจากการขยายตัวเศรษฐกิจที่ดีของกลุ่มประเทศในเอเชีย รวมทั้งไทย พร้อมทั้งการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยที่จะปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ยังเพิ่มขึ้น สะท้อนเห็นจากในปีที่ผ่านมา ดัชนีน้ำหนักการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยเพิ่มขึ้น ทำให้ตั้งแต่วันที่ 4-12 ม.ค.ที่ผ่านมา มีเงินลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นสุทธิในตลาดตราสารหนี้ 60,800 ล้านบาท เป็นการซื้อต่อเนื่องปี 53 ที่ทั้งปีมีเงินต่างชาติเข้ามาลงทุนสุทธิ 186,000 ล้านบาท ขณะที่ในตลาดหุ้นยังเป็นการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ 8,700 ล้านบาท หลังจากปีที่ผ่านมามียอดซื้อสุทธิ 81,000 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทย อินโดนีเซีย รวมถึงฟิลิปปินส์มีเฉพาะปี 53 มีดัชนีเพิ่มขึ้นถึง 30-40%
ในปี 53 เงินบาทแข็งค่าไปในทางเดียว ทำให้เงินบาทแข็งค่าถึง 10.6% และมีค่าความผันผวน 4% แต่ในปีนี้ชี้ให้เห็นว่าระยะต่อไปภาพตลาดไม่ใช่แข็งหรืออ่อนค่าไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ประกอบกับหลายฝ่ายเริ่มมีมุมมองต่างกันมากขึ้น อาทิ เรื่องการปรับตัวเศรษฐกิจสหรัฐ ปัญหาหนี้สินยุโรป เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่าใครให้น้ำหนักปัจจัยใดมากกว่ากัน ทำให้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเงินบาทอ่อนค่าลงเป็นผลจากผู้นำเข้าซื้อเงินดอลลาร์มากขึ้น จึงไม่ได้แข็งไปในทิศทางเดียวและมีผลให้เงินทุนไหลเข้าๆ ออกๆ เป็นช่วง ฉะนั้น ปีนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ควรจะรอบคอบในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น และมีการป้องกันความเสี่ยง
"ขณะนี้ผู้ส่งออกมีอัตราการป้องกันความเสี่ยงเพียง 20% ของมูลค่ารวมการนำเข้า ขณะที่ผู้ส่งออกมีการป้องกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมาจากประมาณ 20% มาอยู่ที่ 50% ของมูลค่ารวมการส่งออก” น.ส.วงษ์วธู กล่าว
***“กรณ์” ดันหุ้น ชี้ดัชนีแตะ 1,700จุด!
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น 0.25% เป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่า ธปท.เป็นห่วงอัตราเงินเฟ้อ โดยแนวโน้มดอกเบี้ยไทยยังปรับขึ้นได้อีก เพราะเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อแล้วดอกเบี้ยยังต่ำกว่า
รมว.คลัง กล่าวในงานเสวนา “ไทยยังเข้มแข็ง หุ้นไทยจะยังแรงแค่ไหนในปี 2554” ระบุว่า ดัชนีหุ้นไทยจะยังปรับได้ดีต่อเนื่อง มีโอกาสปรับตัวได้ไปถึง 1,754 จุด ได้อย่างแน่นอน เพียงแต่ยังบอกเวลาไม่ได้ว่าเป็นเมื่อไหร่ โดยตลาดหุ้นไทยถือเป็นหนึ่งในสองตลาดในภูมิภาคเอเชีย ที่ดัชนียังไม่กลับไปจุดเดิมที่เคยสูงสุดก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง
“2 ปีที่ผ่านมา หุ้นปรับได้ดีจาก 300 จุดมาถึงพันกว่าจุดในปัจจุบัน หากการขยายตัวในอนาคตจะเพิ่มได้อีกสามร้อยจุดต่อปี ก็ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถทำได้ เพราะผลประกอบการของบริษัทยังออกมาดี เศรษฐกิจก็ขยายตัวได้ดี”
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงอยู่ที่เศรษฐกิจของจีน หากการขยายตัวลดลงเหลือ 6% จากที่ขยายตัวได้ 8-9% ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย