ต่างชาติเทขายอีก 5.2 พันล้านต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ฉุดหุ้นไทยรูดหนัก 18 จุด ปิดที่ 1,018.03 จุด เหตุกังวลวิกฤตหนี้ในยุโรป และผิดหวังกับตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กดดันตลาดหุ้นทั้งภูมิภาคอ่อนตัว โบรกฯมองค่าบาทอ่อนค่า เป็นอีกปัจจัยสนับสนุนฝรั่งเทขายทำกำไร ประเมินวันนี้ (11 ม.ค.) มีโอกาสหลุด 1,000 จุด หากตลาดหุ้นต่างประเทศยังปรับตัวลดลงต่อ แนะนำลดพอร์ตลงทุนในหุ้น
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (10 ม.ค.) ปรับตัวลดลงแรงต่อเนื่อง โดยปิดที่ระดับ 1,018.03 จุด ลดลง 18.42 จุด หรือ -1.78% มูลค่าการซื้อขาย 46,111.50 ล้านบาท ระหว่างวันดัชนีปรับตัวลดลงหนักสุดถึง -28.67 จุดอยู่ที่ 1,007.78 จุด และปรับตัวขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ระดับ 1,035.65 จุด
โดยปัจจัยหลักยังมาจากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติที่ต่อเนื่องมาจากสัปดาห์ก่อน เช่นเดียวกับการเทขายหุ้นของกลุ่มสถาบัน และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซึ่งวานนี้ นักลงทุนต่างชาติเทขายอีก 5,252.40 ล้านบาท สถาบันขาย 2,556.83 ล้านบาท และบัญชี บล.ขาย 858.92 ล้านบาท มีเพียงนักลงทุนที่ไปที่ซื้อสุทธิถึง 8,668.15 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื่องจากความกังวลของนักลงทุนทีมีต่อปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรปที่อาจลุกลามขึ้นมาอีก รวมถึงการผิดหวังจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ประกาศออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ จึงกดดันให้เกิดแรงที่ขายหุ้นในตลาดหุ้นต่างๆ ทั่วภูมิภาค เช่น ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปิดปรับตัวลดลง 5.39 จุด หรือ 0.26% ปิดที่ระดับ 2,080.81 จุด, ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีน ร่วง 46.99 จุด หรือ 1.66% ปิดที่ 2,791.81 จุด, ดัชนีหุ้นเสิ่นเจิ้น ร่วง 242.78 จุด หรือ 1.93% ปิดที่ 12,331.16 จุด และ ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดลบ 159.37 จุด หรือ 0.67% ปิดที่ 23,527.26 จุด
ส่วนตลาดหลักทรัพย์ไทย วานนี้ หลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลง พบว่า เพิ่มขึ้น 95 หลักทรัพย์ ลดลง 324 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 95 หลักทรัพย์ โดยหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ SCB มูลค่าการซื้อขาย 3,112.94 ล้านบาท ปิดที่ 99.50 บาท ลดลง 3.00 บาท TRUE มูลค่าการซื้อขาย 2,914.82 ล้านบาท ปิดที่ 6.90 บาท เพิ่มขึ้น 0.60 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 2,659.94 ล้านบาท ปิดที่ 318.00 บาท ลดลง 4.00 บาท IVL มูลค่าการซื้อขาย 2,411.20 ล้านบาท ปิดที่ 48.25 บาท ลดลง 4.25 บาท และ TOP มูลค่าการซื้อขาย 2,401.32 ล้านบาท ปิดที่ 71.25 บาท ลดลง 1.50 บาท
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (10 ม.ค.) ปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลปัจจัยต่างประเทศเรื่องหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรป มากขึ้น โดยเฉพาะกรณีของประเทศโปรตุเกส และในวันศุกร์ที่ผ่านมาการประกาศตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯออกมาไม่ดีเหมือนที่คาดการณ์ไว้จึง ทำให้วานนี้นักลงทุนต่างประเทศมีการขายหุ้นออกมาทั้งภูมิภาคเอเชีย
นอกจากนี้ มีปัจจัยลบจากปัจจัยในประเทศ คือ การที่ค่าเงินบาท มีการอ่อนค่าอย่างมีนัยสำคัญจากระดับ 30.3 บาทต่อเหรียญสหรัฐมาอยู่ที่ 30.70 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จึงทำให้นักลงทุนที่มีการลงทุนในหุ้นเห็นสัญญาการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน คือ มีการขายหุ้นออกมาก่อนเพื่อทำกำไรระยะสั้น แต่อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานแล้วบริษัทจดทะเบียนยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยยังเชื่อว่าผลประกอบการยังเติบโตต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้นั้นจะต้องติดตามปัจจัยต่างประเทศว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางทางใดว่าจะเป็นปัจจัยลบระยะสั้นหรือ จะมีผลกระทบระยะยาว
ด้าน นายเกษม พันธ์รัตนมาลา หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ในช่วงบ่ายนี้ปรับตัวลงกว่า 2% มองว่าเป็นการ panic ตามตลาดต่างประเทศ จากการที่ตลาดอินโดนีเซียและตลาดฟิลิปปินส์ได้ปรับตัวลงมาก ทำให้ตลาดไทยมีการปรับฐานตามไปด้วย
นายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า การที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงแรง คาดว่าจะรับแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งได้ขายไปทั่วภูมิภาคทั้งในตลาดไทย, อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ เนื่องจากตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นไปค่อนข้างมากในช่วงก่อนหน้านี้ ดังนั้น เมื่อนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินในยุโรปขึ้นมาอีกครั้ง ก็ทำให้มีการขายทำกำไรออกมาก่อน โดยให้แนวรับ 1,005-1,000 จุด แนวต้าน 1,030-1,040 จุด
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอเซีย พลัส จำกัด ให้ความเห็นว่า หากวันนี้ (11 ม.ค.) ดัชนีสามารถยืนเหนือระดับ 1,000 จุดได้ ดัชนีก็มีโอกาสรีบาวนด์ อย่างไรก็ตาม คงต้องจับตาแรงขายของนักลงทุนต่างชาติว่าจะมีเข้ามาอย่างต่อเนื่องหรือไม่ หากยังคงมีแรงเทขายก็อาจกดดันดัชนีหลุดระดับ 1,000 จุดได้
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเนื่องจากความกังวลแรงขายนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในรอบ 5 เดือนถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่หนุนให้นักลงทุนต่างชาติขายทำกำไร
ขณะเดียวกัน นักลงทุนบางส่วนยังคงจับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่ ซึ่งหากมีการขึ้นดอกเบี้ย ก็จะเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่กดดันการลงทุนตลาดหุ้น
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย)กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลงแรงและอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน หลังนักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ตด้วยการเทขายหุ้นออกมาต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ เพราะมีความกังวลเรื่องปัญหาหนี้สินในยุโรป หลังล่าสุดมีข่าวว่า โปรตุเกสจะขอรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ทำให้ แนวโน้มการลงทุนในวันนี้ (11 ม.ค.) การเคลื่อนไหวของดัชนีคงขึ้นอยู่กับตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ หากยังคงปรับตัวลงต่อ ก็คงทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับลงตาม กลยุทธ์การลงทุนแนะนำลดพอร์ตหุ้นเหลือ 30% โดยเน้นให้มีส่วนผสมระหว่างหุ้นผลประกอบการดีและปันผลสูงเป็นหลัก พร้อมให้แนวรับ 1,000 จุด แนวต้าน 1,017-1,025 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (10 ม.ค.) ปรับตัวลดลงแรงต่อเนื่อง โดยปิดที่ระดับ 1,018.03 จุด ลดลง 18.42 จุด หรือ -1.78% มูลค่าการซื้อขาย 46,111.50 ล้านบาท ระหว่างวันดัชนีปรับตัวลดลงหนักสุดถึง -28.67 จุดอยู่ที่ 1,007.78 จุด และปรับตัวขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ระดับ 1,035.65 จุด
โดยปัจจัยหลักยังมาจากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติที่ต่อเนื่องมาจากสัปดาห์ก่อน เช่นเดียวกับการเทขายหุ้นของกลุ่มสถาบัน และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซึ่งวานนี้ นักลงทุนต่างชาติเทขายอีก 5,252.40 ล้านบาท สถาบันขาย 2,556.83 ล้านบาท และบัญชี บล.ขาย 858.92 ล้านบาท มีเพียงนักลงทุนที่ไปที่ซื้อสุทธิถึง 8,668.15 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื่องจากความกังวลของนักลงทุนทีมีต่อปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยุโรปที่อาจลุกลามขึ้นมาอีก รวมถึงการผิดหวังจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ประกาศออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ จึงกดดันให้เกิดแรงที่ขายหุ้นในตลาดหุ้นต่างๆ ทั่วภูมิภาค เช่น ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปิดปรับตัวลดลง 5.39 จุด หรือ 0.26% ปิดที่ระดับ 2,080.81 จุด, ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีน ร่วง 46.99 จุด หรือ 1.66% ปิดที่ 2,791.81 จุด, ดัชนีหุ้นเสิ่นเจิ้น ร่วง 242.78 จุด หรือ 1.93% ปิดที่ 12,331.16 จุด และ ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดลบ 159.37 จุด หรือ 0.67% ปิดที่ 23,527.26 จุด
ส่วนตลาดหลักทรัพย์ไทย วานนี้ หลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลง พบว่า เพิ่มขึ้น 95 หลักทรัพย์ ลดลง 324 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 95 หลักทรัพย์ โดยหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่ SCB มูลค่าการซื้อขาย 3,112.94 ล้านบาท ปิดที่ 99.50 บาท ลดลง 3.00 บาท TRUE มูลค่าการซื้อขาย 2,914.82 ล้านบาท ปิดที่ 6.90 บาท เพิ่มขึ้น 0.60 บาท PTT มูลค่าการซื้อขาย 2,659.94 ล้านบาท ปิดที่ 318.00 บาท ลดลง 4.00 บาท IVL มูลค่าการซื้อขาย 2,411.20 ล้านบาท ปิดที่ 48.25 บาท ลดลง 4.25 บาท และ TOP มูลค่าการซื้อขาย 2,401.32 ล้านบาท ปิดที่ 71.25 บาท ลดลง 1.50 บาท
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (10 ม.ค.) ปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลปัจจัยต่างประเทศเรื่องหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรป มากขึ้น โดยเฉพาะกรณีของประเทศโปรตุเกส และในวันศุกร์ที่ผ่านมาการประกาศตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯออกมาไม่ดีเหมือนที่คาดการณ์ไว้จึง ทำให้วานนี้นักลงทุนต่างประเทศมีการขายหุ้นออกมาทั้งภูมิภาคเอเชีย
นอกจากนี้ มีปัจจัยลบจากปัจจัยในประเทศ คือ การที่ค่าเงินบาท มีการอ่อนค่าอย่างมีนัยสำคัญจากระดับ 30.3 บาทต่อเหรียญสหรัฐมาอยู่ที่ 30.70 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ จึงทำให้นักลงทุนที่มีการลงทุนในหุ้นเห็นสัญญาการเปลี่ยนแปลงค่าเงิน คือ มีการขายหุ้นออกมาก่อนเพื่อทำกำไรระยะสั้น แต่อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานแล้วบริษัทจดทะเบียนยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยยังเชื่อว่าผลประกอบการยังเติบโตต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้นั้นจะต้องติดตามปัจจัยต่างประเทศว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางทางใดว่าจะเป็นปัจจัยลบระยะสั้นหรือ จะมีผลกระทบระยะยาว
ด้าน นายเกษม พันธ์รัตนมาลา หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ในช่วงบ่ายนี้ปรับตัวลงกว่า 2% มองว่าเป็นการ panic ตามตลาดต่างประเทศ จากการที่ตลาดอินโดนีเซียและตลาดฟิลิปปินส์ได้ปรับตัวลงมาก ทำให้ตลาดไทยมีการปรับฐานตามไปด้วย
นายสมชาย เอนกทวีผล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า การที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงแรง คาดว่าจะรับแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งได้ขายไปทั่วภูมิภาคทั้งในตลาดไทย, อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ เนื่องจากตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นไปค่อนข้างมากในช่วงก่อนหน้านี้ ดังนั้น เมื่อนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินในยุโรปขึ้นมาอีกครั้ง ก็ทำให้มีการขายทำกำไรออกมาก่อน โดยให้แนวรับ 1,005-1,000 จุด แนวต้าน 1,030-1,040 จุด
นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอเซีย พลัส จำกัด ให้ความเห็นว่า หากวันนี้ (11 ม.ค.) ดัชนีสามารถยืนเหนือระดับ 1,000 จุดได้ ดัชนีก็มีโอกาสรีบาวนด์ อย่างไรก็ตาม คงต้องจับตาแรงขายของนักลงทุนต่างชาติว่าจะมีเข้ามาอย่างต่อเนื่องหรือไม่ หากยังคงมีแรงเทขายก็อาจกดดันดัชนีหลุดระดับ 1,000 จุดได้
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเนื่องจากความกังวลแรงขายนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าในรอบ 5 เดือนถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่หนุนให้นักลงทุนต่างชาติขายทำกำไร
ขณะเดียวกัน นักลงทุนบางส่วนยังคงจับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่ ซึ่งหากมีการขึ้นดอกเบี้ย ก็จะเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่กดดันการลงทุนตลาดหุ้น
น.ส.ธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย)กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลงแรงและอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน หลังนักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ตด้วยการเทขายหุ้นออกมาต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ เพราะมีความกังวลเรื่องปัญหาหนี้สินในยุโรป หลังล่าสุดมีข่าวว่า โปรตุเกสจะขอรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ทำให้ แนวโน้มการลงทุนในวันนี้ (11 ม.ค.) การเคลื่อนไหวของดัชนีคงขึ้นอยู่กับตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ หากยังคงปรับตัวลงต่อ ก็คงทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับลงตาม กลยุทธ์การลงทุนแนะนำลดพอร์ตหุ้นเหลือ 30% โดยเน้นให้มีส่วนผสมระหว่างหุ้นผลประกอบการดีและปันผลสูงเป็นหลัก พร้อมให้แนวรับ 1,000 จุด แนวต้าน 1,017-1,025 จุด