xs
xsm
sm
md
lg

ปัดประชาวิวัฒน์ทึ้งงบ “กรณ์” ลั่น 6 เดือนเห็นผล-ปฏิบัติได้จริง 95%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

“กรณ์” ประชาวิวัฒน์ไม่ใช่ประชานิยม ระบุ เป็นวิธีการทำงานโดยมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน มั่นใจแผนปฎิบัติการประชาวิวัฒน์ถึงมือนายกฯ ปฎิบัติได้จริง 95% เชื่อ 6 เดือนเห็นผลทางปฏิบัติ ยันไม่เป็นภาระงบประมาณแผ่นดินแน่นอน

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า นโยบายประชาวิวัฒน์ คือ วิธีการทำงานที่ได้มาซึ่งนโยบายที่บูรณาการ โดยเป็นการนำเอาหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนมาทำงานร่วมกัน ซึ่งหากจะมองความเป็นประชานิยมจะเป็นภาคการเมืองเป็นคนเสนอนโยบาย เพื่อหวังผลทางการเมือง ซึ่งจะไม่ยั่งยืนและสิ้นเปลืองงบประมาณ แต่คำว่า ประชาวิวัฒน์นั้นเป็นแนวคิดที่ภาคการเมือง ฟังเสียงประชาชนแล้วมาตั้งโจทย์ หลังจากนั้นจึงนำคนที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน เพื่อจะหาคำตอบของโจทก์นั้น เป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริง ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ

“ผมคิดว่า สิ่งสำคัญมากกว่า การตั้งโจทย์ปัญหา และวิธีการที่จะได้มาซึ่งผลลัพธ์ ซึ่งประชาวิวัฒน์ก็จะกับเรื่องอื่นได้หมด ไม่ใช่แค่ความเดือดร้อนประชาชน แต่จะทำงานร่วมกับเอกชน สังคม การทุจริต ก็สามารถเข้าสู่กระบวนการนี้ได้ เพราะเป็นกระบวนการที่จะตอบโจทก์ และเชื่อก็ไม่สำคัญ มากกว่าเนื้อในของสาระสำคัญของนโยบาย ซึ่งขณะนี้สังคมก็สับสน และผมเองก็ยังไม่ได้พุดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีตั้งแต่มีข่าวว่า จะไม่เอาชื่อประชาวิวัฒน์ เพราะเท่าที่ทราบท่านไม่ได้พูดแบบนั้น สมาชิกในพรรคเองก็โทรศัพท์มาบอกผมว่า สื่อลงผิด” นายกรณ์ กล่าว

แหล่งข่าวกระทวงการคลัง กล่าวว่า คณะทำงานศึกษามาตรการลดค่าครองชีพและสร้างความเป็นธรรมในสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านโครงการประชาวิวัฒน์หรือโครงการเร่งรัฐปฏิบัติการด่วน (เพื่อคนไทย) ได้เสนอแนวทางให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พิจารณามาตรการทั้งหมดไปตั้งแต่วันที่ 17 ธ.ค.53 ซึ่งมีหลายมาตรการที่ส่วนใหญ่ 95% ถือว่านำไปสู่การปฏิบัติได้จริง แต่ขึ้นอยู่การตัดสินใจของนายกฯ ว่าจะเลือกมาตรการใดมาดำเนินการบ้างซึ่งจะมีความชัดเจนวันที่ 9 ม.ค.54 นี้

ทั้งนี้ หลังจากมีการประกาศมาตรการแล้วต้องนำแผนดังกล่าวเสนอเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาล จากนั้นจะส่งต่อแผนการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำนนการต่อไป โดยมีเป้าหมาย เห็นผลทางปฏิบัติภายใน 6 เดือน

“มั่นใจว่า แผนที่เสนอไปนั้นส่วนใหญ่นำไปสู่การปฎิบัติได้จริง เช่น เสนอไป 10 มาตรการนายกฯ อาจไม่ได้เลือกทั้งหมดก็ได้ โดยจะเน้นดูแลลดค่าครองชีพราคาสินค้าและพลังงาน ซึ่งจะลงไปแก้ระดับโครงสร้างเพื่อให้ราคาสะท้อนความเป็นจริงโดยเฉพาะสินค้าจำเป็นอย่างไก่ ไข่ และเนื้อหมู รวมทั้งน้ำมันและก๊าซแอลพีจี แต่ไม่ใช่การนำเงินเข้าไปอุดหนุนหรือมีการแจกเงินจะเป็นการให้สินเชื่อผ่านสหกรณ์มากกว่าคาดใช้เงินประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งจะไม่เป็นภาระของงบประมาณอย่างแน่นอนเพราะจากการระดมสมองไม่ได้เน้นใช้เงินเข้าไปแก้ปัญหา” แหล่งข่าวกล่าว

นอกจากนี้ ยังเตรียมมาตรการดูแลกลุ่มแรงงานนอกระบบที่ยังไม่ได้รับสิทธิใดๆ เช่น กลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนขับรถแท็กซี่ และพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่ เพื่อให้มีหลักประกันในชีวิตผ่านกองทุนประกันสังคม โดยจะมีการแก้ไขกฎหมาย มาตรา 40 เปิดช่องให้รับสิทธิรักษาพยาบาลได้แต่ไม่มีบำเหน็จบำนาญเหมือนผู้จ่ายเงินสมทบปัจจุบัน ซึ่งส่วนนี้น่าจะทำได้เร็วและใช้เงินปีแรกเพียง 500 ล้านบาทเท่านั้น รวมถึงการจัดทำประกันภัยให้แท็กซี่หรือการจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำไม่เกิน 12% ให้ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ

“คณะทำงานชุดที่มี นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ดูแลแก้ปัญหาให้กลุ่มแรงงานนอกระบบ ได้มีการเรียกผู้เกี่ยวข้องทั้งแท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ พ่อค้าแม่ค้ามา ให้ข้อมูลที่แท้จริงแล้ว จึงพบว่าปัญหาส่วนหนึ่งมาจากลุ่มผู้อิทธิพลที่วินต้องจ่ายเงินให้เดือนละ 2-3 พันบาท จึงมีแนวคิดให้วินมอเตอร์ไซค์มาลงทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อลดการพึ่งพาผู้มีอิทธิพล หากทำได้ก็จะช่วยแรงงานนอกระบบกลุ่มนี้ให้มีรายได้ที่มั่นคงและมีหลักประกันในชีวิตมากขึ้น” แหล่งข่าวกล่าวส่วนกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่ กทม.จะเป็นผู้ดูแลจัดระเบียบ เช่น จัดโซนพื้นที่ค้าขายให้เป็นระเบียบมากขึ้นซึ่งจากที่เชิญมาหารือก็พร้อมจะทำตามหากมีการสนับนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้ประกอบอาชีพต่อไป”
กำลังโหลดความคิดเห็น