ส.อาคารชุดไทย จวกรัฐต่อมาตรการไม่พิจารณาให้รอบด้าน กระทบจัดสรรต้องแบกค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก3.3% หากลูกค้าเก่าเลื่อนโอนหลัง28 มี.ค.นี้ ชี้รัฐต่ออายุมาตรการฯ ให้อีก 2 เดือน ช่วยลูกค้าซื้อบ้านกู้ไม่ผ่าน กู้ไม่ทันและธนาคาร ให้อนุมัติสินเชื่อได้ทัน เชื่อไม่กระตุ้นซัพพลายใหม่
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า การต่ออายุมาตรการภาษีอสังหาริมทรัพย์ออกไปอีก2เดือนจากเดิมที่จะสิ้นสุดมาตรการในวันที่ 28 มี.ค.53ของรัฐบาลในครั้งนี้ เป็นการต่ออายุให้เฉพาะฝั่งผู้บริโภคเท่านั้น คือ ลดค่าธรรมเนียมการโอนจาก 1% เหลือ 0.01% และลดค่าธรรมเนียมการจดจำนองจาก 2% เหลือ 0.01% ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ที่ลดเหลือ 0.11% รัฐบาลไม่ได้ขยายระยะเวลาให้ ซึ่งการต่ออายุมาตรการในลักษณะนี้จะส่งผลเสียต่อผู้ประกอบการ เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดการชะลอการโอนของลูกค้าเนื่องจากยังมีเวลาในการโอนยืดออกไปอีก 2เดือน
“รัฐต่อมาตรการเฉพาะค่าโอนและค่าจดจำนอง แต่ไม่ต่อค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ หากลูกค้าที่ซื้อบ้านและมีกำหนดโอนในวันที่28มี.ค.นี้ เลื่อนการโอนออกไปจะทำให้ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากภาษีธุรกิจเฉพาะอีก 3.3% ซึ่งเดิมที บ้านที่ลูกค้าทำสัญญาซื้อขายไปแล้วนั้น ผู้ประกอบการตั้งราคาขายโดยไม่รวมภาษีธุรกิจเฉพาะ หากลูกค้าเลื่อนโอนบ้านออกไปหลังวันที่28 มี.ค.นี้ จะทำให้บ้านที่มีการซื้อ-ขายไปแล้วได้รับผลกระทบจากการเกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น”
ทั้งนี้ ในการต่ออายุมาตรการดังกล่าวนั้นรัฐบาลควรต่อให้ครบทั้งหมด3ส่วน คือภาษีจดจำนอง ค่าโอนบ้าน และภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งจะไม่เกิดผลกระทบแก่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่การต่ออายุครั้งนี้จะช่วยเหลือเพียงธนาคารให้สามารถอนุมัติสินเชื่อได้ทันตามกำหนด และลูกค้าที่สามารถโอนและได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการ
“การต่ออายุมาตรการนั้นรัฐควรเรียกผู้เกี่ยวข้องร่วมหารือว่าจะเกิดผลกระทบด้านใด และกับใครบ้างการดำเนินการเช่นนี้ถือว่ารัฐมองปัญหาไม่รอบด้านทำให้เกิดผลเสียและผลได้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น”
ด้านนายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า การต่ออายุมาตรการอสังหาฯไปอีก 2 เดือนเป็นการกระตุ้นตลาดระยะสั้น เพื่อแก้ปัญหาผู้ที่ซื้อบ้านในช่วงเวลานี้ แต่ดำเนินการขอสินเชื่อไม่ทัน ซึ่งการยืดอายุมาตรการดังกล่าวให้นั้น ธนาคารสามารถพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้ทันตามกำหนด ช่วยให้ธนาคารไม่เกิดการเร่งรีบในการอนุมัติสินเชื่อจนดเกินไป จากก่อนหน้านี้ สถาบันการเงินมีความกังวลว่าจะต้องรีบปล่อยสินเชื่อ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบสินเชื่อรวมในระยะยาวได้
นอกจากนี้ ผู้ซื้อที่คาดว่าจะตัดสินใจไม่ทันจึงชะลอการซื้อออกไป ก็จะกลับมาซื้อใหม่ เพราะมีเวลาในการตัดสินใจและยื่นขอสินเชื่อ แต่อย่างไรก็ตามการต่อมาตรการระยะสั้นในครั้งนี้ ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดความต้องการซัพพลายใหม่ หรือมีการเร่งป้อนสินค้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดมากนัก แต่เน้นการเก็บกลุ่มผู้ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อบ้านในสต๊อกบ้านพร้อมอยู่ที่มีอยู่แล้วมากกว่า
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอสังหาริมทรัพย์ และสมาคมอาคารชุดไทย ได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เสนอขอให้พิจารณายืดอายุมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ออกไปอีก 2 เดือน เพื่อเป็นมาตรการระยะสั้น โดยการที่รัฐบาลประกาศไม่ต่ออายุมาตรการอสังหาฯ ก่อนเวลาสิ้นสุด 1 เดือน ทำให้ช่วงเดือนมี.ค.ผู้ประกอบการต้องเร่งก่อสร้างและเร่งการขายในช่วงเวลาสั้นๆ สถาบันการเงินต่างๆ ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อให้ทันได้ตามกำหนด ดังนั้น การที่รัฐบาลเห็นด้วยกับการต่ออายุมาตรการฯ จึงเป็นเรื่องที่ดีต่อภาพรวมตลาด โดย3 สมาคมฯ ไม่ได้คาดหวังว่ารัฐบาลจะต่อมาตรการฯ
นายปรเมศวร์ นิสากรเสน กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม (สระบุรี) จำกัด เครือบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (SCG) กล่าวถึงมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)วานนี้ (23 มี.ค.) ที่ได้อนุมัติขยายเวลามาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯออกไปอีก 2 เดือนจากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 26 มี.ค.นี้ว่า อาจจะมีผลต่อยอดขายไม่มาก เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา
ผู้ประกอบการพัฒนาโครงการอสังหาฯได้มีการสั่งสินค้าจากทางบริษัทฯ เพื่อเร่งทำการก่อสร้างให้ทันกับการใช้สิทธิประโยชน์มาตรการอสังหาฯ
“ ก่อนหน้านี้ ผู้ประกอบการรับรู้ข้อมูลว่ารัฐบาลจะไม่ต่อมาตรการอสังหาฯ จึงเร่งสั่งสินค้าต่างๆรวมถึงท่อพีวีซี ทำการก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยและคอนโดมิเนียม ส่งผลให้ตัวเลขไตรมาสแรกของปี 53 ยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้น 6-7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 52 ”
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า การต่ออายุมาตรการภาษีอสังหาริมทรัพย์ออกไปอีก2เดือนจากเดิมที่จะสิ้นสุดมาตรการในวันที่ 28 มี.ค.53ของรัฐบาลในครั้งนี้ เป็นการต่ออายุให้เฉพาะฝั่งผู้บริโภคเท่านั้น คือ ลดค่าธรรมเนียมการโอนจาก 1% เหลือ 0.01% และลดค่าธรรมเนียมการจดจำนองจาก 2% เหลือ 0.01% ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ที่ลดเหลือ 0.11% รัฐบาลไม่ได้ขยายระยะเวลาให้ ซึ่งการต่ออายุมาตรการในลักษณะนี้จะส่งผลเสียต่อผู้ประกอบการ เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดการชะลอการโอนของลูกค้าเนื่องจากยังมีเวลาในการโอนยืดออกไปอีก 2เดือน
“รัฐต่อมาตรการเฉพาะค่าโอนและค่าจดจำนอง แต่ไม่ต่อค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ หากลูกค้าที่ซื้อบ้านและมีกำหนดโอนในวันที่28มี.ค.นี้ เลื่อนการโอนออกไปจะทำให้ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากภาษีธุรกิจเฉพาะอีก 3.3% ซึ่งเดิมที บ้านที่ลูกค้าทำสัญญาซื้อขายไปแล้วนั้น ผู้ประกอบการตั้งราคาขายโดยไม่รวมภาษีธุรกิจเฉพาะ หากลูกค้าเลื่อนโอนบ้านออกไปหลังวันที่28 มี.ค.นี้ จะทำให้บ้านที่มีการซื้อ-ขายไปแล้วได้รับผลกระทบจากการเกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น”
ทั้งนี้ ในการต่ออายุมาตรการดังกล่าวนั้นรัฐบาลควรต่อให้ครบทั้งหมด3ส่วน คือภาษีจดจำนอง ค่าโอนบ้าน และภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งจะไม่เกิดผลกระทบแก่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่การต่ออายุครั้งนี้จะช่วยเหลือเพียงธนาคารให้สามารถอนุมัติสินเชื่อได้ทันตามกำหนด และลูกค้าที่สามารถโอนและได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการ
“การต่ออายุมาตรการนั้นรัฐควรเรียกผู้เกี่ยวข้องร่วมหารือว่าจะเกิดผลกระทบด้านใด และกับใครบ้างการดำเนินการเช่นนี้ถือว่ารัฐมองปัญหาไม่รอบด้านทำให้เกิดผลเสียและผลได้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น”
ด้านนายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า การต่ออายุมาตรการอสังหาฯไปอีก 2 เดือนเป็นการกระตุ้นตลาดระยะสั้น เพื่อแก้ปัญหาผู้ที่ซื้อบ้านในช่วงเวลานี้ แต่ดำเนินการขอสินเชื่อไม่ทัน ซึ่งการยืดอายุมาตรการดังกล่าวให้นั้น ธนาคารสามารถพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้ทันตามกำหนด ช่วยให้ธนาคารไม่เกิดการเร่งรีบในการอนุมัติสินเชื่อจนดเกินไป จากก่อนหน้านี้ สถาบันการเงินมีความกังวลว่าจะต้องรีบปล่อยสินเชื่อ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบสินเชื่อรวมในระยะยาวได้
นอกจากนี้ ผู้ซื้อที่คาดว่าจะตัดสินใจไม่ทันจึงชะลอการซื้อออกไป ก็จะกลับมาซื้อใหม่ เพราะมีเวลาในการตัดสินใจและยื่นขอสินเชื่อ แต่อย่างไรก็ตามการต่อมาตรการระยะสั้นในครั้งนี้ ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดความต้องการซัพพลายใหม่ หรือมีการเร่งป้อนสินค้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดมากนัก แต่เน้นการเก็บกลุ่มผู้ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อบ้านในสต๊อกบ้านพร้อมอยู่ที่มีอยู่แล้วมากกว่า
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอสังหาริมทรัพย์ และสมาคมอาคารชุดไทย ได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เสนอขอให้พิจารณายืดอายุมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ออกไปอีก 2 เดือน เพื่อเป็นมาตรการระยะสั้น โดยการที่รัฐบาลประกาศไม่ต่ออายุมาตรการอสังหาฯ ก่อนเวลาสิ้นสุด 1 เดือน ทำให้ช่วงเดือนมี.ค.ผู้ประกอบการต้องเร่งก่อสร้างและเร่งการขายในช่วงเวลาสั้นๆ สถาบันการเงินต่างๆ ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อให้ทันได้ตามกำหนด ดังนั้น การที่รัฐบาลเห็นด้วยกับการต่ออายุมาตรการฯ จึงเป็นเรื่องที่ดีต่อภาพรวมตลาด โดย3 สมาคมฯ ไม่ได้คาดหวังว่ารัฐบาลจะต่อมาตรการฯ
นายปรเมศวร์ นิสากรเสน กรรมการผู้จัดการ บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม (สระบุรี) จำกัด เครือบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (SCG) กล่าวถึงมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)วานนี้ (23 มี.ค.) ที่ได้อนุมัติขยายเวลามาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯออกไปอีก 2 เดือนจากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 26 มี.ค.นี้ว่า อาจจะมีผลต่อยอดขายไม่มาก เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา
ผู้ประกอบการพัฒนาโครงการอสังหาฯได้มีการสั่งสินค้าจากทางบริษัทฯ เพื่อเร่งทำการก่อสร้างให้ทันกับการใช้สิทธิประโยชน์มาตรการอสังหาฯ
“ ก่อนหน้านี้ ผู้ประกอบการรับรู้ข้อมูลว่ารัฐบาลจะไม่ต่อมาตรการอสังหาฯ จึงเร่งสั่งสินค้าต่างๆรวมถึงท่อพีวีซี ทำการก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัยและคอนโดมิเนียม ส่งผลให้ตัวเลขไตรมาสแรกของปี 53 ยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้น 6-7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 52 ”