ธ.ก.ส.เร่งทำสัญญา อ.ต.ก.รอคลังชงเข้า ครม.ก่อนปล่อยกู้รับซื้อข้าวแก้ปัญหาราคาตกต่ำ คาด หลังเปิดจุดรับซื้อข้าวเพิ่ม มีการเบิกจ่ายเงินเข้ามากขึ้น ระบุ 3 วัน เงินถึงมือเกษตรกร ขณะที่ล่าสุด อคส.เบิกจ่ายได้เพียง 12 ล้าน
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธ.ก.ส.กำลังจะลงนามในสัญญาองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากเงินกู้ 10,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในมาตรการแทรกแซงราคาข้าวตกต่ำนั้น กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้รวมถึงการรับภาระดอกเบี้ย 2.5% ทำให้ที่ผ่านมายังไม่มีการเบิกจ่ายเงินรับซื้อข้าวออกไปมากนัก แต่เชื่อว่าสัปดาห์หน้าจะมีการเสนอขอเบิกเงินเข้ามามาก จากการเปิดจุดรับซื้อข้าวเพิ่มขึ้นจาก 21 จุด เป็น 30 จุด และขยายพื้นที่ครอบคลุมจาก 5 จังหวัด เป็น 9 จังหวัด
ทั้งนี้ การทำสัญญาการกู้เงินกับองค์การคลังสินค้า (อคส.) เรียบร้อยแล้ว ทำให้ที่ผ่านมามีการเบิกจ่ายเงินออกไปแล้ว 12 ล้านบาท ในการรับซื้อข้าว 1,200 ตัน โดยวิธีการนั้นหลังจากที่ อคส.และ อ.ต.ก.ตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรแล้วก็จะส่งรายชื่อ จำนวนตัน และจำนวนเงินมาที่ ธ.ก.ส.จากนั้น ธ.ก.ส.จะโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้าของธนาคารอยู่แล้ว หรือหากไม่ได้เป็นลูกค้าก็สามารถเปิดบัญชีใหม่ได้ โดยจากกระบวนการต่างๆ คาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 3 วัน เงินจะถึงมือเกษตรกร โดยเงินจะไม่ผ่านทั้ง อคส.และ อ.ต.ก.
“มองว่า มาตรการแทรกแซงราคาข้างตกต่ำที่นำมาใช้ผ่าน อคส.และ อ.ต.ก.นั้น น่าจะใช้เงินไม่ถึง 1 หมื่นล้านบาท น่าจะใช้จริงประมาณ 2-3 พันล้านบาท เพราะมองว่าราคาข้าวในตลาดไม่น่าจะปรับตัวลดลงไปเรื่อยๆ แต่ที่เกษตรกรร้องเรียนที่ขายข้าวได้ราคาต่ำ ส่วนใหญ่เป็นเพราะขายข้าวที่ไม่เข้าตามเกณฑ์ ทั้งความชื้นและชนิดของข้าว เช่น ความชื้นเกิน 15% และไม่ใช่ข้าวเปลือกเจ้า 5% ทำให้ได้ราคาต่ำกว่าราคาอ้างอิงมาก แต่เกษตรกรที่เรียกร้องรัฐบาลอยากได้หรือเข้าใจผิดว่าต้องขายได้ตามราคาอ้างอิง” นายลักษณ์ กล่าวและว่า ราคาอ้างอิงที่ประกาศใหม่ที่เริ่มใช้วันที่ 1-15 มีนาคมนี้ ในส่วนของของเปลือกเจ้า 5% ได้ปรับลดลงมาเล็กน้อย ทำให้เกษตรกรได้เงินชดเชยส่วนต่างจากราคาประกนมากขึ้นเป็นตันละ 400 บาท ส่วนข้าวเหนียวและข้าวหอมปทุมยังมีราคาสูงทำให้รัฐไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยส่วนต่าง
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธ.ก.ส.กำลังจะลงนามในสัญญาองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากเงินกู้ 10,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในมาตรการแทรกแซงราคาข้าวตกต่ำนั้น กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้รวมถึงการรับภาระดอกเบี้ย 2.5% ทำให้ที่ผ่านมายังไม่มีการเบิกจ่ายเงินรับซื้อข้าวออกไปมากนัก แต่เชื่อว่าสัปดาห์หน้าจะมีการเสนอขอเบิกเงินเข้ามามาก จากการเปิดจุดรับซื้อข้าวเพิ่มขึ้นจาก 21 จุด เป็น 30 จุด และขยายพื้นที่ครอบคลุมจาก 5 จังหวัด เป็น 9 จังหวัด
ทั้งนี้ การทำสัญญาการกู้เงินกับองค์การคลังสินค้า (อคส.) เรียบร้อยแล้ว ทำให้ที่ผ่านมามีการเบิกจ่ายเงินออกไปแล้ว 12 ล้านบาท ในการรับซื้อข้าว 1,200 ตัน โดยวิธีการนั้นหลังจากที่ อคส.และ อ.ต.ก.ตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรแล้วก็จะส่งรายชื่อ จำนวนตัน และจำนวนเงินมาที่ ธ.ก.ส.จากนั้น ธ.ก.ส.จะโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้าของธนาคารอยู่แล้ว หรือหากไม่ได้เป็นลูกค้าก็สามารถเปิดบัญชีใหม่ได้ โดยจากกระบวนการต่างๆ คาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 3 วัน เงินจะถึงมือเกษตรกร โดยเงินจะไม่ผ่านทั้ง อคส.และ อ.ต.ก.
“มองว่า มาตรการแทรกแซงราคาข้างตกต่ำที่นำมาใช้ผ่าน อคส.และ อ.ต.ก.นั้น น่าจะใช้เงินไม่ถึง 1 หมื่นล้านบาท น่าจะใช้จริงประมาณ 2-3 พันล้านบาท เพราะมองว่าราคาข้าวในตลาดไม่น่าจะปรับตัวลดลงไปเรื่อยๆ แต่ที่เกษตรกรร้องเรียนที่ขายข้าวได้ราคาต่ำ ส่วนใหญ่เป็นเพราะขายข้าวที่ไม่เข้าตามเกณฑ์ ทั้งความชื้นและชนิดของข้าว เช่น ความชื้นเกิน 15% และไม่ใช่ข้าวเปลือกเจ้า 5% ทำให้ได้ราคาต่ำกว่าราคาอ้างอิงมาก แต่เกษตรกรที่เรียกร้องรัฐบาลอยากได้หรือเข้าใจผิดว่าต้องขายได้ตามราคาอ้างอิง” นายลักษณ์ กล่าวและว่า ราคาอ้างอิงที่ประกาศใหม่ที่เริ่มใช้วันที่ 1-15 มีนาคมนี้ ในส่วนของของเปลือกเจ้า 5% ได้ปรับลดลงมาเล็กน้อย ทำให้เกษตรกรได้เงินชดเชยส่วนต่างจากราคาประกนมากขึ้นเป็นตันละ 400 บาท ส่วนข้าวเหนียวและข้าวหอมปทุมยังมีราคาสูงทำให้รัฐไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยส่วนต่าง