ASTVผู้จัดการรายวัน – ธ.ก.ส.สกัดม็อบชาวนา งัดมาตรการแทรกแซงราคาข้าวออกมาใช้อีกหลังเกษตรกรแสดงความไม่พอใจราคาข้าวตกต่ำ ปล่อยกู้ อ.ต.ก.-อคส. วงเงิน 2 หมื่นล้านบาทตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวใน 30 จังหวัดสยบปัญหา
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาข้าวเปลือกนาปรังราคาตกต่ำในบางพื้นที่ตามข้อเรียกร้องของเกษตรกรใน 3 จังหวัดคือ นครสวรรค์ อยุธยา และพิษณุโลก ธ.ก.ส.ได้เตรียมวงเงินกู้ให้องค์การคลังสินค้า(อคส.)และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.)รวม 2 หมื่นล้านบาทเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการแทรกแซงตลาดรับซื้อข้าวเปลือกดังกล่าวโดยคาดว่าไม่น่าจะเกิน 2 ล้านตันซึ่งธนาคารจะคิดดอกเบี้ยพิเศษเพียง2.5%ต่อปี
สำหรับมาตรการดังกล่าวถือว่ามีความจำเป็นที่ต้องนำมาใช้แทรกแซงตลาดในช่วงนี้หลังจากที่ปีก่อนเคยนำมาใช้แล้วครั้งหนึ่งแต่เนื่องจากราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นจึงยกเลิกไปและใช้เงินไปเพียง 7 ล้านบาทเท่านั้นโดยกระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศจุดรับซื้อแล้ว 8 จุดใน 3 จังหวัดดังกล่าวแต่พื้นที่ใกล้เคียงสามารถมาใช้บริการได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ.นี้ โดยทั้ง2หน่วยงานจะรับซื้อข้าวในราคาอ้างอิงแต่ทอนราคาตามคุณภาพความชื้นโดยทุก 1%ราคาจะลดลง 120-130 บาทต่อตันจากที่ประกาศราคาล่าสุดข้าวความชื้นไม่เกิน 15%มีราคาอยู่ที่ 9,886บาทต่อตัน
“ที่ผ่านมาพบว่าใน3จังหวัดส่วนใหญ่เกษตรกรนำข้าวที่เก็บเกี่ยวเร็วและมีความชื้นสูง 25-30%มาขายให้โรงสีทำให้ถูกกดราคาต่ำมากเหลือไม่ถึงตันละ 7 พันบาทซึ่งเป็นราคาที่ไม่เป็นธรรมทำให้เกิดการร้องเรียนและเดินขบวนมาตรการดังกล่าวจึงน่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง” นายลักษณ์กล่าว
อย่างไรก็ตามมองว่าราคาตลาดไม่น่าจะปรับลดลงต่ำขนาดนี้เพราะความต้องการข้าวในตลาดโลกยังมีอยู่ประกอบกับบางประเทศชะลอการส่งออกจึงน่าจะเป็นโอกาสดีของข้าวไทยโดยหลังจากรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนไม่ระบายสตอกข้าวเก่าออกมาก็น่าจะทำให้กลไกลตลาดกลับเข้สู่ภาวะปกติจากที่ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการชะลอการซื้อข้าวเพื่อรอข้าวในสตอกรัฐบาลทำให้ไม่ เกินการแข่งขันราคาในตลาดโดยมองว่าหลังจากนี้ราคาข้าวในประเทศน่าจะขยับขึ้นได้ส่วนข้าวที่ตั้งโต๊ะรับซื้อข้ามานั้นทางคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) มีความชัดเจนว่าจะไม่เก็บไว้นานเหมือนสตอกเก่าที่ผ่านมา
ส่วนการให้สินเชื่อโรงสีและโครงการรับฝากข้าวเปลือกในยุ้งฉางเกษตรกรเพื่อเป็นการทางเลือกให้เกษตรกรในการชะลอการขายผลผลิตในช่วงราคาตกต่ำโดยคิดดอกเบี้ย2%ต่อปีนั้นจะสิ้นสุดเดือนก.พ.นี้ยกเว้นภาคใต้เปิดถึงเดือนพ.ค.โดยมีกำหนดไถ่ถอนภายใน4เดือนล่าสุดมีเกษตรกรเข้าโครงการ3.1หมื่นรายวงเงิน2.5พันล้านบาทไถ่ถอนแล้ว341รายวงเงิน25ล้านบาท
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาข้าวเปลือกนาปรังราคาตกต่ำในบางพื้นที่ตามข้อเรียกร้องของเกษตรกรใน 3 จังหวัดคือ นครสวรรค์ อยุธยา และพิษณุโลก ธ.ก.ส.ได้เตรียมวงเงินกู้ให้องค์การคลังสินค้า(อคส.)และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.)รวม 2 หมื่นล้านบาทเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการแทรกแซงตลาดรับซื้อข้าวเปลือกดังกล่าวโดยคาดว่าไม่น่าจะเกิน 2 ล้านตันซึ่งธนาคารจะคิดดอกเบี้ยพิเศษเพียง2.5%ต่อปี
สำหรับมาตรการดังกล่าวถือว่ามีความจำเป็นที่ต้องนำมาใช้แทรกแซงตลาดในช่วงนี้หลังจากที่ปีก่อนเคยนำมาใช้แล้วครั้งหนึ่งแต่เนื่องจากราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นจึงยกเลิกไปและใช้เงินไปเพียง 7 ล้านบาทเท่านั้นโดยกระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศจุดรับซื้อแล้ว 8 จุดใน 3 จังหวัดดังกล่าวแต่พื้นที่ใกล้เคียงสามารถมาใช้บริการได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 ก.พ.นี้ โดยทั้ง2หน่วยงานจะรับซื้อข้าวในราคาอ้างอิงแต่ทอนราคาตามคุณภาพความชื้นโดยทุก 1%ราคาจะลดลง 120-130 บาทต่อตันจากที่ประกาศราคาล่าสุดข้าวความชื้นไม่เกิน 15%มีราคาอยู่ที่ 9,886บาทต่อตัน
“ที่ผ่านมาพบว่าใน3จังหวัดส่วนใหญ่เกษตรกรนำข้าวที่เก็บเกี่ยวเร็วและมีความชื้นสูง 25-30%มาขายให้โรงสีทำให้ถูกกดราคาต่ำมากเหลือไม่ถึงตันละ 7 พันบาทซึ่งเป็นราคาที่ไม่เป็นธรรมทำให้เกิดการร้องเรียนและเดินขบวนมาตรการดังกล่าวจึงน่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง” นายลักษณ์กล่าว
อย่างไรก็ตามมองว่าราคาตลาดไม่น่าจะปรับลดลงต่ำขนาดนี้เพราะความต้องการข้าวในตลาดโลกยังมีอยู่ประกอบกับบางประเทศชะลอการส่งออกจึงน่าจะเป็นโอกาสดีของข้าวไทยโดยหลังจากรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนไม่ระบายสตอกข้าวเก่าออกมาก็น่าจะทำให้กลไกลตลาดกลับเข้สู่ภาวะปกติจากที่ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการชะลอการซื้อข้าวเพื่อรอข้าวในสตอกรัฐบาลทำให้ไม่ เกินการแข่งขันราคาในตลาดโดยมองว่าหลังจากนี้ราคาข้าวในประเทศน่าจะขยับขึ้นได้ส่วนข้าวที่ตั้งโต๊ะรับซื้อข้ามานั้นทางคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) มีความชัดเจนว่าจะไม่เก็บไว้นานเหมือนสตอกเก่าที่ผ่านมา
ส่วนการให้สินเชื่อโรงสีและโครงการรับฝากข้าวเปลือกในยุ้งฉางเกษตรกรเพื่อเป็นการทางเลือกให้เกษตรกรในการชะลอการขายผลผลิตในช่วงราคาตกต่ำโดยคิดดอกเบี้ย2%ต่อปีนั้นจะสิ้นสุดเดือนก.พ.นี้ยกเว้นภาคใต้เปิดถึงเดือนพ.ค.โดยมีกำหนดไถ่ถอนภายใน4เดือนล่าสุดมีเกษตรกรเข้าโครงการ3.1หมื่นรายวงเงิน2.5พันล้านบาทไถ่ถอนแล้ว341รายวงเงิน25ล้านบาท