เงินทุนต่างประเทศไหลเข้าตลาดหุ้น แบงก์ชาติชี้ความชัดเจนหลังศาลตัดสินคดียึดทรัพย์ ทำให้บรรยากาศและความเชื่อมั่นนักลงทุนดีขึ้น ยันค่าเงินบาทไม่ได้แข็งกว่าค่าเงินอื่นในภูมิภาค คงแผนสำรองเงินสดรับมือม็อบเสื้อแดงช่วง 12-14 มี.ค.
น.ส.วงษ์วธู ไพธิรัชต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้เกิดจากเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามายังตลาดหุ้นเป็นส่วนใหญ่ และมีเงินทุนไหลเข้าตลาดตราสารหนี้บ้างเล็กน้อย หลังจากที่ศาลตัดสินคดียึดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงทำให้บรรยากาศดีขึ้น จากเดิมที่นักลงทุนมองไปในแง่ลบ จึงส่งผลให้นักลงทุนเริ่มมีความเชื่อมั่นไทยมากขึ้น
“เงินทุนไหลเข้าขณะนี้มีมากขึ้น เมื่อเทียบกับ 2-3 สัปดาห์ก่อน เห็นได้จากการซื้อสุทธิในตลาดหุ้นของแต่ละวัน ส่วนเงินทุนไหลเข้าผ่านช่องทางอื่นๆ มีไม่มากทั้งการปรับฐานะเงินตราต่างประเทศของแบงก์พาณิชย์ รวมถึงด้านของผู้ส่งออกและนำเข้า แม้ยังมีบางกลุ่มทำอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องหลักจากเงินทุนไหลเข้า”นางสาววงษ์วธูกล่าว
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทไม่ได้แข็งเกินไปเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักในภูมิภาคเอเชีย โดยแม้บางช่วงค่าเงินยูโร เยน ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือแม้แต่เงินวอนของเกาหลีใต้มีระดับการแข็งค่าที่ไม่เท่ากัน แต่สุดท้ายแล้วก็กลับมาแข็งค่ากว่าไม่มาก โดยเฉพาะเมื่อมีกระแสข่าวการแก้ไขปัญหาของกรีซดีขึ้น ทำให้ค่าเงินยูโรและค่าเงินในภูมิภาคเอเชียปรับตัวดีขึ้นตาม
ประกอบกับนับตั้งแต่เดือนที่แล้วในตลาดมีความสมดุลมากขึ้นระหว่างดีมานส์และซัพพลาย ทำให้ความจำเป็นที่ธปท.ต้องเข้าไปเบรกความร้อนแรงด้วยการแทรกแซงเงินไม่มากนัก รวมถึงจากมาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออกมากขึ้นของธปท. ทำให้นักลงทุนมีความระมัดระวังมากขึ้น
น.สงวงษ์วธู กล่าวว่า ขณะนี้ ธปท.ยังไม่พบการเก็งกำไรค่าเงินบาท หลังจากที่ธปท.ผ่อนคลายการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นในประเด็นยกเลิกธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนของค่าสินค้าและบริการทุกกรณี รวมถึงผู้นำเข้าและผู้ส่งออกก็มาใช้วิธีนี้ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม แม้ธปท.จะผ่อนคลายให้มีเครื่องมือเยอะขึ้น แต่ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนก็มีความเสี่ยงมาก ฉะนั้นผู้นำเข้าและส่งออกควรระมัดระวังในการทำธุรกรรมดังกล่าว เพราะอาจเกิดความเสี่ยงและกระทบต่อธุรกิจได้และอาจกลายเป็นการค้าเงินแทนการค้าขายสินค้าในธุรกิจของตัวเอง
***คงแผนสำรองเงินสดรับม็อบแดง
นางจิตติมา ดุริยะประพันธ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายออกบัตรธนาคาร ธปท. กล่าวว่า ธปท.ยังคงแผนจัดการธนบัตร ในสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปอีกระยะ เพื่อรับมือกับสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นในปลายสัปดาห์หน้า (12-14 มี.ค.) โดย ธปท.และธนาคารพาณิชย์ได้มีการสำรองเงินสดเพิ่มขึ้นจากการสำรองไว้ 2-4 เดือน ซึ่งเป็นการสำรองเงินสดจากสถานการณ์ปกติอีกในระดับหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับต้องเพิ่มขึ้น 100% ซึ่งเชื่อว่าจะเพียงพอรองรับการเบิกจ่ายของประชาชนได้
“เป้าหมายของ ธปท.ที่ได้ชี้แจงให้ธนาคารพาณิชย์รับทราบยังคงเป็นเช่นเดิม คือ สามารถมีเงินสำรองไว้ทุกสาขาของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการเบิกจ่ายเงินของประชาชน ในสถานการณ์ที่อาจจะไม่ปกติ รวมทั้งมีแผนการกระจายเงินไปตามตู้เอทีเอ็มตลอดเวลา เพราะไม่ต้องการให้เกิดความตื่นตระหนก หากมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น แล้วกดเงินจากตู้เอทีเอ็มหรือเบิกเงินจากสาขาของธนาคารพาณิชย์ไม่ได้”
สำหรับการสำรวจสถานการณ์การเบิกจ่ายเงินของธนาคารพาณิชย์ในช่วงหลังเหตุการณ์การปาระบิดธนาคารกรุงเทพฯ ในขณะนี้ยังคงเป็นปกติ ไม่มีความต้องการเงินสด หรือธนบัตรเพิ่มจนผิดปกติ เพราะเท่าที่ได้รับรายงานในส่วนของธนาคารกรุงเทพ ประชาชนอาจจะหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมกับสาขาในช่วงแรก แต่ไม่มีความตื่นตระหนกมาแห่ถอนเงิน หรือปิดบัญชีแต่อย่างใด ขณะที่ธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นๆ สถานการณ์การทำธุรกรรมการเงินของประชาชน และการฝากถอนเงินยังเป็นปกติ
น.ส.วงษ์วธู ไพธิรัชต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้เกิดจากเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามายังตลาดหุ้นเป็นส่วนใหญ่ และมีเงินทุนไหลเข้าตลาดตราสารหนี้บ้างเล็กน้อย หลังจากที่ศาลตัดสินคดียึดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงทำให้บรรยากาศดีขึ้น จากเดิมที่นักลงทุนมองไปในแง่ลบ จึงส่งผลให้นักลงทุนเริ่มมีความเชื่อมั่นไทยมากขึ้น
“เงินทุนไหลเข้าขณะนี้มีมากขึ้น เมื่อเทียบกับ 2-3 สัปดาห์ก่อน เห็นได้จากการซื้อสุทธิในตลาดหุ้นของแต่ละวัน ส่วนเงินทุนไหลเข้าผ่านช่องทางอื่นๆ มีไม่มากทั้งการปรับฐานะเงินตราต่างประเทศของแบงก์พาณิชย์ รวมถึงด้านของผู้ส่งออกและนำเข้า แม้ยังมีบางกลุ่มทำอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องหลักจากเงินทุนไหลเข้า”นางสาววงษ์วธูกล่าว
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทไม่ได้แข็งเกินไปเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักในภูมิภาคเอเชีย โดยแม้บางช่วงค่าเงินยูโร เยน ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือแม้แต่เงินวอนของเกาหลีใต้มีระดับการแข็งค่าที่ไม่เท่ากัน แต่สุดท้ายแล้วก็กลับมาแข็งค่ากว่าไม่มาก โดยเฉพาะเมื่อมีกระแสข่าวการแก้ไขปัญหาของกรีซดีขึ้น ทำให้ค่าเงินยูโรและค่าเงินในภูมิภาคเอเชียปรับตัวดีขึ้นตาม
ประกอบกับนับตั้งแต่เดือนที่แล้วในตลาดมีความสมดุลมากขึ้นระหว่างดีมานส์และซัพพลาย ทำให้ความจำเป็นที่ธปท.ต้องเข้าไปเบรกความร้อนแรงด้วยการแทรกแซงเงินไม่มากนัก รวมถึงจากมาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออกมากขึ้นของธปท. ทำให้นักลงทุนมีความระมัดระวังมากขึ้น
น.สงวงษ์วธู กล่าวว่า ขณะนี้ ธปท.ยังไม่พบการเก็งกำไรค่าเงินบาท หลังจากที่ธปท.ผ่อนคลายการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นในประเด็นยกเลิกธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนของค่าสินค้าและบริการทุกกรณี รวมถึงผู้นำเข้าและผู้ส่งออกก็มาใช้วิธีนี้ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม แม้ธปท.จะผ่อนคลายให้มีเครื่องมือเยอะขึ้น แต่ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนก็มีความเสี่ยงมาก ฉะนั้นผู้นำเข้าและส่งออกควรระมัดระวังในการทำธุรกรรมดังกล่าว เพราะอาจเกิดความเสี่ยงและกระทบต่อธุรกิจได้และอาจกลายเป็นการค้าเงินแทนการค้าขายสินค้าในธุรกิจของตัวเอง
***คงแผนสำรองเงินสดรับม็อบแดง
นางจิตติมา ดุริยะประพันธ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายออกบัตรธนาคาร ธปท. กล่าวว่า ธปท.ยังคงแผนจัดการธนบัตร ในสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปอีกระยะ เพื่อรับมือกับสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นในปลายสัปดาห์หน้า (12-14 มี.ค.) โดย ธปท.และธนาคารพาณิชย์ได้มีการสำรองเงินสดเพิ่มขึ้นจากการสำรองไว้ 2-4 เดือน ซึ่งเป็นการสำรองเงินสดจากสถานการณ์ปกติอีกในระดับหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับต้องเพิ่มขึ้น 100% ซึ่งเชื่อว่าจะเพียงพอรองรับการเบิกจ่ายของประชาชนได้
“เป้าหมายของ ธปท.ที่ได้ชี้แจงให้ธนาคารพาณิชย์รับทราบยังคงเป็นเช่นเดิม คือ สามารถมีเงินสำรองไว้ทุกสาขาของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการเบิกจ่ายเงินของประชาชน ในสถานการณ์ที่อาจจะไม่ปกติ รวมทั้งมีแผนการกระจายเงินไปตามตู้เอทีเอ็มตลอดเวลา เพราะไม่ต้องการให้เกิดความตื่นตระหนก หากมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น แล้วกดเงินจากตู้เอทีเอ็มหรือเบิกเงินจากสาขาของธนาคารพาณิชย์ไม่ได้”
สำหรับการสำรวจสถานการณ์การเบิกจ่ายเงินของธนาคารพาณิชย์ในช่วงหลังเหตุการณ์การปาระบิดธนาคารกรุงเทพฯ ในขณะนี้ยังคงเป็นปกติ ไม่มีความต้องการเงินสด หรือธนบัตรเพิ่มจนผิดปกติ เพราะเท่าที่ได้รับรายงานในส่วนของธนาคารกรุงเทพ ประชาชนอาจจะหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมกับสาขาในช่วงแรก แต่ไม่มีความตื่นตระหนกมาแห่ถอนเงิน หรือปิดบัญชีแต่อย่างใด ขณะที่ธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นๆ สถานการณ์การทำธุรกรรมการเงินของประชาชน และการฝากถอนเงินยังเป็นปกติ