กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ 12 โครงการมูลค่า 5.4 หมื่นล้านบาท ส่งไม้ต่อให้อัยการสูงสุดเพื่อยื่นต่อศาลปกครองกลางขอให้เพิกถอนคำสั่งการระงับการก่อสร้างเพื่อลดผลกระทบกรณีมาบตาพุดแล้ว คาดจะยื่นได้ไม่เกิน 15 ก.พ.นี้ ชี้หยุดเสียหายโครงการละ500-2,000 ล้านบาท “อานันท์” เดินหน้าตั้งองค์การอิสระ (เฉพาะกาล) คาด2-3เดือนเสร็จ ด้านกำหนดกิจการรุนแรงยังเสียงแตกไม่เลิก
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรมว.อุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะทำงานกลางเพื่อหาข้อสรุปในแนวทางดำเนินการตามมาตรา 67 วรรค 2 ได้รวบรวมข้อมูล 12 โครงการมูลค่าลงทุนประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท เพื่อส่งต่อให้กับอัยการสูงสุดเป็นตัวแทนเพื่อยื่นต่อศาลปกครองกลางในการขอให้ผ่อนผันการก่อสร้างและหรือทดสอบเครื่องจักรแต่จะไม่รวมถึงการเปิดดำเนินกิจการ
ทั้งนี้ 12 โครงการเป็นกิจการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง9 โครงการและจะดำเนินการก่อสร้างอีก 3 โครงการ โดย 9 โครงการประกอบด้วย 1. บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด 1 โครงการ 2.บริษัท สยาม เลเทกซ์สังเคราะห์ จำกัด 2 โครงการ 3.บริษัท สยามโพลีเอทิลีน จำกัด 1 โครงการ 4.บริษัท พีทีทีฟีนอล จำกัด 2 โครงการ 5.บริษัท บีเอสที อิลาสโตเมอร์ 1 โครงการ
โดยโครงการทั้งหมดยื่นขอก่อสร้างและทดสอบเครื่องจักร 6.บริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล 1 โครงการ ขอก่อสร้าง 7.บริษัท ไทยเอ็มเอ็มเอ จำกัด 1 โครงการ ขอทดสอบเครื่องจักร
สำหรับ 3 โครงการที่เหลือ ซึ่งจะดำเนินการก่อสร้าง แต่ถูกคำสั่งศาลฯ ระงับ จึงจะยื่นขอก่อสร้างและทดสอบเครื่องจักร คือ 1.บริษัท เอ็มทีพี เอชพี เจวี (ประเทศไทย) จำกัด 1 โครงการ 2.บมจ.วีนิไทย 1 โครงการ 3.บริษัท บี อาร์ พี สตีล จำกัด 1 โครงการ
นายบัญญัติ วิสุทธิมรรค อัยการอาวุโส กล่าวว่า ทางอัยการสูงสุดจะรวบรวมข้อมูลใหม่ที่ไม่เคยเสนอศาลปกครองกลาง และเป็นเหตุสมควร โดยหากไม่ยื่นจะเกิดความเสียหายต่อโครงการกรณีที่ไม่ได้ก่อสร้างโครงการละ 500-2,000 ล้านบาท โดยจะยื่นข้อมูลต่อศาลปกครองกลางวันที่ 12 ก.พ. หรือช้าสุดไม่เกินวันที่ 15 ก.พ.นี้
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรมว.อุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะทำงานกลางเพื่อหาข้อสรุปในแนวทางดำเนินการตามมาตรา 67 วรรค 2 กล่าวว่า ที่ผ่านมา คณะทำงานฯ ได้จัดกลุ่มกิจการที่ให้คำปรึกษา 49 กิจการเพื่อลดผลกระทบจากคำสั่งศาลฯออกเป็น 4 กรณี คือ 1.กลุ่มที่จะต้องขอหนังสือยืนยันจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ว่าเป็นโครงการที่ไม่ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) มีกิจการเข้าข่าย 10 โครงการและได้ยื่นต่อสผ.แล้ว 7 โครงการ ขอชะลอ 1 โครงการและจะหารือสผ.ที่เหลือ
กลุ่ม 2.กิจการที่ต้องยื่นขอหนังสือยืนยันจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ว่าเป็นกิจการที่ได้รับอนุญาตก่อนรัฐธรรมนูญปี 2550 มีผลบังคับใช้ ซึ่งมี 4 โครงการ กลุ่ม 3.ยื่นขอผ่อนผันต่อศาลฯ โดยใช้เหตุผลเทียบเคียง 11 โครงการที่ได้รับการยกเว้นมี 9 โครงการและกลุ่ม 4.กลุ่มที่จะขอผ่อนผันเฉพาะก่อสร้างและหรือทดสอบเครื่องจักรมี 16 โครงการ และได้มอบอัยการยื่นศาลฯล่าสุด 12 โครงการ
นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ไขมาบตาพุด กล่าวหลังเป็นเปิดเวทีชี้แจงและรับฟังความคิดเห็น การจัดตั้งองค์การอิสระ วานนี้ (9ก.พ.) ว่า เป็นกระบวนการหนึ่ง เพื่อการจัดตั้งองค์การอิสระเฉพาะกาลให้แล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน ส่วนกรณีที่มีการฟ้องร้องต่อศาลว่าการดำเนินการจัดตั้งองค์การอิสระ (เฉพาะกาล) ที่ออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตน เพราะได้ทำงานตามหน้าที่แล้ว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ 4 ฝ่าย กล่าวว่า ยังมีข้อคิดเห็นที่ต่างกันกับการจัดทำบัญชีประเภทกิจการรุนแรง ซึ่งเอกชนและหน่วยงานอนุมัติ อนุญาต ต้องการให้จัดทำเป็นบัญชีกิจการที่ก่อให้เกิดการรุนแรงชัดเจนเพื่อให้รู้ทันทีว่ากิจการนั้นๆ ต้องทำ HIA แต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ต้องการกำหนดคำนิยามคำว่ากิจการที่อาจส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพรุนแรงแทนการกำหนดเป็นประเภท
“ขั้นตอนมีการเปิดช่องไว้ว่าหากชุมชนเห็นว่ากิจการนั้นๆ มีผลกระทบก็สามารถส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยได้ ซึ่งประเด็นนี้มีการถกเถียงมากเพราะหากเปิดช่องไว้ก็เท่ากับการกำหนดประเภทกิจการอาจไม่มีความหมาย แต่แง่ของหน่วยงานปฏิบัติการกำหนดไว้ให้ชัดเจนจะเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า”แหล่งข่าวกล่าว
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรมว.อุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะทำงานกลางเพื่อหาข้อสรุปในแนวทางดำเนินการตามมาตรา 67 วรรค 2 ได้รวบรวมข้อมูล 12 โครงการมูลค่าลงทุนประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท เพื่อส่งต่อให้กับอัยการสูงสุดเป็นตัวแทนเพื่อยื่นต่อศาลปกครองกลางในการขอให้ผ่อนผันการก่อสร้างและหรือทดสอบเครื่องจักรแต่จะไม่รวมถึงการเปิดดำเนินกิจการ
ทั้งนี้ 12 โครงการเป็นกิจการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง9 โครงการและจะดำเนินการก่อสร้างอีก 3 โครงการ โดย 9 โครงการประกอบด้วย 1. บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด 1 โครงการ 2.บริษัท สยาม เลเทกซ์สังเคราะห์ จำกัด 2 โครงการ 3.บริษัท สยามโพลีเอทิลีน จำกัด 1 โครงการ 4.บริษัท พีทีทีฟีนอล จำกัด 2 โครงการ 5.บริษัท บีเอสที อิลาสโตเมอร์ 1 โครงการ
โดยโครงการทั้งหมดยื่นขอก่อสร้างและทดสอบเครื่องจักร 6.บริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล 1 โครงการ ขอก่อสร้าง 7.บริษัท ไทยเอ็มเอ็มเอ จำกัด 1 โครงการ ขอทดสอบเครื่องจักร
สำหรับ 3 โครงการที่เหลือ ซึ่งจะดำเนินการก่อสร้าง แต่ถูกคำสั่งศาลฯ ระงับ จึงจะยื่นขอก่อสร้างและทดสอบเครื่องจักร คือ 1.บริษัท เอ็มทีพี เอชพี เจวี (ประเทศไทย) จำกัด 1 โครงการ 2.บมจ.วีนิไทย 1 โครงการ 3.บริษัท บี อาร์ พี สตีล จำกัด 1 โครงการ
นายบัญญัติ วิสุทธิมรรค อัยการอาวุโส กล่าวว่า ทางอัยการสูงสุดจะรวบรวมข้อมูลใหม่ที่ไม่เคยเสนอศาลปกครองกลาง และเป็นเหตุสมควร โดยหากไม่ยื่นจะเกิดความเสียหายต่อโครงการกรณีที่ไม่ได้ก่อสร้างโครงการละ 500-2,000 ล้านบาท โดยจะยื่นข้อมูลต่อศาลปกครองกลางวันที่ 12 ก.พ. หรือช้าสุดไม่เกินวันที่ 15 ก.พ.นี้
นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรมว.อุตสาหกรรมในฐานะประธานคณะทำงานกลางเพื่อหาข้อสรุปในแนวทางดำเนินการตามมาตรา 67 วรรค 2 กล่าวว่า ที่ผ่านมา คณะทำงานฯ ได้จัดกลุ่มกิจการที่ให้คำปรึกษา 49 กิจการเพื่อลดผลกระทบจากคำสั่งศาลฯออกเป็น 4 กรณี คือ 1.กลุ่มที่จะต้องขอหนังสือยืนยันจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ว่าเป็นโครงการที่ไม่ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) มีกิจการเข้าข่าย 10 โครงการและได้ยื่นต่อสผ.แล้ว 7 โครงการ ขอชะลอ 1 โครงการและจะหารือสผ.ที่เหลือ
กลุ่ม 2.กิจการที่ต้องยื่นขอหนังสือยืนยันจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ว่าเป็นกิจการที่ได้รับอนุญาตก่อนรัฐธรรมนูญปี 2550 มีผลบังคับใช้ ซึ่งมี 4 โครงการ กลุ่ม 3.ยื่นขอผ่อนผันต่อศาลฯ โดยใช้เหตุผลเทียบเคียง 11 โครงการที่ได้รับการยกเว้นมี 9 โครงการและกลุ่ม 4.กลุ่มที่จะขอผ่อนผันเฉพาะก่อสร้างและหรือทดสอบเครื่องจักรมี 16 โครงการ และได้มอบอัยการยื่นศาลฯล่าสุด 12 โครงการ
นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ไขมาบตาพุด กล่าวหลังเป็นเปิดเวทีชี้แจงและรับฟังความคิดเห็น การจัดตั้งองค์การอิสระ วานนี้ (9ก.พ.) ว่า เป็นกระบวนการหนึ่ง เพื่อการจัดตั้งองค์การอิสระเฉพาะกาลให้แล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน ส่วนกรณีที่มีการฟ้องร้องต่อศาลว่าการดำเนินการจัดตั้งองค์การอิสระ (เฉพาะกาล) ที่ออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตน เพราะได้ทำงานตามหน้าที่แล้ว
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ 4 ฝ่าย กล่าวว่า ยังมีข้อคิดเห็นที่ต่างกันกับการจัดทำบัญชีประเภทกิจการรุนแรง ซึ่งเอกชนและหน่วยงานอนุมัติ อนุญาต ต้องการให้จัดทำเป็นบัญชีกิจการที่ก่อให้เกิดการรุนแรงชัดเจนเพื่อให้รู้ทันทีว่ากิจการนั้นๆ ต้องทำ HIA แต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ต้องการกำหนดคำนิยามคำว่ากิจการที่อาจส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพรุนแรงแทนการกำหนดเป็นประเภท
“ขั้นตอนมีการเปิดช่องไว้ว่าหากชุมชนเห็นว่ากิจการนั้นๆ มีผลกระทบก็สามารถส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยได้ ซึ่งประเด็นนี้มีการถกเถียงมากเพราะหากเปิดช่องไว้ก็เท่ากับการกำหนดประเภทกิจการอาจไม่มีความหมาย แต่แง่ของหน่วยงานปฏิบัติการกำหนดไว้ให้ชัดเจนจะเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า”แหล่งข่าวกล่าว