บลจ.กรุงไทย คาด ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯปี53 จะแกว่งตัวเเละผันผวนในกรอบ 680-800 จุด ประเมินปัญหาการเมือง มาบตาพุด เเละ 3G ยังเป็นปัจจัยลบกดดันตลาดหุ้นไทย
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงเเนวโน้มการลงทุนตราสารทุนเเละตราสารหนี้ปี 2553 ว่า KTAM ได้รับประมาณการ การเติบโตของเศรษฐกิจขึ้นเป็น 3.9% จาก 3.5% โดยคาดว่าการเบิกจ่ายภายใต้โครงการไทยเข้มเเข็งที่เร่งตัวขึ้น น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน จะทำให้การส่งออกของไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเเละจับจ่ายใช้สอยสินค้ามากขึ้น เเต่ทว่าเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญปัจจัยลบต่างๆเช่น เศรษฐกิจกลุ่ม 3G ที่ยังคงซบเซา ความเสี่ยงในการยกเลิกนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย พร้อมทั้งค่าเงินบาที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ เป็นต้น
ทั้งนี้เเม้ว่าเงินเฟ้อที่ประกาศจะอยู่ในระดับต่ำ เเต่เราเห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อก็ได้เริ่มก่อตัวขึ้น เเละคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. น่าจะปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในช่วงประมาณกลางปีเพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อในระยะยาว ทำให้ดอกเบี้ยในประเทศปีนี้จะอยู่ในช่วงขาขึ้น
สำหรับดัชนีตลาดหุ้นในปี 2553 นี้ KTAM คาดว่า SET จะแกว่างตัวเเละผันผวนในกรอบ 680-800 จุด เทียบเท่า PER ในปี 2553 ที่ระดับ 11-13 เท่า โดยมีปัจจัยบวกจากสภาพคล่องในตลาดเงินที่ยังคงมีอยู่สูง ซึ่งยังมีการคงดอกเบี้ยในระดับต่ำของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับปัจจุบันตลอดทั้งปี 2553 ขณะที่เเนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯเเละเศรษฐกิจไทยอีกด้วย นอกจากยังมีเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านปฎิบัติการไทยเข็มเเข็ง พร้อมทั้งผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งคาดว่าจะมีเเนวโน้มเติบโตขึ้นได้
ขณะที่ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อตลาดทุนได้เเก่ ความเสียงด้านกฏระเบียบภาครัฐ(Regulatory Risk) ซึ่งยังมีความไม่เเน่นอนอันเกิดจากกฏระเบียบภาครัฐ ที่อาจกระทบต่อกลุ่มอุตสหกรรมที่สำคัญต่อประเทศ ทั้งกรณีศาลกปครองกลางมีคำสั่งระงับการก่อสร้าง โครงการในนิคมอุตสหกรรมมาบตาพุด และกรณีการประมูลคลื่น 3G เป็นต้น คาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายใรไตรมาส 1 พร้อมทั้งความเสี่ยงจากการปรับลดเครดิตเรตติ้ง การผิดนัดชำระของตราสารหนี้ภาครัฐ เเละเอกชนในต่างประเทศ เช่นกรณีดูไบเวิลด์ กรีซ เเละกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออก เป็นต้น
นอกจากนี้ความขัดเเย้งทางการเมืองภายในประเทศ ทึ้งพรรคร่วมรัฐบาล และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ซึ่งมีเเนวโน้มว่าจะเข้าสู่ภาวะของการเผชิญหน้ามากยิ่งขึ้นตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2553 เเละความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ภาวะการลงทุนเเละการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ความล่าช้าในการเบิกจ่าย เเละปัญหาความโปร่งใส ยังเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อตลาดทุนอีกด้วย
ส่วนสถานการณ์การลงทุนตราสารหนี้ไตรมาส 1 ของปี นี้ คาดการณ์ว่า Yield Curve จะมีการเคลื่อนไหวที่กว้างขึ้นกว่าไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้เเก่ เม็ดเงินจากกองทุนเกาหลีใต้ที่ไหลกลับเข้ามาลงทุนในตราสาหนี้่ภายในประเทศ ซึ่งสภาพคล่องส่วนเกินในระบบยังมีคงมีเหลืออยู่เพียงพอกับความต้องการกู้ยืมเงินของภาครัฐเเละเอกชน ทั้งนี้ซัพพลายใหม่มีแนวโน้มลดลงจากประมาณการเดิม เนื่องจากการจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าเป้าเเละการเบิกจ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจได้ช้ากว่าเป้า พร้อมทั้งกรณีมาตาพุด ที่อาจทำให้ซัพพลาย ของตราสารหนี้ภาคเอกชยลดลง
ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยอยู่ในทิศทางขาขึ้น ซึ่งเงินเฟ้อทั่วไปมีเเนวโน้มเร่งตัวขึ้น เนื่องจากการที่นักลงทุนคาดว่าเศรษฐกิจไทยเเละสหรัฐอเมริกา น่าจะผ่านจุดต้ำสุดไปแล้วทำให้ผลอตบแทนจากกาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมีเเนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเป็นต้น
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงเเนวโน้มการลงทุนตราสารทุนเเละตราสารหนี้ปี 2553 ว่า KTAM ได้รับประมาณการ การเติบโตของเศรษฐกิจขึ้นเป็น 3.9% จาก 3.5% โดยคาดว่าการเบิกจ่ายภายใต้โครงการไทยเข้มเเข็งที่เร่งตัวขึ้น น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน จะทำให้การส่งออกของไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเเละจับจ่ายใช้สอยสินค้ามากขึ้น เเต่ทว่าเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญปัจจัยลบต่างๆเช่น เศรษฐกิจกลุ่ม 3G ที่ยังคงซบเซา ความเสี่ยงในการยกเลิกนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย พร้อมทั้งค่าเงินบาที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ เป็นต้น
ทั้งนี้เเม้ว่าเงินเฟ้อที่ประกาศจะอยู่ในระดับต่ำ เเต่เราเห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อก็ได้เริ่มก่อตัวขึ้น เเละคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. น่าจะปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในช่วงประมาณกลางปีเพื่อป้องกันปัญหาเงินเฟ้อในระยะยาว ทำให้ดอกเบี้ยในประเทศปีนี้จะอยู่ในช่วงขาขึ้น
สำหรับดัชนีตลาดหุ้นในปี 2553 นี้ KTAM คาดว่า SET จะแกว่างตัวเเละผันผวนในกรอบ 680-800 จุด เทียบเท่า PER ในปี 2553 ที่ระดับ 11-13 เท่า โดยมีปัจจัยบวกจากสภาพคล่องในตลาดเงินที่ยังคงมีอยู่สูง ซึ่งยังมีการคงดอกเบี้ยในระดับต่ำของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับปัจจุบันตลอดทั้งปี 2553 ขณะที่เเนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯเเละเศรษฐกิจไทยอีกด้วย นอกจากยังมีเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านปฎิบัติการไทยเข็มเเข็ง พร้อมทั้งผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งคาดว่าจะมีเเนวโน้มเติบโตขึ้นได้
ขณะที่ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อตลาดทุนได้เเก่ ความเสียงด้านกฏระเบียบภาครัฐ(Regulatory Risk) ซึ่งยังมีความไม่เเน่นอนอันเกิดจากกฏระเบียบภาครัฐ ที่อาจกระทบต่อกลุ่มอุตสหกรรมที่สำคัญต่อประเทศ ทั้งกรณีศาลกปครองกลางมีคำสั่งระงับการก่อสร้าง โครงการในนิคมอุตสหกรรมมาบตาพุด และกรณีการประมูลคลื่น 3G เป็นต้น คาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายใรไตรมาส 1 พร้อมทั้งความเสี่ยงจากการปรับลดเครดิตเรตติ้ง การผิดนัดชำระของตราสารหนี้ภาครัฐ เเละเอกชนในต่างประเทศ เช่นกรณีดูไบเวิลด์ กรีซ เเละกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออก เป็นต้น
นอกจากนี้ความขัดเเย้งทางการเมืองภายในประเทศ ทึ้งพรรคร่วมรัฐบาล และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ซึ่งมีเเนวโน้มว่าจะเข้าสู่ภาวะของการเผชิญหน้ามากยิ่งขึ้นตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2553 เเละความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ภาวะการลงทุนเเละการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ความล่าช้าในการเบิกจ่าย เเละปัญหาความโปร่งใส ยังเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลต่อตลาดทุนอีกด้วย
ส่วนสถานการณ์การลงทุนตราสารหนี้ไตรมาส 1 ของปี นี้ คาดการณ์ว่า Yield Curve จะมีการเคลื่อนไหวที่กว้างขึ้นกว่าไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้เเก่ เม็ดเงินจากกองทุนเกาหลีใต้ที่ไหลกลับเข้ามาลงทุนในตราสาหนี้่ภายในประเทศ ซึ่งสภาพคล่องส่วนเกินในระบบยังมีคงมีเหลืออยู่เพียงพอกับความต้องการกู้ยืมเงินของภาครัฐเเละเอกชน ทั้งนี้ซัพพลายใหม่มีแนวโน้มลดลงจากประมาณการเดิม เนื่องจากการจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าเป้าเเละการเบิกจ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจได้ช้ากว่าเป้า พร้อมทั้งกรณีมาตาพุด ที่อาจทำให้ซัพพลาย ของตราสารหนี้ภาคเอกชยลดลง
ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยอยู่ในทิศทางขาขึ้น ซึ่งเงินเฟ้อทั่วไปมีเเนวโน้มเร่งตัวขึ้น เนื่องจากการที่นักลงทุนคาดว่าเศรษฐกิจไทยเเละสหรัฐอเมริกา น่าจะผ่านจุดต้ำสุดไปแล้วทำให้ผลอตบแทนจากกาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมีเเนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเป็นต้น