นายแบงก์หนุนแบงก์ชาติผ่อนเกณฑ์ลงทุนนอกดูแลค่าเงินบาท "กรณ์" หนุน ชี้ความเชื่อมั่นต่างชาติกลับมา ด้านผู้ส่งออกอ้างมาตรการลดผันผวนแค่จิตวิทยา ชะลอความผันผวนได้ระดับหนึ่ง แนะให้รัฐออกแพคเกจทางด้านสิทธิประโยชน์ภาษี ระบุค่าเงินบาทที่เหมาะสม 31.5 บาทต่อดอลลาร์
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการผ่อนคลายนโยบายในการดูแลเงินทุนไหลออกในระยะสั้นมากขึ้นนั้น เชื่อว่าจะส่งผลให้กลไกในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนที่ไหลเข้าและไหลออกของประเทศไทยมีความสมดุลเพิ่มมากขึ้น โดยการผ่อนคลายนโยบายดูแลเงินทุนไหลเข้าและไหลออกนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานของเศรษฐกิจและธุรกิจเป็นหลัก รวมทั้งจะต้องสามารถช่วยลดแรงกดดันเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทที่อาจจะมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้น และจำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังมากพอสมควรจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะสามารถทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพหรือไม่นั้น คงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในต่างประเทศของธนาคารกสิกรไทยนั้น ธนาคารจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายที่ธนาคารวางไว้ แต่สำหรับลูกค้าของธนาคารในปัจจุบันมีสัดส่วนไปลงทุนในต่างประเทศค่อนข้างสูง ซึ่งธนาคารพร้อมที่จะให้การสนับสนุนลูกค้าที่ต้องการลงทุนในต่างประเทศ ในด้านการบริหารจัดการและดูแลความเสี่ยงของลูกค้า
ด้านนายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) เชื่อว่าจะไม่ทำให้สภาพคล่องภายในประเทศที่มีอยู่ในขณะนี้เป็นจำนวนมากหายไป เนื่องจากแม้เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวดีขึ้นแต่ผลตอบแทนของการลงทุนในภูมิภาคเอเชียน่าจะยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจมากกว่าในแถบยุโรปและสหรัฐฯ ขณะเดียวกันภาพรวมการลงทุนภายในประเทศไทย ยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ จึงเชื่อว่าจะยังคงสามารถดึงดูดเม็ดเงินบางส่วนไม่ให้ไหลออกไปได้
อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะสามารถช่วยเหลือในเรื่องการเคลื่อนไหวของค่าเงินและในอีกมุมหนึ่งก็ถือว่าเป็นผลดีต่อนักลงทุน ที่สามารถขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกยังคงมีความเปราะบางและมีความผันผวนมากพอสมควร แม้จะมีมาตรการออกมาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่มีความสำคัญ คือ ภาคธุรกิจต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับความผันผวน ขณะเดียวกันต้องพัฒนาศักยภาพตนเองอีกด้วย
"แม้ ธปท.จะมีการผ่อนเกณฑ์ดังกล่าว แต่ธนาคารยังคงยึดหลักการทำกำไรจากการให้บริการลูกค้า ไม่ใช่จากการไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งไม่ถือเป็นเป้าหมายของธนาคาร แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารจะสนับสนุนลูกค้าที่ต้องการไปลงทุนในต่างประเทศ พร้อมทั้งให้คำแนะนำทางด้านการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม" นายบุญทักษ์กล่าว
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า เห็นด้วยที่ ธปท.ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศ เชื่อว่าจะไม่กระทบภาพรวมของเศรษฐกิจและช่วยสร้างความเชื่อมั่นของต่างชาติกลับมา
นักค้าเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ โดยเช้าวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 33.11-33.16 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 33.12-33.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อ่อนค่าสุดที่ระดับ 33.16 -33.17 บาทต่อดอลลาร์ และปิดตลาดในช่วงเย็นที่ระดับ 33.13-33.15 บาทต่อดอลลาร์ โดยแนวโน้มวันนี้คาดว่าค่าเงินบาทจะแกว่งตัวในกรอบแคบๆ ที่ 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์
ส.อ.ท.มาตรการธปท.แค่จิตวิทยา
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า มาตรการที่ออกมามีผลในแง่ของจิตวิทยามากกว่าเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังไม่ได้ฟื้นตัวมากนักทำให้การออกไปลงทุนยังต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่ายนักอาจจะมีเหลือเพียงประเทศไม่กี่แห่งที่ยังมีโอกาสเช่น จีน และเวียดนาม แต่ก็ยังมีอุปสรรคต่างๆ ที่ต้องระวังความเสี่ยงเช่นกัน
“เป็นการชะลอความต้องการเงินบาทลงเพราะขณะนี้เงินสกุลดอลาร์สหรัฐเข้ามาในภูมิภาคมากรวมถึงประเทศไทย เพราะเศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้ฟื้นตัวมากตามที่หลายฝ่ายคิดไว้ ขณะเดียวกันยังมีแนวโน้มเงินยูโรที่จะเข้ามาอีกเพราะมีการวิตกว่าอาจเกิดฟองสบู่ก็จะมีผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่า”นายธนิตกล่าว
ในแง่ของผู้ส่งออกภาวะค่าเงินบาทที่เหมาะสมคือต้องสะท้อนกับภูมิภาคแต่ที่ผ่านมาพบว่าค่อนข้างแข็งกว่าแต่ทางธปท.ระบุว่าไม่ได้แข็งค่ากว่าเพราะธปท.ใช้แนวคิดการนำสกุลเงินทั้งหมดมาคิดเฉลี่ย(Neer) ขณะที่เอกชนต้องการเทียบค่าเงินบาทกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ(Reer)ที่ขณะนี้ ควรจะอยู่ที่ระดับ 33.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท.กล่าวว่า มาตรการของธปท.คงจะช่วยลดความผันผวนของค่าเงินบาทได้ระดับหนึ่งเพราะจะมีการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้สะดวกกว่าอดีตแต่จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดคงจะต้องขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนจะนำเงินออกไปลงทุนยังต่างประเทศมากน้อยเพียงไรเป็นสำคัญหากเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศไม่มากขึ้นก็อาจไม่ทำให้นโยบายดังกล่าวมีประสิทธิภาพได้เต็มที่นัก
หากมองระยะยาวในการส่งเสริมให้ธุรกิจไทยนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศอย่างเสรีรัฐบาลควรจะออกแพคเกจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้ลดหย่อนภาษีรายได้จากการลงทุนกลับเข้ามาในประเทศ สิทธิประโยชน์ทางด้านการส่งออกแรงงาน ฯลฯ เพื่อเป็นการกระตุ้นการลงทุนในทุกส่วนอย่างแท้จริงไม่ใช่เฉพาะรายใหญ่เท่านั้นเนื่องจากรายใหญ่จริงได้มีการออกไปลงทุนต่างประเทศบ้างแล้วการมีมาตรการดังกล่าวเพียงแต่จะทำให้ธุรกิจคล่องตัวขึ้น
“ขณะนี้กลุ่มที่ออกไปลงทุนจะเป็นพวกกองทุนต่างๆ แต่กลุ่มที่จะไปลงทุนในภาคธุรกิจหรือReal Sector )ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอีค่อนข้างมีความเสี่ยงควรจะมีมาตรการสิทธิประโยชน์โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอน่าจะออกเป็นแพคเกจพิเศษในเรื่องนี้ด้วย”นายสันติกล่าว
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการผ่อนคลายนโยบายในการดูแลเงินทุนไหลออกในระยะสั้นมากขึ้นนั้น เชื่อว่าจะส่งผลให้กลไกในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนที่ไหลเข้าและไหลออกของประเทศไทยมีความสมดุลเพิ่มมากขึ้น โดยการผ่อนคลายนโยบายดูแลเงินทุนไหลเข้าและไหลออกนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานของเศรษฐกิจและธุรกิจเป็นหลัก รวมทั้งจะต้องสามารถช่วยลดแรงกดดันเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทที่อาจจะมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้น และจำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังมากพอสมควรจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะสามารถทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพหรือไม่นั้น คงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในต่างประเทศของธนาคารกสิกรไทยนั้น ธนาคารจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายที่ธนาคารวางไว้ แต่สำหรับลูกค้าของธนาคารในปัจจุบันมีสัดส่วนไปลงทุนในต่างประเทศค่อนข้างสูง ซึ่งธนาคารพร้อมที่จะให้การสนับสนุนลูกค้าที่ต้องการลงทุนในต่างประเทศ ในด้านการบริหารจัดการและดูแลความเสี่ยงของลูกค้า
ด้านนายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) เชื่อว่าจะไม่ทำให้สภาพคล่องภายในประเทศที่มีอยู่ในขณะนี้เป็นจำนวนมากหายไป เนื่องจากแม้เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวดีขึ้นแต่ผลตอบแทนของการลงทุนในภูมิภาคเอเชียน่าจะยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจมากกว่าในแถบยุโรปและสหรัฐฯ ขณะเดียวกันภาพรวมการลงทุนภายในประเทศไทย ยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจ จึงเชื่อว่าจะยังคงสามารถดึงดูดเม็ดเงินบางส่วนไม่ให้ไหลออกไปได้
อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะสามารถช่วยเหลือในเรื่องการเคลื่อนไหวของค่าเงินและในอีกมุมหนึ่งก็ถือว่าเป็นผลดีต่อนักลงทุน ที่สามารถขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกยังคงมีความเปราะบางและมีความผันผวนมากพอสมควร แม้จะมีมาตรการออกมาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่มีความสำคัญ คือ ภาคธุรกิจต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับความผันผวน ขณะเดียวกันต้องพัฒนาศักยภาพตนเองอีกด้วย
"แม้ ธปท.จะมีการผ่อนเกณฑ์ดังกล่าว แต่ธนาคารยังคงยึดหลักการทำกำไรจากการให้บริการลูกค้า ไม่ใช่จากการไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งไม่ถือเป็นเป้าหมายของธนาคาร แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารจะสนับสนุนลูกค้าที่ต้องการไปลงทุนในต่างประเทศ พร้อมทั้งให้คำแนะนำทางด้านการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม" นายบุญทักษ์กล่าว
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า เห็นด้วยที่ ธปท.ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศ เชื่อว่าจะไม่กระทบภาพรวมของเศรษฐกิจและช่วยสร้างความเชื่อมั่นของต่างชาติกลับมา
นักค้าเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ค่าเงินบาทยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ โดยเช้าวานนี้เปิดตลาดที่ระดับ 33.11-33.16 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 33.12-33.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อ่อนค่าสุดที่ระดับ 33.16 -33.17 บาทต่อดอลลาร์ และปิดตลาดในช่วงเย็นที่ระดับ 33.13-33.15 บาทต่อดอลลาร์ โดยแนวโน้มวันนี้คาดว่าค่าเงินบาทจะแกว่งตัวในกรอบแคบๆ ที่ 33.10-33.20 บาทต่อดอลลาร์
ส.อ.ท.มาตรการธปท.แค่จิตวิทยา
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า มาตรการที่ออกมามีผลในแง่ของจิตวิทยามากกว่าเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังไม่ได้ฟื้นตัวมากนักทำให้การออกไปลงทุนยังต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่ายนักอาจจะมีเหลือเพียงประเทศไม่กี่แห่งที่ยังมีโอกาสเช่น จีน และเวียดนาม แต่ก็ยังมีอุปสรรคต่างๆ ที่ต้องระวังความเสี่ยงเช่นกัน
“เป็นการชะลอความต้องการเงินบาทลงเพราะขณะนี้เงินสกุลดอลาร์สหรัฐเข้ามาในภูมิภาคมากรวมถึงประเทศไทย เพราะเศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้ฟื้นตัวมากตามที่หลายฝ่ายคิดไว้ ขณะเดียวกันยังมีแนวโน้มเงินยูโรที่จะเข้ามาอีกเพราะมีการวิตกว่าอาจเกิดฟองสบู่ก็จะมีผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่า”นายธนิตกล่าว
ในแง่ของผู้ส่งออกภาวะค่าเงินบาทที่เหมาะสมคือต้องสะท้อนกับภูมิภาคแต่ที่ผ่านมาพบว่าค่อนข้างแข็งกว่าแต่ทางธปท.ระบุว่าไม่ได้แข็งค่ากว่าเพราะธปท.ใช้แนวคิดการนำสกุลเงินทั้งหมดมาคิดเฉลี่ย(Neer) ขณะที่เอกชนต้องการเทียบค่าเงินบาทกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ(Reer)ที่ขณะนี้ ควรจะอยู่ที่ระดับ 33.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท.กล่าวว่า มาตรการของธปท.คงจะช่วยลดความผันผวนของค่าเงินบาทได้ระดับหนึ่งเพราะจะมีการนำเงินไปลงทุนต่างประเทศได้สะดวกกว่าอดีตแต่จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดคงจะต้องขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนจะนำเงินออกไปลงทุนยังต่างประเทศมากน้อยเพียงไรเป็นสำคัญหากเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศไม่มากขึ้นก็อาจไม่ทำให้นโยบายดังกล่าวมีประสิทธิภาพได้เต็มที่นัก
หากมองระยะยาวในการส่งเสริมให้ธุรกิจไทยนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศอย่างเสรีรัฐบาลควรจะออกแพคเกจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้ลดหย่อนภาษีรายได้จากการลงทุนกลับเข้ามาในประเทศ สิทธิประโยชน์ทางด้านการส่งออกแรงงาน ฯลฯ เพื่อเป็นการกระตุ้นการลงทุนในทุกส่วนอย่างแท้จริงไม่ใช่เฉพาะรายใหญ่เท่านั้นเนื่องจากรายใหญ่จริงได้มีการออกไปลงทุนต่างประเทศบ้างแล้วการมีมาตรการดังกล่าวเพียงแต่จะทำให้ธุรกิจคล่องตัวขึ้น
“ขณะนี้กลุ่มที่ออกไปลงทุนจะเป็นพวกกองทุนต่างๆ แต่กลุ่มที่จะไปลงทุนในภาคธุรกิจหรือReal Sector )ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมหรือเอสเอ็มอีค่อนข้างมีความเสี่ยงควรจะมีมาตรการสิทธิประโยชน์โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอน่าจะออกเป็นแพคเกจพิเศษในเรื่องนี้ด้วย”นายสันติกล่าว