แบงก์ทหารไทยบุกดีเอสไอ ฟ้อง "เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง" 2 พันล้าน ฐานฉ้อฉล ปลอมแปลงเอกสารกู้เงินจนแบงก์เสียหาย
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้พนักงานเป็นตัวแทนไปพบเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อแจ้งความดำเนินคีดกับบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง กรณีปลอมแปลงเอกสารขอสินเชื่อ ทำให้ธนาคารเกิดความเสียหายประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารจะไปที่ดีเอสไอในวันนี้ (27ม.ค.)
อย่างไรก็ตาม หนี้เสียที่เกิดขึ้น ธนาคารได้กันสำรองหนี้จัดชั้นเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของการติดตามหนี้จากบริษัทเพรซิเดนท์ ฯ ต้องดำเนินการต่อไป จนกว่าคดีจะถึงที่สุด นายบุญทักษ์กล่าวว่า การปล่อยกู้ให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารธนาคารทหารไทย เรื่องนี้ธนาคารมีการตั้งพนักงานสอบสวนพนักงานที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นผลของการสอบสวนไม่พบพนักงานกระทำทุจริต แต่ยอมรับว่าไม่รัดกุมในการตรวจสอบเอกสาร ส่วนผู้บริหารที่เกี่ยวข้องได้ออกจากธนาคารไปแล้ว
ข้อมูลจากดีเอสไอระบุว่า ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง ได้สร้างความเสียหายแก่ธนาคารพาณิชย์รวม 9 แห่ง มูลค่าความเสียหาย รวมเงินต้นและดอกเบี้ย 3.3 หมื่นล้านบาท นอกจากธนาคารทหารไทยแล้ว ก่อนหน้านี้ ธนาคารไทยธนาคาร ได้เข้าร้องเรียนต่อดีเอสไอแล้วเช่นกัน
ขณะที่นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ยอดความเสียหายที่ ธปท.ดูแล เฉพาะเงินต้น 6,234 ล้านบาท ทุกธนาคารได้ตัดเป็นหนี้สูญและมีการตั้งสำรองเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2550
"หากดีเอสไอพบว่าผู้บริหารแบงก์ไม่รอบคอบ ดีเอสไอสามารถดำเนินการได้เลยเพราะอำนาจดีเอสไอมีมากกว่า ธปท.เวลาฟ้องนั้นต้องใช้กฎหมายหลายฉบับ" นายสรสิทธิ์ กล่าว
สำหรับธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อให้แก่บริษัทเพรซิเดนท์ฯ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย 2,000 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ 1,400 ล้านบาท ธนาคารทหารไทย 2,200 ล้านบาท ธนาคารไทยธนาคาร (ธนาคารซีไอเอ็มบี) 1,700 ล้านบาท เอชเอสบีซี 1,000 ล้านบาท ธนาคารยูโอบี 580 ล้านบาท ธนาคารอิสลามแห่งเทศไทย 200 ล้านบาท ธนาคารกสิกรไทย 140 ล้านบาท และธนาคารสินเอเซีย 29 ล้านบาท
บริษัทเพรซิเดนท์ฯ ทำธุรกิจซื้อขายสินค้าการเกษตร อยู่ระหว่างถูกฟ้องล้มละลาย จากการมีพฤติกรรมฉ้อโกง เจตนาเบี้ยวหนี้ โดยนำสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรมาขอเปิดวงเงินกู้ และทำเอกสารปลอม
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้พนักงานเป็นตัวแทนไปพบเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อแจ้งความดำเนินคีดกับบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง กรณีปลอมแปลงเอกสารขอสินเชื่อ ทำให้ธนาคารเกิดความเสียหายประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารจะไปที่ดีเอสไอในวันนี้ (27ม.ค.)
อย่างไรก็ตาม หนี้เสียที่เกิดขึ้น ธนาคารได้กันสำรองหนี้จัดชั้นเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของการติดตามหนี้จากบริษัทเพรซิเดนท์ ฯ ต้องดำเนินการต่อไป จนกว่าคดีจะถึงที่สุด นายบุญทักษ์กล่าวว่า การปล่อยกู้ให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนเข้ามารับตำแหน่งผู้บริหารธนาคารทหารไทย เรื่องนี้ธนาคารมีการตั้งพนักงานสอบสวนพนักงานที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นผลของการสอบสวนไม่พบพนักงานกระทำทุจริต แต่ยอมรับว่าไม่รัดกุมในการตรวจสอบเอกสาร ส่วนผู้บริหารที่เกี่ยวข้องได้ออกจากธนาคารไปแล้ว
ข้อมูลจากดีเอสไอระบุว่า ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง ได้สร้างความเสียหายแก่ธนาคารพาณิชย์รวม 9 แห่ง มูลค่าความเสียหาย รวมเงินต้นและดอกเบี้ย 3.3 หมื่นล้านบาท นอกจากธนาคารทหารไทยแล้ว ก่อนหน้านี้ ธนาคารไทยธนาคาร ได้เข้าร้องเรียนต่อดีเอสไอแล้วเช่นกัน
ขณะที่นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ยอดความเสียหายที่ ธปท.ดูแล เฉพาะเงินต้น 6,234 ล้านบาท ทุกธนาคารได้ตัดเป็นหนี้สูญและมีการตั้งสำรองเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2550
"หากดีเอสไอพบว่าผู้บริหารแบงก์ไม่รอบคอบ ดีเอสไอสามารถดำเนินการได้เลยเพราะอำนาจดีเอสไอมีมากกว่า ธปท.เวลาฟ้องนั้นต้องใช้กฎหมายหลายฉบับ" นายสรสิทธิ์ กล่าว
สำหรับธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อให้แก่บริษัทเพรซิเดนท์ฯ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย 2,000 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ 1,400 ล้านบาท ธนาคารทหารไทย 2,200 ล้านบาท ธนาคารไทยธนาคาร (ธนาคารซีไอเอ็มบี) 1,700 ล้านบาท เอชเอสบีซี 1,000 ล้านบาท ธนาคารยูโอบี 580 ล้านบาท ธนาคารอิสลามแห่งเทศไทย 200 ล้านบาท ธนาคารกสิกรไทย 140 ล้านบาท และธนาคารสินเอเซีย 29 ล้านบาท
บริษัทเพรซิเดนท์ฯ ทำธุรกิจซื้อขายสินค้าการเกษตร อยู่ระหว่างถูกฟ้องล้มละลาย จากการมีพฤติกรรมฉ้อโกง เจตนาเบี้ยวหนี้ โดยนำสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรมาขอเปิดวงเงินกู้ และทำเอกสารปลอม