ASTVผู้จัดการรายวัน - คนมีเงินเฮ! แบงก์ชาติออกพันธบัตรออมทรัพย์ 5 หมื่นล้าน อายุ 4 ปี ให้ดอกเบี้ย 3.5% อายุ 7 ปี ให้ดอกเบี้ย 3-6% ยกเว้นภาษี ขายผ่าน 10 แบงก์ 3-7 ก.ย.นี้ ถ้าจองล้นเพิ่มยอดไม่อั้น
เมื่อวานนี้ (20 ส.ค.) ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ลงนามบันทึกความตกลงว่าด้วยการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ปี พ.ศ.2552 ครั้งที่ 1 อายุ 4 ปี และอายุ 7 ปี วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท กับธนาคารพาณิชย์จำนวน 10 แห่ง ซึ่งมีเป็นตัวแทนจำหน่ายประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กสิกรไทย ซีไอเอ็มบี ไทย ทหารไทย ไทยพาณิชย์ ธนชาต นครหลวงไทย และธนาคารยูโอบี
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า การขายพันธบัตรออมทรัพย์ในครั้งนี้ เสนอทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้ออมที่เป็นรายย่อยให้ได้ผลตอบแทนที่ดีในในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง ซึ่งจะได้รับรายได้ประจำในรูปผลตอบแทนทุกๆ 6 เดือน และหลังจากลงทุนได้ 6 เดือนสามารถนำไปซื้อขายในตลาดรองได้ด้วย เป็นการเพื่อรองรับพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติที่ออกไปเมื่อปี 45 ที่มีอายุ 5 ปี และ 7 ปีที่จะครบกำหนดในวันที่ 2 ก.ย.นี้ จำนวน 5.4 หมื่นล้านบาท และเป็นเครื่องมือหนึ่งในการดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกจาก
โดยในปัจจุบันระบบธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่อง 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นสภาพคล่องส่วนเกิน 1.7 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกันในแต่ละวันมีธนาคารพาณิชย์เข้ามาฝากเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ประมาณ 6-7 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนนี้ธปท.ต้องทำหน้าที่ดูดซับสภาพคล่องเช่นกันทำให้ ธปท.ลดภาระเข้าไปดูดซับสภาพคล่องในทุกวันได้บางส่วน
“เราเปิดขายให้แก่ประชาชนทั่วไปไม่จำกัด พร้อมทั้งกระจายไปยังสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จึงไม่ต้องห่วงว่าจะเกิดปัญหาแบงก์ล็อกไว้ให้ลูกค้าพิเศษ” นางสุชาดากล่าว
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า การกำหนดวงเงินในการออกพันธบัตรออมทรัพย์จำนวน 5 หมื่นล้านบาท ครั้งนี้ ธปท.ได้มีการสำรวจความต้องการระดับหนึ่งแล้ว และการออกพันธบัตรแต่ละครั้งธปท.จะประสานงานกับกระทรวงการคลัง เพื่อลดปัญหาการออกพันธบัตรในช่วงเวลาซ้ำซ้อนกัน แม้สุดท้ายแล้วหากมีผู้ออมเข้ามาซื้อพันธบัตรมากกว่าวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท ธปท.ก็พร้อมที่จะรองรับความต้องการทั้งหมด
"หากการออกพันธบัตรครั้งนี้จะเป็นแรงกดดันให้แบงก์พาณิชย์ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากและปรับสภาพคล่อง ส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีเพิ่มขึ้น หรือดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ธปท.ก็จะยินดี”
พันธบัตรออมทรัพย์ของ ธปท.ดังกล่าวจะคิดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 4 ปี เป็นอัตราคงที่ 3.50%ต่อปี ส่วนอายุ 7 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได โดยปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3%ต่อปี ปีที่3-4 อยู่ที่ 4% ปีที่5-6 อยู่ที่ 5% และเมื่อขึ้นปีที่ 7 คิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 6%ต่อปี ดอกเบี้ยดังกล่าว ธปท.ได้มีการจ่ายชดเชยภาษี 15%เรียบร้อยแล้ว
หากผู้สนใจต้องซื้อวงเงินขั้นต่ำ 50,000 บาทต่อราย และซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ 10,000 บาท และสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและใบคำเสนอขอซื้อพันธบัตรผ่านสาขาตัวแทนธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวได้ และซื้อพันธบัตรได้ระหว่างวันที่ 3-4 และ 7 ก.ย. นี้
ทั้งนี้ ธปท.ได้สำรวจผลตอบแทนในตลาดที่ได้รับจากพันธบัตรอายุ 4 ปี และ7 ปี อยู่ที่ 2.88%ต่อปี และระดับ 3.5%ต่อปี
**แบงก์ยันไม่มีล็อกออเดอร์**
นางรัชนี นพเมือง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการลูกค้าบุคคลนครหลวง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวว่า เรื่องการล็อกออร์เดอร์ให้กับลูกค้ารายใหญ่ของธนาคารอย่างที่หลายฝ่ายกังวลนั้น ขอยืนยันว่าไม่มีอย่างแน่นอน เพราะธนาคารจะเปิดให้ลูกค้ามาจองซื้อได้ตั้งแต่เปิดทำการและเป็นการจำหน่ายตามบัตรคิวเพื่อความโปร่งใสและยุติธรรมต่อลูกค้า ส่วนเรื่องของวงเงินการจำหน่ายที่ ธปท.จะกำหนดให้แต่ละธนาคารนั้น ขณะนี้ยังไม่หารือกันแต่อย่างใด เพราะในเบื้องต้นทาง ธปท.ให้รายละเอียดว่าให้แต่ละธนาคารเปิดให้ลูกค้าจองกันตามปกติแล้วรายงานยอดไปยัง ธปท.
นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) กล่าวว่า ธปท.ได้มีการออกพันธบัตรออมทรัพย์โดยจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 6% ต่อปีนั้น เชื่อว่าจะยังไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของระบบมากนัก เพราะหากเทียบกับวงเงินพันธบัตรที่ธปท.ออกจำหน่ายจำนวน 5 หมื่นล้านบาท กับสภาพคล่องในระบบที่มีอยู่มากกว่า 1.3 ล้านล้านบาท แต่ยอมรับว่าการที่รัฐบาล กระทรวงการคลัง และธปท. ออกจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อดูดสภาพคล่องออกจากระบบนั้น อาจส่งผลกระทบในเรื่องของลูกค้าโยกย้ายเงินฝากจากธนาคารไปลงทุนในพันธบัตรบ้าง แต่การออกพันธบัตรออมทรัพย์ในครั้งนี้เป็นเรื่องดีที่ทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น.
เมื่อวานนี้ (20 ส.ค.) ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ลงนามบันทึกความตกลงว่าด้วยการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ปี พ.ศ.2552 ครั้งที่ 1 อายุ 4 ปี และอายุ 7 ปี วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท กับธนาคารพาณิชย์จำนวน 10 แห่ง ซึ่งมีเป็นตัวแทนจำหน่ายประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กสิกรไทย ซีไอเอ็มบี ไทย ทหารไทย ไทยพาณิชย์ ธนชาต นครหลวงไทย และธนาคารยูโอบี
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า การขายพันธบัตรออมทรัพย์ในครั้งนี้ เสนอทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้ออมที่เป็นรายย่อยให้ได้ผลตอบแทนที่ดีในในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคง ซึ่งจะได้รับรายได้ประจำในรูปผลตอบแทนทุกๆ 6 เดือน และหลังจากลงทุนได้ 6 เดือนสามารถนำไปซื้อขายในตลาดรองได้ด้วย เป็นการเพื่อรองรับพันธบัตรออมทรัพย์ช่วยชาติที่ออกไปเมื่อปี 45 ที่มีอายุ 5 ปี และ 7 ปีที่จะครบกำหนดในวันที่ 2 ก.ย.นี้ จำนวน 5.4 หมื่นล้านบาท และเป็นเครื่องมือหนึ่งในการดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกจาก
โดยในปัจจุบันระบบธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่อง 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นสภาพคล่องส่วนเกิน 1.7 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกันในแต่ละวันมีธนาคารพาณิชย์เข้ามาฝากเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ประมาณ 6-7 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนนี้ธปท.ต้องทำหน้าที่ดูดซับสภาพคล่องเช่นกันทำให้ ธปท.ลดภาระเข้าไปดูดซับสภาพคล่องในทุกวันได้บางส่วน
“เราเปิดขายให้แก่ประชาชนทั่วไปไม่จำกัด พร้อมทั้งกระจายไปยังสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จึงไม่ต้องห่วงว่าจะเกิดปัญหาแบงก์ล็อกไว้ให้ลูกค้าพิเศษ” นางสุชาดากล่าว
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า การกำหนดวงเงินในการออกพันธบัตรออมทรัพย์จำนวน 5 หมื่นล้านบาท ครั้งนี้ ธปท.ได้มีการสำรวจความต้องการระดับหนึ่งแล้ว และการออกพันธบัตรแต่ละครั้งธปท.จะประสานงานกับกระทรวงการคลัง เพื่อลดปัญหาการออกพันธบัตรในช่วงเวลาซ้ำซ้อนกัน แม้สุดท้ายแล้วหากมีผู้ออมเข้ามาซื้อพันธบัตรมากกว่าวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท ธปท.ก็พร้อมที่จะรองรับความต้องการทั้งหมด
"หากการออกพันธบัตรครั้งนี้จะเป็นแรงกดดันให้แบงก์พาณิชย์ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากและปรับสภาพคล่อง ส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีเพิ่มขึ้น หรือดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ธปท.ก็จะยินดี”
พันธบัตรออมทรัพย์ของ ธปท.ดังกล่าวจะคิดอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 4 ปี เป็นอัตราคงที่ 3.50%ต่อปี ส่วนอายุ 7 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได โดยปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ย 3%ต่อปี ปีที่3-4 อยู่ที่ 4% ปีที่5-6 อยู่ที่ 5% และเมื่อขึ้นปีที่ 7 คิดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 6%ต่อปี ดอกเบี้ยดังกล่าว ธปท.ได้มีการจ่ายชดเชยภาษี 15%เรียบร้อยแล้ว
หากผู้สนใจต้องซื้อวงเงินขั้นต่ำ 50,000 บาทต่อราย และซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ 10,000 บาท และสามารถขอรับหนังสือชี้ชวนและใบคำเสนอขอซื้อพันธบัตรผ่านสาขาตัวแทนธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวได้ และซื้อพันธบัตรได้ระหว่างวันที่ 3-4 และ 7 ก.ย. นี้
ทั้งนี้ ธปท.ได้สำรวจผลตอบแทนในตลาดที่ได้รับจากพันธบัตรอายุ 4 ปี และ7 ปี อยู่ที่ 2.88%ต่อปี และระดับ 3.5%ต่อปี
**แบงก์ยันไม่มีล็อกออเดอร์**
นางรัชนี นพเมือง ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการลูกค้าบุคคลนครหลวง ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) กล่าวว่า เรื่องการล็อกออร์เดอร์ให้กับลูกค้ารายใหญ่ของธนาคารอย่างที่หลายฝ่ายกังวลนั้น ขอยืนยันว่าไม่มีอย่างแน่นอน เพราะธนาคารจะเปิดให้ลูกค้ามาจองซื้อได้ตั้งแต่เปิดทำการและเป็นการจำหน่ายตามบัตรคิวเพื่อความโปร่งใสและยุติธรรมต่อลูกค้า ส่วนเรื่องของวงเงินการจำหน่ายที่ ธปท.จะกำหนดให้แต่ละธนาคารนั้น ขณะนี้ยังไม่หารือกันแต่อย่างใด เพราะในเบื้องต้นทาง ธปท.ให้รายละเอียดว่าให้แต่ละธนาคารเปิดให้ลูกค้าจองกันตามปกติแล้วรายงานยอดไปยัง ธปท.
นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) กล่าวว่า ธปท.ได้มีการออกพันธบัตรออมทรัพย์โดยจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงสุด 6% ต่อปีนั้น เชื่อว่าจะยังไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของระบบมากนัก เพราะหากเทียบกับวงเงินพันธบัตรที่ธปท.ออกจำหน่ายจำนวน 5 หมื่นล้านบาท กับสภาพคล่องในระบบที่มีอยู่มากกว่า 1.3 ล้านล้านบาท แต่ยอมรับว่าการที่รัฐบาล กระทรวงการคลัง และธปท. ออกจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อดูดสภาพคล่องออกจากระบบนั้น อาจส่งผลกระทบในเรื่องของลูกค้าโยกย้ายเงินฝากจากธนาคารไปลงทุนในพันธบัตรบ้าง แต่การออกพันธบัตรออมทรัพย์ในครั้งนี้เป็นเรื่องดีที่ทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น.