ปตท.สผ.เตรียมยื่นประมูลแหล่งปิโตรเลียมที่อินโดนีเซียเพิ่ม 2-3 แปลง หลังผลศึกษาพบว่ามีศักยภาพสูงโดยจะร่วมทุนกับพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมทะเลน้ำลึก คาดว่าได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ ประกาศทุ่มเงินลงทุนที่ออสเตรเลีย 2 หมื่นล้านบาทใน 2 ปีนี้ ยืนยันแหล่งมอนทารายังให้ผลตอบแทนที่ดีแม้จะเกิดไฟไหม้เมื่อปลายปีที่แล้ว
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือปตท.สผ. เปิดเผยว่า บริษัทฯเตรียมยื่นประมูลสัมปทานปิโตรเลียมทะเลน้ำลึกที่ประเทศอินโดนีเซียจำนวน 2-3 แปลง อาทิ แปลงภาคตะวันตกของเกาะสุราเวสี หลังจากผลการศึกษาพบว่ามีศักยภาพปิโตรเลียมสูงและเป็นประเทศเป้าหมายที่ปตท.สผ.ให้ความสำคัญในการขยายการลงทุนในต่างประเทศ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในกลางปี 2553
ก่อนหน้านี้บริษัทฯได้เข้าไปทำการศึกษาแปลงสัมปทานปิโตรเลียมให้อินโดนีเซีย โดยได้รับสิทธิที่จะยื่นประมูลสัมปทานแปลงปิโตรเลียมด้วย ทั้งนี้พบว่าเป็นแปลงปิโตรเลียมน้ำลึกมีศักยภาพสูง โดยบริษัทฯจะร่วมทุนกับพันธมิตรมที่มีความเชี่ยวชาญในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในทะเลน้ำลึก ก่อนหน้านี้บริษัทฯได้เข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย คือ โครงการอินโดนีเซีย เบงการา-1 สัดส่วนการถือหุ้น 40% โครงการอินโดนีเซีย เซไม 2 สัดส่วนการถือหุ้น 33.33% โดยทั้งสองโครงการอยู่ระหว่างการสำรวจปิโตรเลียม
ส่วนความคืบหน้าการลงนามสัญญาซื้อขายปิโตรเลียมโครงการM9 ที่สหภาพพม่าว่า ขณะนี้รัฐบาลพม่าอยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนเพื่ออนุมัติการลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซฯกับปตท. หลังจากคณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติอนุมัติการลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซฯดังกล่าวแล้ว เมื่อลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซฯแหล่งM9 แล้วจะมีผลบังคับย้อนหลังเป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ทำให้ปตท.สผ.มีปริมาณสำรองปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นจาก 940 ล้านบาร์เรล เป็น 1,080-1,090 ล้านบาร์เรล
ขณะนี้มีนักลงทุนต่างชาติหลายรายสนใจที่จะเข้ามาร่วมถือหุ้นในแหล่งM 9 ที่ปตท.สผ.ถือหุ้น 100% โดยบริษัทฯจะพิจารณาหลังจากมีการลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซฯเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนหน้านี้โอมานสนใจที่จะเข้ามาถือหุ้นในแหล่งM9 สัดส่วน 5% แต่ล่าสุดได้ยกเลิกไปแล้ว เนื่องจากเกิดความล่าช้าในการอนุมัติ
นายอนนต์ กล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาแหล่งมอนทาราหลังเกิดไฟไหม้แท่นหลุมผลิตเมื่อช่วงปลายปี 2552 ว่า ขณะนี้บริษัทฯยังไม่สามารถส่งวิศวกรเข้าไปสำรวจความเสียหายจากเหตุไฟไหม้แท่นหลุมผลิตที่แหล่งมอนทาราได้ เนื่องจากเกิดพายุไซโคลน แต่เบื้องต้นประเมินความเสียหายน่าจะจำกัดอยู่บนตัวแท่นฯเท่านั้น ดังนั้นบริษัทฯอาจจะสร้างตัวแท่นบนใหม่แทนการซ่อมแซม ทำให้แหล่งมอนทาราผลิตน้ำมันเชิงพาณิชย์ได้ในกลางปี 2554 ล่าช้ากว่ากำหนดการณ์เดิมที่คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ปลายปีที่แล้ว และปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตได้เท่าเดิมที่ 3.5 หมื่นบาร์เรล/วัน
สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นทางบริษัทฯได้ทำประกันเอาไว้วงเงิน 270 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทฯเคลมประกันได้ประมาณ 266 ล้านเหรียญสหรัฐ ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุน้ำมันรั่วและไฟไหม้ได้ ทั้งนี้ บริษัทฯได้มีการตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายในเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่มอนทาราไปแล้ว 5พันล้านบาทในไตรมาส 3/2552 และบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเพลิงไหม้อีก5พันล้านบาทในงวดไตรมาส 4/2552 ขณะเดียวกันบริษัทประกันได้จ่ายค่าประกันมาแล้ว 40 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปลายปีนี้ บริษัทจึงบันทึกบัญชีเป็นรายได้แล้ว
ทั้งนี้ ปตท.สผ.ได้ตั้งงบลงทุนในออสเตรเลียประมาณ 2 หมื่นล้านบาทใน 2 ปีข้างหน้านี้ เพื่อใช้ลงทุนฟื้นโครงการพัฒนาแหล่งทอนทารา การซื้อหรือร่วมทุนโครงการปิโตรเลียมอื่นๆในพื้นที่ใกล้เคียง แม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไฟไหม้ แหล่งมอนทาราก็ยังให้ผลตอบแทนที่คุ้มการลงทุนอยู่ ล่าสุดบริษัทได้เข้าไปร่วมทุนในสัมปทานปิโตรเลียมที่ออสเตรเลีย โดยได้ลงนามในสัญญา ซื้อขายสิทธิ กับบริษัท Woodside Energy Limited ในสัดส่วนการถือหุ้น 20% ในแปลงสำรวจ WA-378-P WA-396-P และ WA-397-P
สำหรับแผนการลงทุน 5ปีข้างหน้า (2553- 2557) บริษัทฯจะใช้เงินลงทุนรวม 429,096 ล้านบาท โดยปีนี้จะใช้เงินลงทุน 9.8 หมื่นล้านบาท จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น ล่าสุดน้ำมันดิบอยู่ที่ 80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล โดยบริษัทประเมินราคาน้ำมันดิบปีนี้อยู่ที่ 72 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทฯดีขึ้น
โดยปีนี้บริษัทฯตั้งเป้ายอดขายปิโตรเลียม 253,796 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10% โดยใน 5ปีข้างหน้าบริษัทมองว่ายอดขายเติบโตเฉลี่ยปีละ5.6%
ด้านแหล่งเงินทุนเพื่อใช้สำหรับโครงการในอนาคต บริษัทฯมีการเงินที่แข็งแกร่ง มีอัตราหนี้สินต่อทุน 0.4-0.5 เท่า สามารถก่อนหนี้เพิ่มขึ้นได้ 2 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้อัตราหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 1:1เท่า จากภาวะตลาดการเงินที่ผันผวน ทำให้การกู้เงินดอลลาร์จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่ยังบอกไม่ได้ว่าจะออกหุ้นกู้หรือกู้เงินเท่าไร
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือปตท.สผ. เปิดเผยว่า บริษัทฯเตรียมยื่นประมูลสัมปทานปิโตรเลียมทะเลน้ำลึกที่ประเทศอินโดนีเซียจำนวน 2-3 แปลง อาทิ แปลงภาคตะวันตกของเกาะสุราเวสี หลังจากผลการศึกษาพบว่ามีศักยภาพปิโตรเลียมสูงและเป็นประเทศเป้าหมายที่ปตท.สผ.ให้ความสำคัญในการขยายการลงทุนในต่างประเทศ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในกลางปี 2553
ก่อนหน้านี้บริษัทฯได้เข้าไปทำการศึกษาแปลงสัมปทานปิโตรเลียมให้อินโดนีเซีย โดยได้รับสิทธิที่จะยื่นประมูลสัมปทานแปลงปิโตรเลียมด้วย ทั้งนี้พบว่าเป็นแปลงปิโตรเลียมน้ำลึกมีศักยภาพสูง โดยบริษัทฯจะร่วมทุนกับพันธมิตรมที่มีความเชี่ยวชาญในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในทะเลน้ำลึก ก่อนหน้านี้บริษัทฯได้เข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย คือ โครงการอินโดนีเซีย เบงการา-1 สัดส่วนการถือหุ้น 40% โครงการอินโดนีเซีย เซไม 2 สัดส่วนการถือหุ้น 33.33% โดยทั้งสองโครงการอยู่ระหว่างการสำรวจปิโตรเลียม
ส่วนความคืบหน้าการลงนามสัญญาซื้อขายปิโตรเลียมโครงการM9 ที่สหภาพพม่าว่า ขณะนี้รัฐบาลพม่าอยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนเพื่ออนุมัติการลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซฯกับปตท. หลังจากคณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติอนุมัติการลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซฯดังกล่าวแล้ว เมื่อลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซฯแหล่งM9 แล้วจะมีผลบังคับย้อนหลังเป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ทำให้ปตท.สผ.มีปริมาณสำรองปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นจาก 940 ล้านบาร์เรล เป็น 1,080-1,090 ล้านบาร์เรล
ขณะนี้มีนักลงทุนต่างชาติหลายรายสนใจที่จะเข้ามาร่วมถือหุ้นในแหล่งM 9 ที่ปตท.สผ.ถือหุ้น 100% โดยบริษัทฯจะพิจารณาหลังจากมีการลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซฯเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนหน้านี้โอมานสนใจที่จะเข้ามาถือหุ้นในแหล่งM9 สัดส่วน 5% แต่ล่าสุดได้ยกเลิกไปแล้ว เนื่องจากเกิดความล่าช้าในการอนุมัติ
นายอนนต์ กล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาแหล่งมอนทาราหลังเกิดไฟไหม้แท่นหลุมผลิตเมื่อช่วงปลายปี 2552 ว่า ขณะนี้บริษัทฯยังไม่สามารถส่งวิศวกรเข้าไปสำรวจความเสียหายจากเหตุไฟไหม้แท่นหลุมผลิตที่แหล่งมอนทาราได้ เนื่องจากเกิดพายุไซโคลน แต่เบื้องต้นประเมินความเสียหายน่าจะจำกัดอยู่บนตัวแท่นฯเท่านั้น ดังนั้นบริษัทฯอาจจะสร้างตัวแท่นบนใหม่แทนการซ่อมแซม ทำให้แหล่งมอนทาราผลิตน้ำมันเชิงพาณิชย์ได้ในกลางปี 2554 ล่าช้ากว่ากำหนดการณ์เดิมที่คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ปลายปีที่แล้ว และปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตได้เท่าเดิมที่ 3.5 หมื่นบาร์เรล/วัน
สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นทางบริษัทฯได้ทำประกันเอาไว้วงเงิน 270 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทฯเคลมประกันได้ประมาณ 266 ล้านเหรียญสหรัฐ ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุน้ำมันรั่วและไฟไหม้ได้ ทั้งนี้ บริษัทฯได้มีการตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายในเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่มอนทาราไปแล้ว 5พันล้านบาทในไตรมาส 3/2552 และบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเพลิงไหม้อีก5พันล้านบาทในงวดไตรมาส 4/2552 ขณะเดียวกันบริษัทประกันได้จ่ายค่าประกันมาแล้ว 40 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปลายปีนี้ บริษัทจึงบันทึกบัญชีเป็นรายได้แล้ว
ทั้งนี้ ปตท.สผ.ได้ตั้งงบลงทุนในออสเตรเลียประมาณ 2 หมื่นล้านบาทใน 2 ปีข้างหน้านี้ เพื่อใช้ลงทุนฟื้นโครงการพัฒนาแหล่งทอนทารา การซื้อหรือร่วมทุนโครงการปิโตรเลียมอื่นๆในพื้นที่ใกล้เคียง แม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไฟไหม้ แหล่งมอนทาราก็ยังให้ผลตอบแทนที่คุ้มการลงทุนอยู่ ล่าสุดบริษัทได้เข้าไปร่วมทุนในสัมปทานปิโตรเลียมที่ออสเตรเลีย โดยได้ลงนามในสัญญา ซื้อขายสิทธิ กับบริษัท Woodside Energy Limited ในสัดส่วนการถือหุ้น 20% ในแปลงสำรวจ WA-378-P WA-396-P และ WA-397-P
สำหรับแผนการลงทุน 5ปีข้างหน้า (2553- 2557) บริษัทฯจะใช้เงินลงทุนรวม 429,096 ล้านบาท โดยปีนี้จะใช้เงินลงทุน 9.8 หมื่นล้านบาท จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น ล่าสุดน้ำมันดิบอยู่ที่ 80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล โดยบริษัทประเมินราคาน้ำมันดิบปีนี้อยู่ที่ 72 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทฯดีขึ้น
โดยปีนี้บริษัทฯตั้งเป้ายอดขายปิโตรเลียม 253,796 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10% โดยใน 5ปีข้างหน้าบริษัทมองว่ายอดขายเติบโตเฉลี่ยปีละ5.6%
ด้านแหล่งเงินทุนเพื่อใช้สำหรับโครงการในอนาคต บริษัทฯมีการเงินที่แข็งแกร่ง มีอัตราหนี้สินต่อทุน 0.4-0.5 เท่า สามารถก่อนหนี้เพิ่มขึ้นได้ 2 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้อัตราหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 1:1เท่า จากภาวะตลาดการเงินที่ผันผวน ทำให้การกู้เงินดอลลาร์จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่ยังบอกไม่ได้ว่าจะออกหุ้นกู้หรือกู้เงินเท่าไร