ตามคาด กนง.มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.25%ต่อปี สนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจให้เดินหน้าและเงินเฟ้อยังไม่สูง ยอมรับไทยมีปัจจัยไม่เอื้อทำให้เงินทุนไหลเข้าน้อยแค่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 6 ประเทศในแถบเอเชีย 50 พันล้านเหรียญสหรัฐ
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งแรกในรอบปีนี้ไม่ต่างกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ คือ กนง.มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.25%ต่อปี เนื่องจากแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อยังไม่ได้สูงมาก แม้เงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค.จะสูงขึ้นจากราคาน้ำมันก็ตาม
ขณะที่ กนง.ยังต้องการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องต่อไป
อย่างไรก็ตาม หากจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป กนง.จะพิจารณา 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.เป้าหมายการดำเนินนโยบายการเงินเน้นรักษาเสถียรภาพราคาในระยะยาวให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำและมีเสถียรภาพ ถือเป็นปัจจัยสำคัญสุดในการปรับดอกเบี้ย 2.ความต่อเนื่องการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หากไม่ขัดกับการรักษาเสถียรภาพระยะยาว
กนง.ก็ไม่อยากเป็นอุปสรรคในการฟื้นตัวเศรษฐกิจและในการประชุมครั้งนี้เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น
และ 3.การปรับอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับปกติมากขึ้น จากปัจจุบันสู่ระดับต่ำเป็นพิเศษ จึงไม่อยากปล่อยให้อยู่ในระดับนี้นานเกินไปนักจนเกิดความล่าช้า ซึ่งอาจส่งผลให้สภาพคล่องสูงจนท่วมระบบเศรษฐกิจและก่อให้เกิดความไม่สมดุลกันในระบบเศรษฐกิจ และคาดว่าปีนี้เงินทุนไหลเข้าออกมากขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทจะมีความผันผวนเช่นกัน และแรงผลักดันให้ราคาสินทรัพย์ต่างๆ
และอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น จึงอาจเกิดปัญหาฟองสบู่ตามมาได้ ฉะนั้นอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการลดความร้อนแรง โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์
ทั้งนี้ การผ่อนคลายนโยบายการเงินในปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกตกต่ำอย่างรุนแรง โดยเฉพาะช่วงแรกตลาดมองว่าตกต่ำรุนแรงสุดในรอบ 60-70 ปี ทำให้นโยบายประเทศต่างๆ รวมถึงไทยมุ่งเน้นบรรเทาผลกระทบเหล่านี้และพยายามฟื้นฟูหรือกระตุ้นเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ทำให้ในหลายประเทศมีการใช้มาตรการด้านการเงินและการคลัง ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดไว้ แต่ต่อจากนี้ไปกนง.จะดูแลเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและให้ภาคเอกชนเดินหน้าไปด้วยตัวเอง ขณะเดียวกันภาครัฐทยอยลดแรงกระตุ้นที่ใส่ไปมากในช่วงที่ผ่านมา
“การดำเนินนโยบายการเงินในปีนี้จะให้ความสำคัญเน้นเสถียรภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันดูแลการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ไปด้วยดีไม่ให้สะดุดลง จึงเป็นการพิจารณายากในการชั่งน้ำหนักความเสี่ยง โดยหากถอนแรงกระตุ้นเร็วเกินไปอาจมีผลเศรษฐกิจ แต่ถ้าช้าเกินไปมีความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อ จึงต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในระบบ”
แม้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงติดลบในปัจจุบันจากการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบมานาน ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนติดลบด้วยนั้น กนง.มองว่าการใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำมานาน เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายและการประคับประคองเศรษฐกิจ ถึงจุดหนึ่งก็จะกลับสู่ภาวะปกติแน่นอน จากปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ไม่ปกติ และสภาพคล่องล้นระบบทำให้ ธปท.ต้องเข้ามาดูดซับสภาพคล่องไม่ให้มีมากเกินไป จึงเป็นประเด็นหนึ่งที่ กนง.กำลังพิจารณาในขณะนี้
ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ในที่ประชุมกนง.ยังมีการหารือกันถึงกรณีที่ล่าสุดธนาคารกลางจีนสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องมากขึ้น เพื่อลดความร้อนแรงในการปล่อยสินเชื่อให้แก่บางภาคธุรกิจด้วย หลังจากที่ผ่านมาจีนได้ทอยยออกมาตรการต่างๆ เพื่อลดความร้อนแรงตลาดภายในประเทศ โดยมาตรการนี้ตลาดส่วนใหญ่มองว่าไม่น่าจะออกมาตรการเร็วขนาดนี้แต่ช่วยดึงสภาพคล่องส่วนเกินในระบบออกไปได้มาก จึงเชื่อว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นปรับนโยบายสู่ภาวะปกติมากขึ้นและลดความร้อนแรง โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา
ส่วนการดำเนินนโยบายการเงินของไทยก็ต้องดูสถานการณ์ให้เหมาะสมกับตัวเอง และในขณะนี้ไทยยังไม่มีความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน ซึ่งเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินระดับปัจจุบันเหมาะสมที่สนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ใช้เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินยังอยู่ในกรอบ คือ 0.5-3% และแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์อยู่ในเกณฑ์ต่ำอยู่
สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนในที่ประชุมไม่ได้หารือในการครั้งนี้ โดยหากตราบใดที่การเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินนโยบายการเงินก็ยังไม่มีมาตรการพิเศษอะไรออกมา แต่ยอมรับว่าความผันผวนเงินทุนมากขึ้นในปีนี้ก็จะมีผลต่อค่าเงิน แต่ก็เป็นไปตามกลไกตลาดที่มีการซื้อขายกันภายในตลาด ซึ่งกนง.เองพร้อมจะดูแลและติดตามไม่ให้เกิดความผันผวนปกติมากนัก และในวันที่ 22 ม.ค.นี้จะมีการแถลงตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีปัจจัยที่ดึงดูดและผลักไล่เงินทุนจากต่างประเทศ โดยเมื่อปีก่อนเงินทุนไหลเข้าไทยค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาค เช่น การลงทุนในตลาดหุ้นมีเงินทุนไหลเข้ามา 6 ประเทศ 50 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ไทยมีแค่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ดังนั้น แม้เงินทุนจะไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย แต่จะเข้าประเทศอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับมุมมองนักลงทุนในด้านความเชื่อมั่นต่างๆ ทั้งนโยบาย การลงทุนและเสถียรภาพการเมือง รวมถึงความแตกต่างปัจจัยสำคัญ อาทิ อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น
ขณะที่โครงการลงทุนพื้นที่มาบตาพุดได้มีการรายงานความคืบหน้า หลังจากที่มีความชัดเจนมากขึ้นระดับหนึ่ง แต่ความไม่แน่นอนยังมีอยู่ในแง่ของนักลงทุน ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการลงทุน ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้ ฉะนั้นการหาข้อยุติโดยเร็วและมีความชัดเจนให้เอกชนใช้เป็นหลักปฏิบัติได้อย่างแน่นอนจะเป็นปัจจัยสำคัญฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านการลงทุน
นอกจากนี้ ความเสี่ยงยังมีหลายด้านทั้งกระแสเงินทุนไหลเข้าออก อัตราเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวสูงขึ้น หรือแม้แต่การว่างงานและสถาบันการเงินในต่างประเทศ การรับไม้ต่อของภาคเอกชน หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญดีขึ้นจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ยังคงติดตามต่อไป
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งแรกในรอบปีนี้ไม่ต่างกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ คือ กนง.มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 1.25%ต่อปี เนื่องจากแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อยังไม่ได้สูงมาก แม้เงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค.จะสูงขึ้นจากราคาน้ำมันก็ตาม
ขณะที่ กนง.ยังต้องการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องต่อไป
อย่างไรก็ตาม หากจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป กนง.จะพิจารณา 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.เป้าหมายการดำเนินนโยบายการเงินเน้นรักษาเสถียรภาพราคาในระยะยาวให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำและมีเสถียรภาพ ถือเป็นปัจจัยสำคัญสุดในการปรับดอกเบี้ย 2.ความต่อเนื่องการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หากไม่ขัดกับการรักษาเสถียรภาพระยะยาว
กนง.ก็ไม่อยากเป็นอุปสรรคในการฟื้นตัวเศรษฐกิจและในการประชุมครั้งนี้เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น
และ 3.การปรับอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับปกติมากขึ้น จากปัจจุบันสู่ระดับต่ำเป็นพิเศษ จึงไม่อยากปล่อยให้อยู่ในระดับนี้นานเกินไปนักจนเกิดความล่าช้า ซึ่งอาจส่งผลให้สภาพคล่องสูงจนท่วมระบบเศรษฐกิจและก่อให้เกิดความไม่สมดุลกันในระบบเศรษฐกิจ และคาดว่าปีนี้เงินทุนไหลเข้าออกมากขึ้น ทำให้ค่าเงินบาทจะมีความผันผวนเช่นกัน และแรงผลักดันให้ราคาสินทรัพย์ต่างๆ
และอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น จึงอาจเกิดปัญหาฟองสบู่ตามมาได้ ฉะนั้นอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการลดความร้อนแรง โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์
ทั้งนี้ การผ่อนคลายนโยบายการเงินในปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกตกต่ำอย่างรุนแรง โดยเฉพาะช่วงแรกตลาดมองว่าตกต่ำรุนแรงสุดในรอบ 60-70 ปี ทำให้นโยบายประเทศต่างๆ รวมถึงไทยมุ่งเน้นบรรเทาผลกระทบเหล่านี้และพยายามฟื้นฟูหรือกระตุ้นเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ทำให้ในหลายประเทศมีการใช้มาตรการด้านการเงินและการคลัง ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดไว้ แต่ต่อจากนี้ไปกนง.จะดูแลเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและให้ภาคเอกชนเดินหน้าไปด้วยตัวเอง ขณะเดียวกันภาครัฐทยอยลดแรงกระตุ้นที่ใส่ไปมากในช่วงที่ผ่านมา
“การดำเนินนโยบายการเงินในปีนี้จะให้ความสำคัญเน้นเสถียรภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันดูแลการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ไปด้วยดีไม่ให้สะดุดลง จึงเป็นการพิจารณายากในการชั่งน้ำหนักความเสี่ยง โดยหากถอนแรงกระตุ้นเร็วเกินไปอาจมีผลเศรษฐกิจ แต่ถ้าช้าเกินไปมีความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อ จึงต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในระบบ”
แม้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงติดลบในปัจจุบันจากการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายติดลบมานาน ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนติดลบด้วยนั้น กนง.มองว่าการใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำมานาน เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายและการประคับประคองเศรษฐกิจ ถึงจุดหนึ่งก็จะกลับสู่ภาวะปกติแน่นอน จากปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ไม่ปกติ และสภาพคล่องล้นระบบทำให้ ธปท.ต้องเข้ามาดูดซับสภาพคล่องไม่ให้มีมากเกินไป จึงเป็นประเด็นหนึ่งที่ กนง.กำลังพิจารณาในขณะนี้
ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ในที่ประชุมกนง.ยังมีการหารือกันถึงกรณีที่ล่าสุดธนาคารกลางจีนสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องมากขึ้น เพื่อลดความร้อนแรงในการปล่อยสินเชื่อให้แก่บางภาคธุรกิจด้วย หลังจากที่ผ่านมาจีนได้ทอยยออกมาตรการต่างๆ เพื่อลดความร้อนแรงตลาดภายในประเทศ โดยมาตรการนี้ตลาดส่วนใหญ่มองว่าไม่น่าจะออกมาตรการเร็วขนาดนี้แต่ช่วยดึงสภาพคล่องส่วนเกินในระบบออกไปได้มาก จึงเชื่อว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นปรับนโยบายสู่ภาวะปกติมากขึ้นและลดความร้อนแรง โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา
ส่วนการดำเนินนโยบายการเงินของไทยก็ต้องดูสถานการณ์ให้เหมาะสมกับตัวเอง และในขณะนี้ไทยยังไม่มีความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน ซึ่งเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินระดับปัจจุบันเหมาะสมที่สนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ใช้เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินยังอยู่ในกรอบ คือ 0.5-3% และแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์อยู่ในเกณฑ์ต่ำอยู่
สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนในที่ประชุมไม่ได้หารือในการครั้งนี้ โดยหากตราบใดที่การเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินนโยบายการเงินก็ยังไม่มีมาตรการพิเศษอะไรออกมา แต่ยอมรับว่าความผันผวนเงินทุนมากขึ้นในปีนี้ก็จะมีผลต่อค่าเงิน แต่ก็เป็นไปตามกลไกตลาดที่มีการซื้อขายกันภายในตลาด ซึ่งกนง.เองพร้อมจะดูแลและติดตามไม่ให้เกิดความผันผวนปกติมากนัก และในวันที่ 22 ม.ค.นี้จะมีการแถลงตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีปัจจัยที่ดึงดูดและผลักไล่เงินทุนจากต่างประเทศ โดยเมื่อปีก่อนเงินทุนไหลเข้าไทยค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาค เช่น การลงทุนในตลาดหุ้นมีเงินทุนไหลเข้ามา 6 ประเทศ 50 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ไทยมีแค่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ดังนั้น แม้เงินทุนจะไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย แต่จะเข้าประเทศอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับมุมมองนักลงทุนในด้านความเชื่อมั่นต่างๆ ทั้งนโยบาย การลงทุนและเสถียรภาพการเมือง รวมถึงความแตกต่างปัจจัยสำคัญ อาทิ อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น
ขณะที่โครงการลงทุนพื้นที่มาบตาพุดได้มีการรายงานความคืบหน้า หลังจากที่มีความชัดเจนมากขึ้นระดับหนึ่ง แต่ความไม่แน่นอนยังมีอยู่ในแง่ของนักลงทุน ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการลงทุน ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้ ฉะนั้นการหาข้อยุติโดยเร็วและมีความชัดเจนให้เอกชนใช้เป็นหลักปฏิบัติได้อย่างแน่นอนจะเป็นปัจจัยสำคัญฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านการลงทุน
นอกจากนี้ ความเสี่ยงยังมีหลายด้านทั้งกระแสเงินทุนไหลเข้าออก อัตราเงินเฟ้อที่อาจเร่งตัวสูงขึ้น หรือแม้แต่การว่างงานและสถาบันการเงินในต่างประเทศ การรับไม้ต่อของภาคเอกชน หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญดีขึ้นจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ยังคงติดตามต่อไป