ธปท.เผยลูกค้ากลุ่มเอสเอ็มอีของสาขาธนาคารต่างชาติเรียกร้องขอเข้าร่วมโครงการค้ำประกันสินเชื่อของภาครัฐ ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วไปขอเพิ่มวงเงินรวมโครงการนี้มากกว่า 3 หมื่นล้านบาท พร้อมต่อยกเว้นค่าธรรมเนียมปีแรกอีก 1 ปี ระบุล่าสุดมียอดค้ำประกันไปแล้ว 1.3 หมื่นล้านบาท คาดกสิกรไทย-ทหารไทยดันยอดพุ่ง 2 หมื่นล้านบาท
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ธปท.ได้จัดสัมมนาและให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ทั่วประเทศตามโครงการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)ของภาครัฐได้พบว่ามีเสียงเรียกร้องจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นลูกค้าของสาขาธนาคารต่างชาติให้สามารถเข้าถึงบริการนี้ด้วย
"ในช่วงแรกสาขาธนาคารต่างชาติมองว่าอาจมีลูกค้ากลุ่มนี้ไม่มาก แต่ผู้ประกอบเอสเอ็มอีสอบถามเข้ามามาก จึงได้มีการขอไม่ให้จำกัดลูกค้าเอสเอ็มอีของสาขาธนาคารต่างชาติด้วย ส่วนเรื่องหลักเกณฑ์คาดว่าคงไม่แตกต่างกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นลูกค้าธนาคารพาณิชย์ไทย"
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอียังขอเพิ่มวงเงินรวมของมูลค่าโครงการมากกว่าวงเงินเก่า คือ 3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมองว่าความต้องการช่วงหลังมีจำนวนมากขึ้น รวมถึงยกเว้นค่าธรรมเนียมค้ำประกันในปีแรกในอัตรา 1.75%ต่อไปอีก 1 ปี จากเดิมผ่อนผันให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมนี้ภายในวันที่ 31 ธ.ค.นี้
ทั้งนี้ ขอเสนอดังกล่าวและความคิดเห็นต่างๆ ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ธปท.ได้ส่งข้อมูลเหล่านี้ให้แก่บสย. เพื่อหารือกับกระทรวงการคลังต่อไป และธปท.ก็จะพยายามช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีทุกรายให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้
สำหรับยอดค้ำประกันสินเชื่อครั้งล่าสุด ณ สิ้นเดือนพ.ย.52 พบว่า มียอดค้ำประกันสินเชื่อที่ออกไปแล้วจำนวน 1.3 หมื่นล้านบาท จากวงเงินรวมโครงการนี้ 3 หมื่นล้านบาท และคาดว่าสิ้นปีนี้จะมียอดค้ำประกัน 2 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าในช่วงปลายปีนี้ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการนี้จำนวนมากจะส่งรายชื่อและยอดค้ำประกันสินเชื่อเพิ่มเติม ทำให้ในช่วงหลังยอดค้ำประกันเริ่มกระเตื้องขึ้นต่างกับช่วงที่ผ่านมาที่มีความต้องการสินเชื่อประเภทนี้มีไม่มาก ทำให้ยอดค้ำประกันเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ธปท.ได้จัดสัมมนาและให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ทั่วประเทศตามโครงการค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)ของภาครัฐได้พบว่ามีเสียงเรียกร้องจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นลูกค้าของสาขาธนาคารต่างชาติให้สามารถเข้าถึงบริการนี้ด้วย
"ในช่วงแรกสาขาธนาคารต่างชาติมองว่าอาจมีลูกค้ากลุ่มนี้ไม่มาก แต่ผู้ประกอบเอสเอ็มอีสอบถามเข้ามามาก จึงได้มีการขอไม่ให้จำกัดลูกค้าเอสเอ็มอีของสาขาธนาคารต่างชาติด้วย ส่วนเรื่องหลักเกณฑ์คาดว่าคงไม่แตกต่างกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นลูกค้าธนาคารพาณิชย์ไทย"
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอียังขอเพิ่มวงเงินรวมของมูลค่าโครงการมากกว่าวงเงินเก่า คือ 3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมองว่าความต้องการช่วงหลังมีจำนวนมากขึ้น รวมถึงยกเว้นค่าธรรมเนียมค้ำประกันในปีแรกในอัตรา 1.75%ต่อไปอีก 1 ปี จากเดิมผ่อนผันให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมนี้ภายในวันที่ 31 ธ.ค.นี้
ทั้งนี้ ขอเสนอดังกล่าวและความคิดเห็นต่างๆ ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ธปท.ได้ส่งข้อมูลเหล่านี้ให้แก่บสย. เพื่อหารือกับกระทรวงการคลังต่อไป และธปท.ก็จะพยายามช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีทุกรายให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้
สำหรับยอดค้ำประกันสินเชื่อครั้งล่าสุด ณ สิ้นเดือนพ.ย.52 พบว่า มียอดค้ำประกันสินเชื่อที่ออกไปแล้วจำนวน 1.3 หมื่นล้านบาท จากวงเงินรวมโครงการนี้ 3 หมื่นล้านบาท และคาดว่าสิ้นปีนี้จะมียอดค้ำประกัน 2 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าในช่วงปลายปีนี้ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการนี้จำนวนมากจะส่งรายชื่อและยอดค้ำประกันสินเชื่อเพิ่มเติม ทำให้ในช่วงหลังยอดค้ำประกันเริ่มกระเตื้องขึ้นต่างกับช่วงที่ผ่านมาที่มีความต้องการสินเชื่อประเภทนี้มีไม่มาก ทำให้ยอดค้ำประกันเพิ่มขึ้นไม่มากนัก