กรอ.มีมติเร่งสถาบันการเงินรัฐ 8 แห่ง ปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีให้เร็วขึ้น ขณะนี้ปล่อยได้เพียง 40% จากเป้าหมายที่วางไว้ หรือประมาณ 4,103 ล้านบาท และยังเห็นชอบให้ธนาคารออมสิน เข้ามาดำเนินการแทนธนาคารแห่งประเทศไทย ในการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โดยมีตั๋วสัญญาใช้เงินผู้ประกอบการขนาดย่อมวงเงิน 38,000 ล้านบาท หมดอายุ 29 พ.ย. 54
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ช่วย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เปิดเผยว่า กรอ.มีมติให้กระทรวงการคลังเร่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 8 แห่ง ให้พิจารณาสินเชื่อให้กับภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจากการติดตามการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ยังล่าช้า โดยเฉพาะการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ที่พบว่าสามารถค้ำประกันสินเชื่อได้เพียง 6,222 ล้านบาท ขณะที่สินเชื่อเอสเอ็มอี เพาเวอร์ ทำได้เพียง 4,013 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 40 ของเป้าหมาย เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเห็นชอบให้ธนาคารออมสินเข้ามาดำเนินการแทนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟต์โลน ให้กับผู้ประกอบการเอกชน เนื่องจากที่ผ่านมา ธปท.ไม่สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมายใหม่ ซึ่งวงเงินซอฟต์โลนจะนำไปใช้ใน 3 โครงการ โดยมีวงเงินรวม 66,737 ล้านบาท แยกเป็นโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยมีตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อมเป็นประกัน วงเงิน 38,000 ล้านบาท ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 29 พ.ค. 54 ,โครงการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลาและสตูล วงเงิน 3,000 ล้านบาท หมดอายุวันที่ 31 ธ.ค. 53 และโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะหมดอายุวันที่ 31 ธ.ค. 53 วงเงิน 25,737 ล้านบาท ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 52 มีผู้ประกอบการใช้วงเงินเพียง 11,971.21 ล้านบาท จึงเหลือวงเงิน ธปท.ที่ยังไม่ได้ใช้จำนวน 54,765 .79 ล้านบาท.
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ช่วย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) เปิดเผยว่า กรอ.มีมติให้กระทรวงการคลังเร่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 8 แห่ง ให้พิจารณาสินเชื่อให้กับภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจากการติดตามการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ยังล่าช้า โดยเฉพาะการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ที่พบว่าสามารถค้ำประกันสินเชื่อได้เพียง 6,222 ล้านบาท ขณะที่สินเชื่อเอสเอ็มอี เพาเวอร์ ทำได้เพียง 4,013 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 40 ของเป้าหมาย เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเห็นชอบให้ธนาคารออมสินเข้ามาดำเนินการแทนธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟต์โลน ให้กับผู้ประกอบการเอกชน เนื่องจากที่ผ่านมา ธปท.ไม่สามารถดำเนินการได้ตามกฎหมายใหม่ ซึ่งวงเงินซอฟต์โลนจะนำไปใช้ใน 3 โครงการ โดยมีวงเงินรวม 66,737 ล้านบาท แยกเป็นโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยมีตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อมเป็นประกัน วงเงิน 38,000 ล้านบาท ซึ่งจะหมดอายุในวันที่ 29 พ.ค. 54 ,โครงการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลาและสตูล วงเงิน 3,000 ล้านบาท หมดอายุวันที่ 31 ธ.ค. 53 และโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะหมดอายุวันที่ 31 ธ.ค. 53 วงเงิน 25,737 ล้านบาท ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 52 มีผู้ประกอบการใช้วงเงินเพียง 11,971.21 ล้านบาท จึงเหลือวงเงิน ธปท.ที่ยังไม่ได้ใช้จำนวน 54,765 .79 ล้านบาท.