บล.กิมเอ็งโชว์มาเก็ตแชร์ ณ 20 พ.ย.โต 15.38% ไม่มี Prop Trade ผสม ด้าน "มนตรี "เล็งปรับกลยุทธ์กระจายหุ้นไอพีโอปัญหาต่ำจองในวันแรก โดยเพิ่มสัดส่วนให้กลุ่มสถาบันมากขึ้น แย้มปีหน้ามีดีลงานใหญ่ระดับ 10,000 ล้านรอปิด พร้อมคาดเสรีค่าคอมฯฉุดรายได้หด 10 -20% รุกออกสินค้าใหม่เพิ่มทั้ง DW กองทุน มาทดแทนรายได้ที่ขาดหาย แต่มั่นใจไม่เกิดสงครามราคาค่าคอมฯ ส่วนอินเซนทีฟ ยอมรับเห็นใจมาร์เกตติ้ง
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (KEST) เปิดเผยถึงภาพรวมธุรกิจตั้งแต่ต้นจนถึงวันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ส่วนแบ่งทางการตลาดของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 15.38% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีอยู่ 8.1%ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มลูกค้านักลงทุนต่างประเทศมี 5.10% และสถาบันในประเทศ 5.52% โดยรวมแล้วถือว่ายังครองสัดส่วนได้มากกว่าอันดับสองเกือบเท่าตัว ทั้งที่ยังไม่ได้นับรวมในส่วน Prop Trade หรือพอร์ตการลงทุนของบล.เข้ามา ขณะที่ในตลาดอนุพันธ์ ณ สิ้นเดือนกันยายน KEST ก็มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 10.87%
อย่างไรก็ตาม บริษัทยืนยันว่า ไม่มีความสนใจจะเพิ่มพอร์ตลงทุนหุ้นที่มีอยู่ประมาณ 100 ล้านบาทแต่อย่างใด เนื่องจากลูกค้ากว่า 90% ของ KEST เป็นนักลงทุนทั่วไป ดังนั้นเพื่อให้มีความโปร่งใสต่อลูกค้า การลงทุนในส่วนนี้จะถูกยกให้ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนเข้ามาบริหารในรูปแบบลงทุนระยะยาวมากกว่าการเทรดระยะสั้น หรือรายวันเหมือนที่อื่นๆ
สำหรับงานด้านวาณิชธนกิจ นายมนตรีกล่าวว่า ที่ผ่านมาบริษัทนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์น้อยลงตามภาวะเศรษฐกิจ โดยก่อนหน้านี้มีเพียง 2 ราย และก็เกิดปัญหาในการซื้อขายวันแรกในกรณีราคาหุ้นต่ำลงกว่าราคาไอพีโอ ทำให้มีแผนที่จะปรับกลยุทธ์การกระจายหุ้นไอพีโอใหม่ โดยเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันในการจองซื้อหุ้นไอพีโอเพิ่มมากขึ้น เพราะกลุ่มนี้จะเป็นการลงทุนระยะยาว จึงไม่มีการเทขายหุ้นออกมาในวันเฟิร์สเทรดเหมือนนักลงทุนรายย่อยจนกดดันให้ราคาหุ้นต่ำลง ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจของหุ้นที่บริษัทนำเข้าจดทะเบียนนั้นดีมาก
โดย งานวาณิชธนกิจทีมีอยู่ขณะนี้ คืองาน M&A 8-10 ดีล กองทุนอสังหาริมทรัพย์ 2 -3 ดีล หุ้นไอพีโอ 10 -15 ดีล private placement 1-2 ดีล ตราสารหนี้ 2-3 ดีล และการปรับโครงสร้างทางการเงิน 2-4 ดีล ซึ่งในปีหน้าจะมีงานใหญ่ระดับ 3,000 – 10,000 ล้านบาทประมาณ 2 ดีล และมูลค่างานในหลัก 500 – 1,000 ล้านบาทประมาณ 1-2 งาน
"ภาพรวมแล้วเรามองว่าไตรมาส 3 ที่ผ่านมากำไรสุทธิของเราปรับตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาส1/52 ที่มีกำไรสุทธิน้อยลงจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการบางรายถึงกับขาดทุน ส่วนไตรมาส4นี้ เราก็ยังเชื่อว่าทุกอย่างจะดีขึ้น"
ปัจจุบัน บล.กิมเอ็ง มีฐานลูกค้าประมาณ 70,000 บัญชี เป็นบัญชีอินเทอร์เน็ต 19,000 บัญชี และเป็นบัญชีเงินสด 50,000 บัญชี ซึ่งคิดเป็นบัญชีที่มีการซื้อขายต่อเนื่อง 32,000 บัญชี แบ่งเป็นบัญชีเงิน 21,000 บัญชี ที่เหลือเป็นทางอินเทอร์เน็ต ขณะที่มูลค่าการซื้อขายของลูกค้ารายใหญ่เฉลี่ย 20 ล้านบาท/วัน มีอยู่ 30%ของสัดส่วนลูกค้าทั่วไปทั้งหมด โดยส่วนหนึ่งมาจากต่างประเทศ
ทั้งนี้ ผู้บริหาร บล.กิมเอ็ง ยืนยันว่า ทุนจดทะเบียนของบริษัทประมาณ 4,000 – 4,300 บาทยังเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจในปี 2553 ซึ่งจะเป็นปีที่มีการเปลี่ยนในด้านการเปิดเสรีค่านายหน้าซื้อหลักทรัพย์ แม้บางช่วงทุนดังกล่าวจะลดลงเหลือ 3,700 – 3,800 ล้านบาท เพื่อนำเงินบางส่วนมาจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ตาม
ส่วนแผนงานปี 2553 นายมนตรี มองว่า รายได้ของบริษัท โดยเฉพาะค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (90%ของรายได้ทั้งหมด) จะได้รับผลกระทบประมาณ 10 -20% ภายใต้สมมุติฐานค่าคอมมิชชั่นเหลือ 0.1% จากการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น ทำให้บริษัทต้องหารายได้จากธุรกิจอื่นๆเข้าทดแทนประมาณ 15% ซึ่งจะมาจาก ธุรกิจยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) การเพิ่มสินค้าในอนุพันธ์ทองคำ การออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือ Derivative Warrants (DW) ประมาณ 3 สินค้า จากวงเงินที่ได้รับงานอนุมัติ 800 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้าซื้อขายได้ในช่วง มกราคม – กุมภาพันธ์ปีหน้า
นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กิมเอ็ง ก็จะเริ่มจัดตั้งกองทุนออกมานำเสนอขายต่อผู้ลงทุนได้ในปี 2553 เช่นกัน จึงมองว่าสินค้าใหม่ที่เพิ่มเข้ามาทั้ง DW และกองทุนจะเข้าทดแทนรายได้ในส่วนที่หายไปได้ โดยรายได้ในส่วนค่านายหน้าจะปรับลดลงเหลือ 85%
"ปีหน้า เราคาดว่าจากการเปิดเสรีค่าคอมฯ จะส่งผลกระทบต่อเราประมาณ 10 -20% ภายใต้เงื่อนไขวอลุ่มการซื้อขายยังอยู่ในระดับเดียวกับปัจจุบันที่เฉลี่ย 18,000 ล้านบาท/วัน แต่หากลดลงกว่านี้ ย่อมส่งผลต่อรายได้ของบริษัทมากขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องลงทุนเพิ่มในด้านระบบไอที 50 -100 ล้านบาทเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการแก่ลูกค้า และเพิ่มสินค้าอื่นเข้าเสริม เช่น DW และกองทุนของบลจ.กิมเอ็งมาทดแทน"
อย่างไรก็ตาม บล.กิมเอ็ง เชื่อว่า หลังการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นในปีหน้าแล้ว คงไม่เกิดภาวะสงครามราคาเหมือนช่วงปี 1999 – 2000 ดังนั้นการมุ่งเน้นด้านคุณภาพงานบริการน่าจะรักษาฐานลูกค้าของตนไว้ได้ ขณะเดียวกันมองว่าคนในอุตสาหกรรมด้วยกันน่าจะมีการพูดคุยหรือกำหนดกรอบเพดานค่าคอมมิชชั่นที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และช่วยให้ทุกรายอยู่รอดได้ จนไม่เกิดปัญหาลดต้นทุนในด้านพนักงาน บริการ และบทวิเคราะห์
นอกจากนี้ ในส่วนของกรณีค่าอินเซนทีฟ ที่มาร์เกตติ้งหลายรายยังไม่พอใจ นายมนตรี กล่าวว่า รู้สึกเห็นใจมาร์เกตติ้ง แต่ก็อยากให้เข้าใจฝ่ายกับกับดูแลด้วย ที่ผ่านมาก็มีการปรับปรุงกติกาการหักเก็บค่าอินเซนทีฟไม่ให้สร้างผลกระทบเยอะต่อมาร์เกตติ้งแล้ว และก็ตอบสนองความต้องการของฝ่ายกำกับดูแล อย่างไรก็ตามเราจะหาทางแก้ไขให้ทุกคนได้รับผลกระทบในเรื่องนี้น้อยที่สุด
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (KEST) เปิดเผยถึงภาพรวมธุรกิจตั้งแต่ต้นจนถึงวันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ส่วนแบ่งทางการตลาดของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 15.38% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีอยู่ 8.1%ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มลูกค้านักลงทุนต่างประเทศมี 5.10% และสถาบันในประเทศ 5.52% โดยรวมแล้วถือว่ายังครองสัดส่วนได้มากกว่าอันดับสองเกือบเท่าตัว ทั้งที่ยังไม่ได้นับรวมในส่วน Prop Trade หรือพอร์ตการลงทุนของบล.เข้ามา ขณะที่ในตลาดอนุพันธ์ ณ สิ้นเดือนกันยายน KEST ก็มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 10.87%
อย่างไรก็ตาม บริษัทยืนยันว่า ไม่มีความสนใจจะเพิ่มพอร์ตลงทุนหุ้นที่มีอยู่ประมาณ 100 ล้านบาทแต่อย่างใด เนื่องจากลูกค้ากว่า 90% ของ KEST เป็นนักลงทุนทั่วไป ดังนั้นเพื่อให้มีความโปร่งใสต่อลูกค้า การลงทุนในส่วนนี้จะถูกยกให้ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนเข้ามาบริหารในรูปแบบลงทุนระยะยาวมากกว่าการเทรดระยะสั้น หรือรายวันเหมือนที่อื่นๆ
สำหรับงานด้านวาณิชธนกิจ นายมนตรีกล่าวว่า ที่ผ่านมาบริษัทนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์น้อยลงตามภาวะเศรษฐกิจ โดยก่อนหน้านี้มีเพียง 2 ราย และก็เกิดปัญหาในการซื้อขายวันแรกในกรณีราคาหุ้นต่ำลงกว่าราคาไอพีโอ ทำให้มีแผนที่จะปรับกลยุทธ์การกระจายหุ้นไอพีโอใหม่ โดยเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันในการจองซื้อหุ้นไอพีโอเพิ่มมากขึ้น เพราะกลุ่มนี้จะเป็นการลงทุนระยะยาว จึงไม่มีการเทขายหุ้นออกมาในวันเฟิร์สเทรดเหมือนนักลงทุนรายย่อยจนกดดันให้ราคาหุ้นต่ำลง ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจของหุ้นที่บริษัทนำเข้าจดทะเบียนนั้นดีมาก
โดย งานวาณิชธนกิจทีมีอยู่ขณะนี้ คืองาน M&A 8-10 ดีล กองทุนอสังหาริมทรัพย์ 2 -3 ดีล หุ้นไอพีโอ 10 -15 ดีล private placement 1-2 ดีล ตราสารหนี้ 2-3 ดีล และการปรับโครงสร้างทางการเงิน 2-4 ดีล ซึ่งในปีหน้าจะมีงานใหญ่ระดับ 3,000 – 10,000 ล้านบาทประมาณ 2 ดีล และมูลค่างานในหลัก 500 – 1,000 ล้านบาทประมาณ 1-2 งาน
"ภาพรวมแล้วเรามองว่าไตรมาส 3 ที่ผ่านมากำไรสุทธิของเราปรับตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับไตรมาส1/52 ที่มีกำไรสุทธิน้อยลงจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการบางรายถึงกับขาดทุน ส่วนไตรมาส4นี้ เราก็ยังเชื่อว่าทุกอย่างจะดีขึ้น"
ปัจจุบัน บล.กิมเอ็ง มีฐานลูกค้าประมาณ 70,000 บัญชี เป็นบัญชีอินเทอร์เน็ต 19,000 บัญชี และเป็นบัญชีเงินสด 50,000 บัญชี ซึ่งคิดเป็นบัญชีที่มีการซื้อขายต่อเนื่อง 32,000 บัญชี แบ่งเป็นบัญชีเงิน 21,000 บัญชี ที่เหลือเป็นทางอินเทอร์เน็ต ขณะที่มูลค่าการซื้อขายของลูกค้ารายใหญ่เฉลี่ย 20 ล้านบาท/วัน มีอยู่ 30%ของสัดส่วนลูกค้าทั่วไปทั้งหมด โดยส่วนหนึ่งมาจากต่างประเทศ
ทั้งนี้ ผู้บริหาร บล.กิมเอ็ง ยืนยันว่า ทุนจดทะเบียนของบริษัทประมาณ 4,000 – 4,300 บาทยังเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจในปี 2553 ซึ่งจะเป็นปีที่มีการเปลี่ยนในด้านการเปิดเสรีค่านายหน้าซื้อหลักทรัพย์ แม้บางช่วงทุนดังกล่าวจะลดลงเหลือ 3,700 – 3,800 ล้านบาท เพื่อนำเงินบางส่วนมาจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ตาม
ส่วนแผนงานปี 2553 นายมนตรี มองว่า รายได้ของบริษัท โดยเฉพาะค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (90%ของรายได้ทั้งหมด) จะได้รับผลกระทบประมาณ 10 -20% ภายใต้สมมุติฐานค่าคอมมิชชั่นเหลือ 0.1% จากการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น ทำให้บริษัทต้องหารายได้จากธุรกิจอื่นๆเข้าทดแทนประมาณ 15% ซึ่งจะมาจาก ธุรกิจยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (SBL) การเพิ่มสินค้าในอนุพันธ์ทองคำ การออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือ Derivative Warrants (DW) ประมาณ 3 สินค้า จากวงเงินที่ได้รับงานอนุมัติ 800 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มเปิดให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้าซื้อขายได้ในช่วง มกราคม – กุมภาพันธ์ปีหน้า
นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กิมเอ็ง ก็จะเริ่มจัดตั้งกองทุนออกมานำเสนอขายต่อผู้ลงทุนได้ในปี 2553 เช่นกัน จึงมองว่าสินค้าใหม่ที่เพิ่มเข้ามาทั้ง DW และกองทุนจะเข้าทดแทนรายได้ในส่วนที่หายไปได้ โดยรายได้ในส่วนค่านายหน้าจะปรับลดลงเหลือ 85%
"ปีหน้า เราคาดว่าจากการเปิดเสรีค่าคอมฯ จะส่งผลกระทบต่อเราประมาณ 10 -20% ภายใต้เงื่อนไขวอลุ่มการซื้อขายยังอยู่ในระดับเดียวกับปัจจุบันที่เฉลี่ย 18,000 ล้านบาท/วัน แต่หากลดลงกว่านี้ ย่อมส่งผลต่อรายได้ของบริษัทมากขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องลงทุนเพิ่มในด้านระบบไอที 50 -100 ล้านบาทเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการแก่ลูกค้า และเพิ่มสินค้าอื่นเข้าเสริม เช่น DW และกองทุนของบลจ.กิมเอ็งมาทดแทน"
อย่างไรก็ตาม บล.กิมเอ็ง เชื่อว่า หลังการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นในปีหน้าแล้ว คงไม่เกิดภาวะสงครามราคาเหมือนช่วงปี 1999 – 2000 ดังนั้นการมุ่งเน้นด้านคุณภาพงานบริการน่าจะรักษาฐานลูกค้าของตนไว้ได้ ขณะเดียวกันมองว่าคนในอุตสาหกรรมด้วยกันน่าจะมีการพูดคุยหรือกำหนดกรอบเพดานค่าคอมมิชชั่นที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และช่วยให้ทุกรายอยู่รอดได้ จนไม่เกิดปัญหาลดต้นทุนในด้านพนักงาน บริการ และบทวิเคราะห์
นอกจากนี้ ในส่วนของกรณีค่าอินเซนทีฟ ที่มาร์เกตติ้งหลายรายยังไม่พอใจ นายมนตรี กล่าวว่า รู้สึกเห็นใจมาร์เกตติ้ง แต่ก็อยากให้เข้าใจฝ่ายกับกับดูแลด้วย ที่ผ่านมาก็มีการปรับปรุงกติกาการหักเก็บค่าอินเซนทีฟไม่ให้สร้างผลกระทบเยอะต่อมาร์เกตติ้งแล้ว และก็ตอบสนองความต้องการของฝ่ายกำกับดูแล อย่างไรก็ตามเราจะหาทางแก้ไขให้ทุกคนได้รับผลกระทบในเรื่องนี้น้อยที่สุด