ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับประมาณเศรษฐกิจทั้งปีเป็นติดลบ 3.3% จากเดิมที่คาดว่าติดลบ 3.5-4.1% จากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3 ที่ดีเกินคาด แต่เตือนยังมีจุดเสี่ยงจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยเฉพาะเสถียรภาพทางการเมือง-ความสัมพันธ์เพื่อนบ้านที่อาจกระทบบรรยากาศการลงทุน
ศูนย์วิจัยกสกิรไทยคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 อาจมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราที่เท่าๆ กับไตรมาส 2/2552 และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จีดีพีอาจติดลบร้อยละ 3.3 ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัวลงร้อยละ 4.9 ในไตรมาสที่ 2/2552
ทั้งนี้ เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ได้รับปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเร่งการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล ซึ่งส่งผลให้ภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นต่อโอกาสการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงทำให้นอกจากภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวแล้ว ยังปรากฏภาพการปรับตัวดีขึ้นของกิจกรรมเศรษฐกิจในหลายสาขา เช่น การก่อสร้าง ขนส่ง และค้าปลีก เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะถัดๆ ไป แม้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 จะมีการเติบโตเป็นบวกได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่มีความเป็นไปได้ที่อัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2552 อาจมีทิศทางที่ชะลอลง โดยแม้เศรษฐกิจน่าจะได้รับผลบวกจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล และการลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็ง รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่อาจกล่าวได้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ทั้งปัจจัยภายนอกประเทศและปัจจัยในประเทศ
โดยปัจจัยเสี่ยงเป็นส่วของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G-3 ยังมีความเปราะบาง โดยปัญหาการว่างงานสูงจะยังคงเป็นปัจจัยลบที่จะฉุดรั้งการฟื้นตัว ด้านเศรษฐกิจเอเชียแม้มีแนวโน้มฟื้นตัวแข็งแกร่งแต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง โดยเฉพาะการเติบโตที่มาจากเร่งกระตุ้นทางเศรษฐกิจนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ในทางกลับกัน อาจนำมาซึ่งความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ เช่น ภาวะฟองสบู่หรือปัญหาอุปทานล้นเกิน (Oversupply) ซึ่งอาจกลายเป็นจุดเริ่มของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ได้ ขณะที่แนวโน้มค่าเงินดอลลาร์ฯอ่อน อาจเป็นปัจจัยเร่งเงินเฟ้อ จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะยิ่งกดดันการใช้จ่ายของภาคการบริโภคในประเทศต่างๆ รวมทั้งไทย
และปัญหาการเมืองในประเทศของไทยรวมถึงการเชื่อมโยงไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านก็ยังเป็นปัจจัยเสี่ยง โดยปัญหาการเมืองอาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน การท่องเที่ยว และเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งจะมีผลต่อความคืบหน้าในดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ ขณะที่ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา จะสร้างความรู้สึกไม่สบายใจให้แก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งอาจสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจหากปัญหาลุกลามออกไป
นอกจากนี้ ความไม่ชัดเจนของข้อกฎหมายจะกระทบต่อการลงทุนในธุรกิจบางประเภท เช่น การลงทุนในกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ดังกรณีการระงับโครงการลงทุน 76 โครงการในพื้นที่มาบตาพุด นอกจากนี้ ยังมีกรณีข้อติดขัดของการให้อนุญาตเอกชนลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3/2552 ที่ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ค่อนข้างมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2552 มาเป็นหดตัวร้อยละ 3.3 จากเดิมคาดว่าอาจจะหดตัวร้อยละ 3.5-4.1 ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจในปี 2553 อาจขยายตัวได้ในระดับปานกลางอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.0
ศูนย์วิจัยกสกิรไทยคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 อาจมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราที่เท่าๆ กับไตรมาส 2/2552 และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จีดีพีอาจติดลบร้อยละ 3.3 ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัวลงร้อยละ 4.9 ในไตรมาสที่ 2/2552
ทั้งนี้ เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ได้รับปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเร่งการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล ซึ่งส่งผลให้ภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นต่อโอกาสการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงทำให้นอกจากภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวแล้ว ยังปรากฏภาพการปรับตัวดีขึ้นของกิจกรรมเศรษฐกิจในหลายสาขา เช่น การก่อสร้าง ขนส่ง และค้าปลีก เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะถัดๆ ไป แม้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 จะมีการเติบโตเป็นบวกได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่มีความเป็นไปได้ที่อัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2552 อาจมีทิศทางที่ชะลอลง โดยแม้เศรษฐกิจน่าจะได้รับผลบวกจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล และการลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็ง รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่อาจกล่าวได้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ทั้งปัจจัยภายนอกประเทศและปัจจัยในประเทศ
โดยปัจจัยเสี่ยงเป็นส่วของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G-3 ยังมีความเปราะบาง โดยปัญหาการว่างงานสูงจะยังคงเป็นปัจจัยลบที่จะฉุดรั้งการฟื้นตัว ด้านเศรษฐกิจเอเชียแม้มีแนวโน้มฟื้นตัวแข็งแกร่งแต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง โดยเฉพาะการเติบโตที่มาจากเร่งกระตุ้นทางเศรษฐกิจนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ในทางกลับกัน อาจนำมาซึ่งความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ เช่น ภาวะฟองสบู่หรือปัญหาอุปทานล้นเกิน (Oversupply) ซึ่งอาจกลายเป็นจุดเริ่มของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ได้ ขณะที่แนวโน้มค่าเงินดอลลาร์ฯอ่อน อาจเป็นปัจจัยเร่งเงินเฟ้อ จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะยิ่งกดดันการใช้จ่ายของภาคการบริโภคในประเทศต่างๆ รวมทั้งไทย
และปัญหาการเมืองในประเทศของไทยรวมถึงการเชื่อมโยงไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านก็ยังเป็นปัจจัยเสี่ยง โดยปัญหาการเมืองอาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน การท่องเที่ยว และเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งจะมีผลต่อความคืบหน้าในดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ ขณะที่ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา จะสร้างความรู้สึกไม่สบายใจให้แก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งอาจสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจหากปัญหาลุกลามออกไป
นอกจากนี้ ความไม่ชัดเจนของข้อกฎหมายจะกระทบต่อการลงทุนในธุรกิจบางประเภท เช่น การลงทุนในกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ดังกรณีการระงับโครงการลงทุน 76 โครงการในพื้นที่มาบตาพุด นอกจากนี้ ยังมีกรณีข้อติดขัดของการให้อนุญาตเอกชนลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3/2552 ที่ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ค่อนข้างมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2552 มาเป็นหดตัวร้อยละ 3.3 จากเดิมคาดว่าอาจจะหดตัวร้อยละ 3.5-4.1 ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจในปี 2553 อาจขยายตัวได้ในระดับปานกลางอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.0