ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ คาดปีหน้าจีดีพีไทยโต 3.2% เหตุราคาสินค้าเกษตรพุ่ง ส่งออกฟื้น แต่ต้องจับตาการเมือง มาบตาพุด โลกร้อน โรคระบาดฉุดเศรษฐกิจดิ่ง ส่วนผลสำรวจไตรมาส 4 บวกครั้งแรกในรอบปี 2.7% ดันทั้งปี 52 ลบแค่ 3.1%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2552 และแนวโน้มปี 2553 ว่า การขยายตัวเศรษฐกิจปี 2553 จะเติบโตในกรอบ 2.5-4.0% โดยมีโอกาสเติบโตมากสุดที่ 3.2% โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญมากจากเศรษฐกิจทั่วโลกฟื้นตัว ส่งผลให้การส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ 12% รวมถึงราคาพืชผลการเกษตรสูงขึ้น รายได้ภาคเกษตรขยายตัว 4.4% ทำให้เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนมากของประเทศ มีกำลังการใช้จ่ายเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนให้การบริโภคภาคประชาชนขยายตัวได้ถึง 3.7%
นอกจากนี้ ยังจะได้รับผลดีจากอัตราดอกเบี้ยที่จะทรงตัวระดับต่ำ และทั้งปีจะเพิ่มไม่เกิน 0.25-0.50% ราคาน้ำมันจะไม่เพิ่มสูงในครึ่งปีแรก และรัฐบาลมีการใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจปีละ 5 แสนล้านบาท ขณะที่การขยายตัวภาคอุตสาหกรรมจะฟื้นตัวดีอีกครั้ง 4.9% รวมถึงการลงทุนโต 7.4% และการท่องเที่ยวโต 10.2% สร้างรายได้กว่า 5.3 แสนล้านบาท ขณะที่การว่างงานลดเหลือ 0.9%
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยที่ต้องระวัง ก็คือ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก เสถียรภาพทางการเมือง การลงทุนในมาบตาพุด และปัญหาโรคระบาด ภัยธรรมชาติ ซึ่งหากเกิดรุนแรงจะบั่นทอนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ช้าลง
นายธนวรรธน์กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไตรมาส 4 ปี 2552 น่าจะกลับมาขยายตัวที่ 2.7% เป็นการฟื้นตัวครั้งแรกของปีนี้ หลังจากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น ทั้งการท่องเที่ยว การส่งออก การบริโภคภาคประชาชน และภาคเกษตร ส่งผลให้จีดีพีทั้งปี 2552 จะขยายตัวติดลบเหลือเพียง 3.1% โดยมีสาเหตุมาจากการที่ภาคต่างๆ ติดลบ ได้แก่ การส่งออกติดลบ 14.6% การบริโภคลบ 1.1% การลงทุนลบ 10.5% ภาคอุตสาหกรรมลบ 5.8% ภาคเกษตรลบ 0.4%
“ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงฟื้นตัวแล้ว โดยจะดีตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้ต่อเนื่องยาวไปถึงปีหน้า โดยมีแรงขับเคลื่อนจากภาคส่งออกที่ฟื้นตัว ทำให้อุตสาหกรรมภาคการผลิตมีการขยายตัวตาม ทั้งการลงทุน และจ้างงาน ส่งให้ภาคประชาชนกลับมามีกำลังบริโภคอีกครั้ง อีกปัจจัยสำคัญ คือ ภาคการเกษตรที่จะกลับมาเป็นบวก หลังแนวโน้มราคาน้ำมันมีแนวโมสูงขึ้น ทำให้พืชพลังงานทดแทนมีความต้องการ และราคาสูงขึ้นตาม รวมถึงกลุ่มอาหาร เช่น ข้าว ที่ทั่วโลกมีแนวโน้มต้องการซื้อเพิ่ม แต่สิ่งที่กังวลคือ หากเกิดปัญหามาบตาพุด หรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จะทำให้เศรษฐกิจโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้”นายธนวรรธน์กล่าว
สำหรับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวปีหน้า อยู่ในระดับ 75-85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และอาจปรับสูงขึ้นเป็น 90-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลได้ในครึ่งหลังของปี อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับ 3.2% อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 32-33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การว่างงานอยู่ที่ 0.9-1.1% การนำเข้าจะเพิ่ม 18-25.1% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 8,565-10,565 ล้านบาท
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2552 และแนวโน้มปี 2553 ว่า การขยายตัวเศรษฐกิจปี 2553 จะเติบโตในกรอบ 2.5-4.0% โดยมีโอกาสเติบโตมากสุดที่ 3.2% โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญมากจากเศรษฐกิจทั่วโลกฟื้นตัว ส่งผลให้การส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ 12% รวมถึงราคาพืชผลการเกษตรสูงขึ้น รายได้ภาคเกษตรขยายตัว 4.4% ทำให้เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนมากของประเทศ มีกำลังการใช้จ่ายเพิ่ม ช่วยขับเคลื่อนให้การบริโภคภาคประชาชนขยายตัวได้ถึง 3.7%
นอกจากนี้ ยังจะได้รับผลดีจากอัตราดอกเบี้ยที่จะทรงตัวระดับต่ำ และทั้งปีจะเพิ่มไม่เกิน 0.25-0.50% ราคาน้ำมันจะไม่เพิ่มสูงในครึ่งปีแรก และรัฐบาลมีการใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจปีละ 5 แสนล้านบาท ขณะที่การขยายตัวภาคอุตสาหกรรมจะฟื้นตัวดีอีกครั้ง 4.9% รวมถึงการลงทุนโต 7.4% และการท่องเที่ยวโต 10.2% สร้างรายได้กว่า 5.3 แสนล้านบาท ขณะที่การว่างงานลดเหลือ 0.9%
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยที่ต้องระวัง ก็คือ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก เสถียรภาพทางการเมือง การลงทุนในมาบตาพุด และปัญหาโรคระบาด ภัยธรรมชาติ ซึ่งหากเกิดรุนแรงจะบั่นทอนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ช้าลง
นายธนวรรธน์กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไตรมาส 4 ปี 2552 น่าจะกลับมาขยายตัวที่ 2.7% เป็นการฟื้นตัวครั้งแรกของปีนี้ หลังจากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น ทั้งการท่องเที่ยว การส่งออก การบริโภคภาคประชาชน และภาคเกษตร ส่งผลให้จีดีพีทั้งปี 2552 จะขยายตัวติดลบเหลือเพียง 3.1% โดยมีสาเหตุมาจากการที่ภาคต่างๆ ติดลบ ได้แก่ การส่งออกติดลบ 14.6% การบริโภคลบ 1.1% การลงทุนลบ 10.5% ภาคอุตสาหกรรมลบ 5.8% ภาคเกษตรลบ 0.4%
“ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงฟื้นตัวแล้ว โดยจะดีตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้ต่อเนื่องยาวไปถึงปีหน้า โดยมีแรงขับเคลื่อนจากภาคส่งออกที่ฟื้นตัว ทำให้อุตสาหกรรมภาคการผลิตมีการขยายตัวตาม ทั้งการลงทุน และจ้างงาน ส่งให้ภาคประชาชนกลับมามีกำลังบริโภคอีกครั้ง อีกปัจจัยสำคัญ คือ ภาคการเกษตรที่จะกลับมาเป็นบวก หลังแนวโน้มราคาน้ำมันมีแนวโมสูงขึ้น ทำให้พืชพลังงานทดแทนมีความต้องการ และราคาสูงขึ้นตาม รวมถึงกลุ่มอาหาร เช่น ข้าว ที่ทั่วโลกมีแนวโน้มต้องการซื้อเพิ่ม แต่สิ่งที่กังวลคือ หากเกิดปัญหามาบตาพุด หรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จะทำให้เศรษฐกิจโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้”นายธนวรรธน์กล่าว
สำหรับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวปีหน้า อยู่ในระดับ 75-85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และอาจปรับสูงขึ้นเป็น 90-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลได้ในครึ่งหลังของปี อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับ 3.2% อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 32-33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การว่างงานอยู่ที่ 0.9-1.1% การนำเข้าจะเพิ่ม 18-25.1% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 8,565-10,565 ล้านบาท