นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE เปิดเผยว่า ทรูยืนยันในการเข้าร่วมขบวนการคัดเลือกเพื่อรับใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ และมีแนวทางในการระดมทุนหลายแนวทางรวมทั้งการใช้กระแสเงินสด ซึ่งมีจำนวนกว่า 10,000 ล้านบาทในปลายไตรมาส 3 ปี 2552 เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพของบริการ 3G และมีความพร้อมที่จะให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบ การณ์ 3G ที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบ ด้วยคอนเทนต์ โครงข่าย และบริการต่างๆ บนแพลตฟอร์มหลากหลาย ภายใต้ยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์ของกลุ่มทรู
'เราเตรียมเงินไว้กว่า 1 หมื่นล้านบาทเพื่อเข้าร่วมการประมูลใบอนุญาต 3G'
สำหรับผลประกอบการกลุ่มทรูสิ้นไตรมาส 3 ปีนี้มีกำไรสุทธิจำนวน 123 ล้านบาท โดยรายได้จากการให้บริการโดยรวม (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย หรือ IC) ของกลุ่มทรูในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น 2.4% จากไตรมาสที่ผ่านมา เป็น 1.3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากการเติบโตของทรูมูฟและทรูวิชั่นส์หลัง การปรับตัวดีขึ้นตามฤดูกาล ทำให้ EBITDA (กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่าย) โดยรวมเพิ่มขึ้นในอัตรา0.9% เป็น 4.8 พันล้านบาท หลังหักรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในไตรมาส 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านคอนเทนท์ของทรูวิชั่นส์ หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า รายได้จากการให้บริการโดยรวม (ไม่รวมค่า IC) เพิ่มขึ้น 1.6% เนื่องจากการเติบโตของทรูมูฟและทรูออนไลน์
นอกจากนี้ EBITDA โดยรวมเพิ่มขึ้น 9.8% เนื่องจากรายได้จากการให้บริการที่เพิ่มขึ้นและความสำเร็จในการควบคุมรายจ่ายค่า IC สุทธิได้อย่างต่อเนื่อง
นายศุภชัยกล่าวว่าในไตรมาส 3กลุ่มทรูมีความก้าวหน้าในหลายๆ ด้าน โดยผลประกอบการของทรูมูฟปรับตัวดีขึ้นมากจากการเติบโตของบริการที่ไม่ใช่เสียง (Non-voice) ในขณะที่บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ (International Roaming หรือIR) เริ่มฟื้นตัว รวมทั้งความสำเร็จของทรูมูฟในการบริหารค่า IC สำหรับบริการบรอดแบนด์ มีรายได้เติบโตต่อเนื่อง และสามารถเพิ่มยอดผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิในอัตราก้าวกระโดด
นอกจากนั้น ทรูวิชั่นส์ยังได้รับอนุญาตจากบริษัท อสมท ให้ดำเนินการหารายได้จากโฆษณาในช่องรายการของทรูวิชั่นส์ ซึ่งจะส่งผลให้มีการผลิตคอนเทนท์ต่างๆ เพิ่มขึ้นและค่าโฆษณาจะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่มีความสำคัญต่อไปในอนาคต
สำหรับในไตรมาส 4 คาดว่าทรูมูฟจะได้รับประโยชน์จากการที่ตลาดโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่บริการแบบรายเดือนและบริการที่ไม่ใช่เสียงจะยังคงเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป
นอกจากนี้ การเปิดให้บริการบรอดแบนด์ความเร็ว 16 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงสุดในประเทศ ควบคู่กับการให้บริการทรูวิชั่นส์ สำหรับลูกค้าทั่วไป จะมีส่วนช่วยให้ลูกค้ามีความผูกพันกับบริการมากขึ้น และเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดบรอดแบนด์ของกลุ่มทรู
****ธุรกิจในเครือเติบโตต่อเนื่อง***
สำหรับผลประกอบการของทรูมูฟ มีรายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมค่า IC) เพิ่มขึ้น4.6% จากไตรมาส 2 เป็น 5.9 พันล้านบาท เนื่องจากการเติบโตของบริการที่ไม่ใช่เสียงและการฟื้นตัวของบริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ นอกจากนี้ EBITDA ยังเพิ่มขึ้นอย่างมาก 17.7% เป็น 1.8 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นและความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่ายและค่า IC ได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ รายได้จากการให้บริการโดยรวมเติบโต 6.8% ส่วนใหญ่มาจากบริการแบบรายเดือน และ EBITDA ยังเติบโต 32.3% ด้วยรายได้จากการให้บริการที่เพิ่มขึ้นและรายจ่ายค่า IC สุทธิที่ลดลง
ทั้งนี้ แม้ว่าตลาดโทรศัพท์มือถือจะเข้าใกล้จุดอิ่มตัว แต่ทรูมูฟสามารถเพิ่มยอดผู้ใช้บริการรายใหม่ในไตรมาส 3 ได้ 117,559 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้น 15.4 ล้านราย ในขณะที่บริการแบบรายเดือนยังคงเติบโดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 6.7% จากไตรมาสก่อนหน้า และ 22.5% จากปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการดำเนินกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์ และการขายไอโฟน 3G และ 3G S รวมทั้ง แบล็คเบอร์รี่
ด้านทรูออนไลน์ มีรายได้จากการให้บริการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา เป็น 6.5 พันล้านบาท โดยรายได้จากบริการบรอดแบนด์ บริการคอนเวอร์เจนซ์ และรายได้จากธุรกิจใหม่ๆ เช่น บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ (IDD) และธุรกิจดาต้าเกตเวย์เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถชดเชยรายได้จากบริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ลดลง สำหรับบริการบรอดแบนด์ มีรายได้เพิ่มขึ้น 11.7% จากปีก่อนหน้าเป็น 1.4 พันล้านบาท
ในขณะที่ทรูวิชั่นส์ มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น 25.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้าเป็น 1.64 ล้านรายในขณะที่การเริ่มรายการฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ช่วยทำให้ยอดสมาชิกแพ็คเกจพรีเมี่ยมเติบโตขึ้น หลังจากได้รับผลกระทบจากฤดูกาลในไตรมาส 2 ยิ่งไปกว่านั้นอัตราการเปลี่ยนแพ็คเกจสำหรับลูกค้าในระดับกลาง-ล่างมาใช้แพ็คเกจที่มีราคาสูงกว่าของทรูวิชั่นส์ เพิ่มขึ้นเป็น 36.8% จาก 26.3% ในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ในไตรมาส 3 ทรูวิชั่นส์มีรายได้จากการให้บริการเพิ่มขึ้น 4.2% จากไตรมาสที่ผ่านมาเป็น 2.3 พันล้านบาท
นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน กล่าวว่าสถานะทางการเงินของกลุ่มทรูปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทเพื่อชำระคืนหนี้ของทรูออนไลน์ประสบความสำเร็จโดยสามารถระดมทุนได้ประมาณ 7 พันล้านบาท และหลังจากการจัดทำรีไฟแนนซิ่งให้กับธุรกิจ ทรูออนไลน์เรียบร้อยแล้ว บริษัทมีแผนที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับธุรกิจทรูมูฟและธุรกิจทรูวิชั่นส์ต่อไป
'ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2552 กลุ่มบริษัททรูได้ชำระคืนหนี้จำนวน 4.9 พันล้านบาท ทำให้ปัจจุบันอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA ลดลงเป็น 2.9 เท่า เมื่อเทียบกับ 3.6 เท่าในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า'
****คลังหนุนเร่งประมูล 3G***
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวถึงกรณีการเร่งออกใบอนุญาต 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้แก่ผู้ประกอบการเอกชน ว่า รัฐบาลเห็นด้วยที่จะต้องเร่งออกใบอนุญาตโดยเร็ว แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังและรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังดูแลคือการร่างหลักเกณฑ์ที่จะป้องกันรายได้ที่จะสูญเสียจากสัญญาสัมปทานของบริษัทเอกชนที่มีต่อ บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งจากเทคโนโลยีที่สูงขึ้นจะมีผลให้เอกชนที่เคยรับสัมปทานให้บริการ 2G สามารถเปลี่ยนลูกค้าไปเป็น 3Gได้ทั้งหมด รายได้ที่รัฐเคยได้รับจากส่วนนี้ก็จะหายไป ดังนั้นถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังจะปกป้องผลประโยชน์ส่วนนี้ โดยหลักเกณฑ์ที่จะเกิดขึ้นภายหลังนี้จะต้องให้มีผลกระทบกับรายได้น้อยที่สุด
ขณะที่หากทีโอที จะลงทุน 3G แข่งขันกับเอกชนรายใหญ่ ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมาก กระทรวงการคลังจะค้ำประกันหรือไม่นั้น นายกรณ์ กล่าวว่า เมื่อมองระบบ 3G เป็นธุรกิจ ทีโอทีซึ่งแม้จะเป็นรัฐวิสาหกิจแต่ก็เป็นเชิงพาณิชย์ ซึ่งกระทรวงการคลังต้องการให้ยืนได้บนขาตัวเอง เช่นบมจ.การบินไทย ที่ตอนแรกก็ต้องการเพิ่มทุนเช่นกัน แต่กระทรวงการคลังก็ยืนกรานให้ปรับโครงสร้างภายในและที่สุดก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนและไม่เป็นภาระกับรัฐและประชาชนโดยทั่วไป
***ADVANCทุ่ม 5 หมื่นล.ลง 3G
นายพรรัตน์ เจนจรัสสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและวิเคราะห์การตลาด บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) กล่าวว่า หากบริษัทมีการลงทุนวางโครงข่ายเพื่อรองรับการให้บริการระบบ 3G ในช่วง 3 ปีข้างหน้า จะส่งผลอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวลดลงประมาณ 2-3% ในช่วง 2 ปีแรก ให้ในช่วง 2 ปีแรก เนื่องจากจะต้องมีเงินลงทุนจำนวนมาก แต่มั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผลที่ตั้งเป้าหมายจะจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่าปีนี้ที่จ่ายในอัตราหุ้นละ 6.30บาท
ทั้งนี้ หากมีการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G ในปี 53 คาดว่าใช้เงินลงทุนต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ปีละประมาณ 1.5-1.7 หมื่นล้านบาท ภายใต้งบลงทุนรวมทั้งหมดประมาณ 5 หมื่นล้านบาทภายในระยะเวลา 3 ปี
'เราเตรียมเงินไว้กว่า 1 หมื่นล้านบาทเพื่อเข้าร่วมการประมูลใบอนุญาต 3G'
สำหรับผลประกอบการกลุ่มทรูสิ้นไตรมาส 3 ปีนี้มีกำไรสุทธิจำนวน 123 ล้านบาท โดยรายได้จากการให้บริการโดยรวม (ไม่รวมค่าเชื่อมโยงโครงข่าย หรือ IC) ของกลุ่มทรูในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น 2.4% จากไตรมาสที่ผ่านมา เป็น 1.3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากการเติบโตของทรูมูฟและทรูวิชั่นส์หลัง การปรับตัวดีขึ้นตามฤดูกาล ทำให้ EBITDA (กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่าย) โดยรวมเพิ่มขึ้นในอัตรา0.9% เป็น 4.8 พันล้านบาท หลังหักรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในไตรมาส 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านคอนเทนท์ของทรูวิชั่นส์ หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า รายได้จากการให้บริการโดยรวม (ไม่รวมค่า IC) เพิ่มขึ้น 1.6% เนื่องจากการเติบโตของทรูมูฟและทรูออนไลน์
นอกจากนี้ EBITDA โดยรวมเพิ่มขึ้น 9.8% เนื่องจากรายได้จากการให้บริการที่เพิ่มขึ้นและความสำเร็จในการควบคุมรายจ่ายค่า IC สุทธิได้อย่างต่อเนื่อง
นายศุภชัยกล่าวว่าในไตรมาส 3กลุ่มทรูมีความก้าวหน้าในหลายๆ ด้าน โดยผลประกอบการของทรูมูฟปรับตัวดีขึ้นมากจากการเติบโตของบริการที่ไม่ใช่เสียง (Non-voice) ในขณะที่บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ (International Roaming หรือIR) เริ่มฟื้นตัว รวมทั้งความสำเร็จของทรูมูฟในการบริหารค่า IC สำหรับบริการบรอดแบนด์ มีรายได้เติบโตต่อเนื่อง และสามารถเพิ่มยอดผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิในอัตราก้าวกระโดด
นอกจากนั้น ทรูวิชั่นส์ยังได้รับอนุญาตจากบริษัท อสมท ให้ดำเนินการหารายได้จากโฆษณาในช่องรายการของทรูวิชั่นส์ ซึ่งจะส่งผลให้มีการผลิตคอนเทนท์ต่างๆ เพิ่มขึ้นและค่าโฆษณาจะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่มีความสำคัญต่อไปในอนาคต
สำหรับในไตรมาส 4 คาดว่าทรูมูฟจะได้รับประโยชน์จากการที่ตลาดโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่บริการแบบรายเดือนและบริการที่ไม่ใช่เสียงจะยังคงเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป
นอกจากนี้ การเปิดให้บริการบรอดแบนด์ความเร็ว 16 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงสุดในประเทศ ควบคู่กับการให้บริการทรูวิชั่นส์ สำหรับลูกค้าทั่วไป จะมีส่วนช่วยให้ลูกค้ามีความผูกพันกับบริการมากขึ้น และเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดบรอดแบนด์ของกลุ่มทรู
****ธุรกิจในเครือเติบโตต่อเนื่อง***
สำหรับผลประกอบการของทรูมูฟ มีรายได้จากการให้บริการ (ไม่รวมค่า IC) เพิ่มขึ้น4.6% จากไตรมาส 2 เป็น 5.9 พันล้านบาท เนื่องจากการเติบโตของบริการที่ไม่ใช่เสียงและการฟื้นตัวของบริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศ นอกจากนี้ EBITDA ยังเพิ่มขึ้นอย่างมาก 17.7% เป็น 1.8 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นและความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่ายและค่า IC ได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ รายได้จากการให้บริการโดยรวมเติบโต 6.8% ส่วนใหญ่มาจากบริการแบบรายเดือน และ EBITDA ยังเติบโต 32.3% ด้วยรายได้จากการให้บริการที่เพิ่มขึ้นและรายจ่ายค่า IC สุทธิที่ลดลง
ทั้งนี้ แม้ว่าตลาดโทรศัพท์มือถือจะเข้าใกล้จุดอิ่มตัว แต่ทรูมูฟสามารถเพิ่มยอดผู้ใช้บริการรายใหม่ในไตรมาส 3 ได้ 117,559 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้น 15.4 ล้านราย ในขณะที่บริการแบบรายเดือนยังคงเติบโดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 6.7% จากไตรมาสก่อนหน้า และ 22.5% จากปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการดำเนินกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์ และการขายไอโฟน 3G และ 3G S รวมทั้ง แบล็คเบอร์รี่
ด้านทรูออนไลน์ มีรายได้จากการให้บริการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมา เป็น 6.5 พันล้านบาท โดยรายได้จากบริการบรอดแบนด์ บริการคอนเวอร์เจนซ์ และรายได้จากธุรกิจใหม่ๆ เช่น บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ (IDD) และธุรกิจดาต้าเกตเวย์เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถชดเชยรายได้จากบริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ลดลง สำหรับบริการบรอดแบนด์ มีรายได้เพิ่มขึ้น 11.7% จากปีก่อนหน้าเป็น 1.4 พันล้านบาท
ในขณะที่ทรูวิชั่นส์ มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น 25.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้าเป็น 1.64 ล้านรายในขณะที่การเริ่มรายการฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ช่วยทำให้ยอดสมาชิกแพ็คเกจพรีเมี่ยมเติบโตขึ้น หลังจากได้รับผลกระทบจากฤดูกาลในไตรมาส 2 ยิ่งไปกว่านั้นอัตราการเปลี่ยนแพ็คเกจสำหรับลูกค้าในระดับกลาง-ล่างมาใช้แพ็คเกจที่มีราคาสูงกว่าของทรูวิชั่นส์ เพิ่มขึ้นเป็น 36.8% จาก 26.3% ในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ในไตรมาส 3 ทรูวิชั่นส์มีรายได้จากการให้บริการเพิ่มขึ้น 4.2% จากไตรมาสที่ผ่านมาเป็น 2.3 พันล้านบาท
นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน กล่าวว่าสถานะทางการเงินของกลุ่มทรูปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทเพื่อชำระคืนหนี้ของทรูออนไลน์ประสบความสำเร็จโดยสามารถระดมทุนได้ประมาณ 7 พันล้านบาท และหลังจากการจัดทำรีไฟแนนซิ่งให้กับธุรกิจ ทรูออนไลน์เรียบร้อยแล้ว บริษัทมีแผนที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับธุรกิจทรูมูฟและธุรกิจทรูวิชั่นส์ต่อไป
'ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2552 กลุ่มบริษัททรูได้ชำระคืนหนี้จำนวน 4.9 พันล้านบาท ทำให้ปัจจุบันอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA ลดลงเป็น 2.9 เท่า เมื่อเทียบกับ 3.6 เท่าในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า'
****คลังหนุนเร่งประมูล 3G***
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวถึงกรณีการเร่งออกใบอนุญาต 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้แก่ผู้ประกอบการเอกชน ว่า รัฐบาลเห็นด้วยที่จะต้องเร่งออกใบอนุญาตโดยเร็ว แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังและรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังดูแลคือการร่างหลักเกณฑ์ที่จะป้องกันรายได้ที่จะสูญเสียจากสัญญาสัมปทานของบริษัทเอกชนที่มีต่อ บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ซึ่งจากเทคโนโลยีที่สูงขึ้นจะมีผลให้เอกชนที่เคยรับสัมปทานให้บริการ 2G สามารถเปลี่ยนลูกค้าไปเป็น 3Gได้ทั้งหมด รายได้ที่รัฐเคยได้รับจากส่วนนี้ก็จะหายไป ดังนั้นถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังจะปกป้องผลประโยชน์ส่วนนี้ โดยหลักเกณฑ์ที่จะเกิดขึ้นภายหลังนี้จะต้องให้มีผลกระทบกับรายได้น้อยที่สุด
ขณะที่หากทีโอที จะลงทุน 3G แข่งขันกับเอกชนรายใหญ่ ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมาก กระทรวงการคลังจะค้ำประกันหรือไม่นั้น นายกรณ์ กล่าวว่า เมื่อมองระบบ 3G เป็นธุรกิจ ทีโอทีซึ่งแม้จะเป็นรัฐวิสาหกิจแต่ก็เป็นเชิงพาณิชย์ ซึ่งกระทรวงการคลังต้องการให้ยืนได้บนขาตัวเอง เช่นบมจ.การบินไทย ที่ตอนแรกก็ต้องการเพิ่มทุนเช่นกัน แต่กระทรวงการคลังก็ยืนกรานให้ปรับโครงสร้างภายในและที่สุดก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนและไม่เป็นภาระกับรัฐและประชาชนโดยทั่วไป
***ADVANCทุ่ม 5 หมื่นล.ลง 3G
นายพรรัตน์ เจนจรัสสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและวิเคราะห์การตลาด บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) กล่าวว่า หากบริษัทมีการลงทุนวางโครงข่ายเพื่อรองรับการให้บริการระบบ 3G ในช่วง 3 ปีข้างหน้า จะส่งผลอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวลดลงประมาณ 2-3% ในช่วง 2 ปีแรก ให้ในช่วง 2 ปีแรก เนื่องจากจะต้องมีเงินลงทุนจำนวนมาก แต่มั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผลที่ตั้งเป้าหมายจะจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่าปีนี้ที่จ่ายในอัตราหุ้นละ 6.30บาท
ทั้งนี้ หากมีการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G ในปี 53 คาดว่าใช้เงินลงทุนต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ปีละประมาณ 1.5-1.7 หมื่นล้านบาท ภายใต้งบลงทุนรวมทั้งหมดประมาณ 5 หมื่นล้านบาทภายในระยะเวลา 3 ปี