คลังเผยสินเชื่อ 6 แบงก์รัฐฟื้นฟูเศรษฐกิจเกินเป้าแตะระดับ 9.39 แสนล้านบาท เบิกจ่ายถึง 8.8 แสนล้าน ขณะที่สินเชื่อฟาสต์แทรกครม.ไฟเขียวขยายโครงการถึงสิ้นปีพร้อมเพิ่มเป้าสินเชื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังเปิดเผยภายหลังเป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการอำนวยสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2552ว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ(เอสเอฟไอ) 6 แห่งประกอบด้วย ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรการเกษตร(ธ.ก.ส.) ธนาคาร ออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) ธนาคารเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(ธพว.)และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์) ได้รายงานผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 6 พฤศิกายนพบว่า สามารถอนุมัติสินเชื่อได้ 9.39 แสนล้านบาท คิดเป็น 101.35% จากเป้าหมาย 9.27 แสนล้านบาท
สำหรับสินเชื่อเอสเอฟไอที่อนุมัติสินเชื่อไปแล้วคิดเป็นจำนวนราย 4 ล้านราย มีการเบิกจ่ายแล้ว 8.8 แสนล้านบาท คิดเป็น 95.03% ของเป้าหมาย โดยธนาคารที่ทำได้สูงกว่าเป้าหมายมากที่สุดคือ ออมสิน อนุมัติสินเชื่อได้ 3.59 แสนล้านบาทหรือ 148.33% ของเป้าหมายที่ได้รับเพิ่ม 2.42 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นธสน. อนุมัติสินเชื่อได้ 4.1 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 110.81% ของเป้าหมาย 3.7 หมื่นล้านบาท ธอส. อนุมัติสินเชื่อได้ 8.8 หมื่นล้านบาทคิดเป็น 88.95% ของเป้าหมาย 1 แสนล้านบาท และธ.ก.ส. อนุมัติสินเชื่อได้ 3.96 แสนล้านบาทหรือ 84.41% ของเป้าหมาย 4.7 แสนล้านบาท
นายประดิษฐ์กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 5 สิงหาคมมีมติให้เอสเอฟไอขยายเป้าหมายสินเชื่อเพิ่มขึ้นจาก 6.25 แสนล้านบาทเป็น 9.27 แสนล้านบาทหรือ เพิ่มขึ้น 3 แสนล้านบาท โดยในจำนวนเงินสินเชื่อดังกล่าวได้จัดให้มีโครงการสินเชื่ออนุมัติเร่งด่วน(Fast Track) วงเงิน 5.8 หมื่นล้านบาท หลังจากสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 ตุลาคม 2552 พบว่า สามารถปล่อยสินเชื่อได้ 5.17 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 89.21% ของโครงการ
ที่ประชุมจึงมีมติให้ขยายโครงการออกไปถึงสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 พร้อมกับขยายเป้าหมายสินเชื่อ Fast Track ออกไปเป็น 6.4 หมื่นล้านบาท พร้อมปรับเป้าหมายเพิ่มในบางธนาคาร คือ ธนาคารออมเพิ่มจาก 1 หมื่นล้านบาทเป็น 1.1 หมื่นล้านบาท ไอแบงก์ขยายเป้าหมายจาก 4 พันล้านบาทเป็น 6 พันล้านบาท ธสน.ขยายเป้าหมายจาก 3.5 พันล้านบาทเป็น 5 พันล้านบาท และธพว.จาก3.5 พันล้านบาทเป็น 5 พันล้านบาท
“จากตัวเลขการปล่อยสินเชื่อดังกล่าว คณะกรรมการ ซึ่งจะมีตัวแทนจากสมาคมท่องเที่ยว สภาอุตสาหกรรม และสภาหอการค้าไทยเห็นว่า เป็นโครงการที่เดินหน้าสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและผลักดันออกสู่ระบบที่ประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย จากตัวเลขการเบิกจ่ายที่ออก และหากรวมกับธนาคาร กรุงไทย จำกัด(มหาชน)KTB ที่ขยายเป้าหมายสินเชื่อเพิ่มอีก 3 แสนล้านบาท ปรากฏว่าสามารถปล่อยได้ถึง 4.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสินเชื่อรวมที่จะออกสู่ระบบเป็น 1.37 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2552 ได้ 0.4% จากเป้าหมายเดิมจะมีสินเชื่ออกสู่ระบบทั้งสิ้น 1.25 ล้านล้านบาท”นายประดิษฐ์กล่าว
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังเปิดเผยภายหลังเป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการอำนวยสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2552ว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ(เอสเอฟไอ) 6 แห่งประกอบด้วย ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรการเกษตร(ธ.ก.ส.) ธนาคาร ออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) ธนาคารเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(ธพว.)และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์) ได้รายงานผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 6 พฤศิกายนพบว่า สามารถอนุมัติสินเชื่อได้ 9.39 แสนล้านบาท คิดเป็น 101.35% จากเป้าหมาย 9.27 แสนล้านบาท
สำหรับสินเชื่อเอสเอฟไอที่อนุมัติสินเชื่อไปแล้วคิดเป็นจำนวนราย 4 ล้านราย มีการเบิกจ่ายแล้ว 8.8 แสนล้านบาท คิดเป็น 95.03% ของเป้าหมาย โดยธนาคารที่ทำได้สูงกว่าเป้าหมายมากที่สุดคือ ออมสิน อนุมัติสินเชื่อได้ 3.59 แสนล้านบาทหรือ 148.33% ของเป้าหมายที่ได้รับเพิ่ม 2.42 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นธสน. อนุมัติสินเชื่อได้ 4.1 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 110.81% ของเป้าหมาย 3.7 หมื่นล้านบาท ธอส. อนุมัติสินเชื่อได้ 8.8 หมื่นล้านบาทคิดเป็น 88.95% ของเป้าหมาย 1 แสนล้านบาท และธ.ก.ส. อนุมัติสินเชื่อได้ 3.96 แสนล้านบาทหรือ 84.41% ของเป้าหมาย 4.7 แสนล้านบาท
นายประดิษฐ์กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 5 สิงหาคมมีมติให้เอสเอฟไอขยายเป้าหมายสินเชื่อเพิ่มขึ้นจาก 6.25 แสนล้านบาทเป็น 9.27 แสนล้านบาทหรือ เพิ่มขึ้น 3 แสนล้านบาท โดยในจำนวนเงินสินเชื่อดังกล่าวได้จัดให้มีโครงการสินเชื่ออนุมัติเร่งด่วน(Fast Track) วงเงิน 5.8 หมื่นล้านบาท หลังจากสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 ตุลาคม 2552 พบว่า สามารถปล่อยสินเชื่อได้ 5.17 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 89.21% ของโครงการ
ที่ประชุมจึงมีมติให้ขยายโครงการออกไปถึงสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 พร้อมกับขยายเป้าหมายสินเชื่อ Fast Track ออกไปเป็น 6.4 หมื่นล้านบาท พร้อมปรับเป้าหมายเพิ่มในบางธนาคาร คือ ธนาคารออมเพิ่มจาก 1 หมื่นล้านบาทเป็น 1.1 หมื่นล้านบาท ไอแบงก์ขยายเป้าหมายจาก 4 พันล้านบาทเป็น 6 พันล้านบาท ธสน.ขยายเป้าหมายจาก 3.5 พันล้านบาทเป็น 5 พันล้านบาท และธพว.จาก3.5 พันล้านบาทเป็น 5 พันล้านบาท
“จากตัวเลขการปล่อยสินเชื่อดังกล่าว คณะกรรมการ ซึ่งจะมีตัวแทนจากสมาคมท่องเที่ยว สภาอุตสาหกรรม และสภาหอการค้าไทยเห็นว่า เป็นโครงการที่เดินหน้าสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและผลักดันออกสู่ระบบที่ประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย จากตัวเลขการเบิกจ่ายที่ออก และหากรวมกับธนาคาร กรุงไทย จำกัด(มหาชน)KTB ที่ขยายเป้าหมายสินเชื่อเพิ่มอีก 3 แสนล้านบาท ปรากฏว่าสามารถปล่อยได้ถึง 4.5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสินเชื่อรวมที่จะออกสู่ระบบเป็น 1.37 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2552 ได้ 0.4% จากเป้าหมายเดิมจะมีสินเชื่ออกสู่ระบบทั้งสิ้น 1.25 ล้านล้านบาท”นายประดิษฐ์กล่าว