โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ เผย "เฮอร์เมลิน" ซื้อหุ้น ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส 48.46% ที่ราคาหุ้นละ 23 บาท เตรียมทำเทนเดอร์ฯ หุ้นส่วนที่เหลือ คาดดีลนี้เสร็จเดือนตุลาคมนี้ โดยTTA หวังขยายกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน และเสริมประโยชน์ร่วมกันให้ธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าและเหมืองถ่านหิน
ม.ล. จันทรจุฑา จันทรทัต กรรมการผู้จัดการ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) (TTA) เปิดเผยว่า บริษัท เฮอร์เมลิน ชิปปิ้ง จำกัด( เฮอร์เมลิน ) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้น 99.99% เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นของ บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน) (UMS) จากผู้ถือหุ้นรายใหญ่สองรายคือ นายไพบูลย์ เฉลิมทรัพยากร และนายชัยวัฒน์ เครือชะเอม ในจำนวน 52,858,520 หุ้น คิดเป็น 34.78% และ 20,790,646 หุ้น คิดเป็น 13.68% ตามลำดับ คิดเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 48.46% ของทุนชำระแล้วของ UMS ในราคา 23 บาทต่อหุ้น
นอกจากนี้ยังรวมถึงใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์)ที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดย UMS (ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ) จากนายชัยวัฒน์ จำนวน 3,222,100 หน่วย หรือ 5.55% ของจำนวนวอร์แรนต์คงเหลือของ UMS ในราคา 14.6579 บาทต่อหน่วย (รวมเรียกว่า รายการ ) ซึ่งบริษัทย่อยดังกล่าวจะใช้เงินทุนที่ใช้ มาจากเงินสดคงเหลือ เงินทุนหมุนเวียน และเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์
จากการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งสองดังกล่าว ทำให้เกิดการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน UMS เป็น เฮอร์เมลิน และทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ เฮอร์เมลิน ใน UMS เกินกว่า 25 % ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายของ UMS ซึ่งทำให้เฮอร์เมลิน ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นและวอร์แรนต์จากผู้ถือหุ้นและผู้ถือวอร์แรนต์ที่เหลือ ทั้งนี้จำนวนรวมของหุ้นที่ เฮอร์เมลิน จะซื้อจากผู้ถือหุ้นที่เหลือจะไม่เกิน 78,315,819 หุ้น และเฮอร์เมลินจะซื้อวอร์แรนต์จากผู้ถือวอร์แรนต์ ที่เหลือไม่เกิน 54,860,614 หน่วย
ทั้งนี้ เฮอร์เมลินคาดว่าจะเข้าทำรายการภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 หลังจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเฮอร์เมลิน อนุมัติการเข้าทำรายการดังกล่าวและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติในสัญญาซื้อขายหุ้น ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ระหว่างเฮอร์เมลิน กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งสองรายของ UMS เสร็จสิ้นลงแล้ว
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณากี่ยวกับการตกลงเข้าทำรายการแล้วเห็นว่า ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำรายการคือเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจของกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน (niche logistics sector) โดยเชื่อว่าการเข้าซื้อหุ้นใน UMS ซึ่งจัดเป็นผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในด้านการค้าถ่านหินจะช่วยเสริมสร้างประโยชน์ร่วมกันให้กับทั้งธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง และธุรกิจนายหน้าเช่าเหมาเรือ รวมไปถึงธุรกิจเหมืองถ่านหินที่กลุ่มบริษัท TTA ได้เริ่มเข้าไปลงทุนเมื่อเร็ว ๆ นี้
ขณะ UMS แจ้งว่าการบริหารนั้นนายชัยวัฒน์ เครือชะเอม ยังคงดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ ส่วนนายไพบูลย์ เฉลิมทรัพยากร ยังอยู่ระหว่างการปรึกษากับผู้ซื้อถ้าทราบความชัดเจนจะแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบภายหลัง
ม.ล. จันทรจุฑา จันทรทัต กรรมการผู้จัดการ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) (TTA) เปิดเผยว่า บริษัท เฮอร์เมลิน ชิปปิ้ง จำกัด( เฮอร์เมลิน ) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้น 99.99% เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นของ บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน) (UMS) จากผู้ถือหุ้นรายใหญ่สองรายคือ นายไพบูลย์ เฉลิมทรัพยากร และนายชัยวัฒน์ เครือชะเอม ในจำนวน 52,858,520 หุ้น คิดเป็น 34.78% และ 20,790,646 หุ้น คิดเป็น 13.68% ตามลำดับ คิดเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 48.46% ของทุนชำระแล้วของ UMS ในราคา 23 บาทต่อหุ้น
นอกจากนี้ยังรวมถึงใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนต์)ที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดย UMS (ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ) จากนายชัยวัฒน์ จำนวน 3,222,100 หน่วย หรือ 5.55% ของจำนวนวอร์แรนต์คงเหลือของ UMS ในราคา 14.6579 บาทต่อหน่วย (รวมเรียกว่า รายการ ) ซึ่งบริษัทย่อยดังกล่าวจะใช้เงินทุนที่ใช้ มาจากเงินสดคงเหลือ เงินทุนหมุนเวียน และเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์
จากการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งสองดังกล่าว ทำให้เกิดการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน UMS เป็น เฮอร์เมลิน และทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ เฮอร์เมลิน ใน UMS เกินกว่า 25 % ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายของ UMS ซึ่งทำให้เฮอร์เมลิน ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นและวอร์แรนต์จากผู้ถือหุ้นและผู้ถือวอร์แรนต์ที่เหลือ ทั้งนี้จำนวนรวมของหุ้นที่ เฮอร์เมลิน จะซื้อจากผู้ถือหุ้นที่เหลือจะไม่เกิน 78,315,819 หุ้น และเฮอร์เมลินจะซื้อวอร์แรนต์จากผู้ถือวอร์แรนต์ ที่เหลือไม่เกิน 54,860,614 หน่วย
ทั้งนี้ เฮอร์เมลินคาดว่าจะเข้าทำรายการภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 หลังจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเฮอร์เมลิน อนุมัติการเข้าทำรายการดังกล่าวและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติในสัญญาซื้อขายหุ้น ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ระหว่างเฮอร์เมลิน กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งสองรายของ UMS เสร็จสิ้นลงแล้ว
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณากี่ยวกับการตกลงเข้าทำรายการแล้วเห็นว่า ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำรายการคือเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจของกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน (niche logistics sector) โดยเชื่อว่าการเข้าซื้อหุ้นใน UMS ซึ่งจัดเป็นผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในด้านการค้าถ่านหินจะช่วยเสริมสร้างประโยชน์ร่วมกันให้กับทั้งธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง และธุรกิจนายหน้าเช่าเหมาเรือ รวมไปถึงธุรกิจเหมืองถ่านหินที่กลุ่มบริษัท TTA ได้เริ่มเข้าไปลงทุนเมื่อเร็ว ๆ นี้
ขณะ UMS แจ้งว่าการบริหารนั้นนายชัยวัฒน์ เครือชะเอม ยังคงดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ ส่วนนายไพบูลย์ เฉลิมทรัพยากร ยังอยู่ระหว่างการปรึกษากับผู้ซื้อถ้าทราบความชัดเจนจะแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์ทราบภายหลัง