แบงก์ธนชาตเดินหน้าเต็มสูบ ซื้อนครหลวงไทย (SCIB) ผู้ถือหุ้นไฟเขียวเพิ่มทุน 4 หมื่นล้าน เตรียมความพร้อมเข้าประมูลซื้อหุ้น วาดแผนควบรวมเพิ่มศักยภาพสู้บิ๊กคู่แข่ง
นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ ธนคารธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TBANK ในเครือของบริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP เปิดเผยว่า ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 52 มีมติเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 4 หมื่นล้านบาท โดยออกหุ้นใหม่ไม่เกิน 4 พันล้านหุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท เพื่อเตรียมรองรับการเข้าร่วมประมูลซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB จากการที่ธนาคารมีความสนใจเข้าร่วมประมูลดังกล่าว
ทั้งนี้ หากสามารถชนะประมูลซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทยได้ ธนาคารมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อการลงทุนและใช้ในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการขยายฐานเงินกองทุนสำหรับรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของธนาคาร โดยจะทำให้ธนาคารมีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้น และหากมีการควบรวมธนาคารนครหลวงไทยกับธนาคารธนชาตในอนาคตก็จะสามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันได้เป็นอย่างดี
"ผู้ถือหุ้นของธนาคารได้อนุมัติให้เพิ่มทุนอีก 4 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับความจำเป็นในการใช้เงินลงทุนในอนาคต และเราสนใจซื้อธนาคารนครหลวงไทย เราชัดเจนมานานแล้ว ปัจจุบันกลุ่มธนชาตถือหุ้นในธนาคารนครหลวงไทยกว่า 15% ขณะที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือเอฟไอดีเอฟเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ สัดส่วน 47.58%" นายบันเทิงกล่าว
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มทุนดังกล่าาวธนาคารจะต้องทำการลดทุนจดทะเบียนลงก่อนจาก 19,346,192,920 บาท ให้เป็น 19,346,192,720 บาท หรือ หลังจากนั้นจะเพิ่มทุน 40,000 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญจำนวนไม่เกิน 4,000 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เพื่อเพิ่มทุนจดทะเบียนให้เป็น 59,346,192,720 บาท
ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ทุนธนชาต ครั้งที่ 10/2552 เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมาได้มีมติอนุมัติให้ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เข้าร่วมประมูลซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทย จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามขั้นตอนที่กองทุนจะประกาศกำหนด
ขณะที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้ประกาศให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเข้าร่วมฟังการชี้แจงขอบเขตงานเกี่ยวกับกลยุทธ์การดำเนินการขายหุ้นของธนาคารนครหลวงไทย ในส่วนที่กองทุนฯถืออยู่ 47.58% โดยระบุว่ามีบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจำนวน 10 แห่ง จากทั้งสิ้น 22 แห่ง ซึ่งทางกองทุนกำหนดให้ที่ปรึกษาทางการเงินต้องยื่นแผนการดำเนินการกับหุ้นของ ธนาคารนครหลวงไทยภายในวันที่ 2 ต.ค.นี้ เพื่อใช้เวลาคัดเลือกบริษัทที่ดีที่สุดให้ได้ภายในวันที่ 22 ต.ค.นี้ ตามที่กำหนดไว้
ขั้นตอนในการพิจารณานั้น กองทุนจะต้องนำแผนของบริษัทต่างๆที่เสนอมาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณาต่อไป ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการตั้งราคากลางในการขายหุ้นของธนาคารนครหลวงไทยอย่างใด เนื่องจากกองทุนอยากให้บริษัทเสนอเทคนิคและกลยุทธ์การดำเนินงานที่ดีที่สุดให้กองทุนเลือก และต้องมองเห็นโอกาสความสำเร็จของธุรกิจในอนาคต ต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อธนาคาร และมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งบริษัทที่ไม่ได้มาฟังคำชี้แจงในวันดังกล่าว ก็มีโอกาสที่จะเข้ามาขอรายละเอียดและสามารถยื่นเสนอแผนให้พิจารณาได้เช่นกัน
นอกจากกลุ่มธนชาตแล้ว สถาบันการเงินที่แสดงความสนใจซื้อ SCIB ได้แก่ ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) และ ธนาคารอินดัสเตรียลแอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ออฟ ไชน่า (ICBC) เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวโบรกเกอร์เชื่อว่า กองทุนฟื้นฟูฯ จะเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยพิจารณาจากประโยชน์สูงสุดต่อธนาคารทั้งเรื่องการสร้างกำไร และความสามารถในการแข่งขัน ส่วนราคาเสนอซื้ออาจเป็นปัจจัยรองลงมา โดยโอกาสมากสุดน่าจะเป็นกลุ่มธนชาตที่จะนำ SCIB ควบรวมกับ TBANK
นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ ธนคารธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TBANK ในเครือของบริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TCAP เปิดเผยว่า ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 52 มีมติเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 4 หมื่นล้านบาท โดยออกหุ้นใหม่ไม่เกิน 4 พันล้านหุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท เพื่อเตรียมรองรับการเข้าร่วมประมูลซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB จากการที่ธนาคารมีความสนใจเข้าร่วมประมูลดังกล่าว
ทั้งนี้ หากสามารถชนะประมูลซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทยได้ ธนาคารมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อการลงทุนและใช้ในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการขยายฐานเงินกองทุนสำหรับรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของธนาคาร โดยจะทำให้ธนาคารมีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้น และหากมีการควบรวมธนาคารนครหลวงไทยกับธนาคารธนชาตในอนาคตก็จะสามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันได้เป็นอย่างดี
"ผู้ถือหุ้นของธนาคารได้อนุมัติให้เพิ่มทุนอีก 4 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับความจำเป็นในการใช้เงินลงทุนในอนาคต และเราสนใจซื้อธนาคารนครหลวงไทย เราชัดเจนมานานแล้ว ปัจจุบันกลุ่มธนชาตถือหุ้นในธนาคารนครหลวงไทยกว่า 15% ขณะที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหรือเอฟไอดีเอฟเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ สัดส่วน 47.58%" นายบันเทิงกล่าว
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มทุนดังกล่าาวธนาคารจะต้องทำการลดทุนจดทะเบียนลงก่อนจาก 19,346,192,920 บาท ให้เป็น 19,346,192,720 บาท หรือ หลังจากนั้นจะเพิ่มทุน 40,000 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญจำนวนไม่เกิน 4,000 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เพื่อเพิ่มทุนจดทะเบียนให้เป็น 59,346,192,720 บาท
ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ทุนธนชาต ครั้งที่ 10/2552 เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมาได้มีมติอนุมัติให้ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย เข้าร่วมประมูลซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทย จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามขั้นตอนที่กองทุนจะประกาศกำหนด
ขณะที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้ประกาศให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเข้าร่วมฟังการชี้แจงขอบเขตงานเกี่ยวกับกลยุทธ์การดำเนินการขายหุ้นของธนาคารนครหลวงไทย ในส่วนที่กองทุนฯถืออยู่ 47.58% โดยระบุว่ามีบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจำนวน 10 แห่ง จากทั้งสิ้น 22 แห่ง ซึ่งทางกองทุนกำหนดให้ที่ปรึกษาทางการเงินต้องยื่นแผนการดำเนินการกับหุ้นของ ธนาคารนครหลวงไทยภายในวันที่ 2 ต.ค.นี้ เพื่อใช้เวลาคัดเลือกบริษัทที่ดีที่สุดให้ได้ภายในวันที่ 22 ต.ค.นี้ ตามที่กำหนดไว้
ขั้นตอนในการพิจารณานั้น กองทุนจะต้องนำแผนของบริษัทต่างๆที่เสนอมาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณาต่อไป ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการตั้งราคากลางในการขายหุ้นของธนาคารนครหลวงไทยอย่างใด เนื่องจากกองทุนอยากให้บริษัทเสนอเทคนิคและกลยุทธ์การดำเนินงานที่ดีที่สุดให้กองทุนเลือก และต้องมองเห็นโอกาสความสำเร็จของธุรกิจในอนาคต ต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อธนาคาร และมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งบริษัทที่ไม่ได้มาฟังคำชี้แจงในวันดังกล่าว ก็มีโอกาสที่จะเข้ามาขอรายละเอียดและสามารถยื่นเสนอแผนให้พิจารณาได้เช่นกัน
นอกจากกลุ่มธนชาตแล้ว สถาบันการเงินที่แสดงความสนใจซื้อ SCIB ได้แก่ ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) และ ธนาคารอินดัสเตรียลแอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ออฟ ไชน่า (ICBC) เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวโบรกเกอร์เชื่อว่า กองทุนฟื้นฟูฯ จะเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยพิจารณาจากประโยชน์สูงสุดต่อธนาคารทั้งเรื่องการสร้างกำไร และความสามารถในการแข่งขัน ส่วนราคาเสนอซื้ออาจเป็นปัจจัยรองลงมา โดยโอกาสมากสุดน่าจะเป็นกลุ่มธนชาตที่จะนำ SCIB ควบรวมกับ TBANK