รฟม.เดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย เตรียมเปิดประมูลสีเขียวอ่อนช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 25,248 ล้านบาท ก่อนคาด ประกาศทีอาร์ลงเวปไซด์ ต.ค.เปิดอี-อ็อคชั่น ปลายปี ส่วนเขียวเข้มช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ รอปรับแบบหลังต้องเปลี่ยนพื้นที่ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง ลั่นใช้สิทธิ์ก่อสร้างก่อสร้างตามมติครม.
นายชูเกียรติ โพธยานุวัตร รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และ สีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการว่า ขณะนี้รฟม.มีความพร้อมที่จะประกวดราคาในส่วนของสายสีเขียวอ่อนก่อน โดยภายในสัปดาห์หน้า รฟม.จะเรียกประชุมคณะกรรมการประกวดราคาของโครงการ เพื่อพิจารณาเอกสารข้อกำหนดการประกวดราคา (ทีโออาร์) ที่บริษัทที่ปรึกษาได้ดำเนินการจัดทำร่างทีโออาร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ คาดว่าจะประกาศทีโออาร์ ลงเว็ปไซต์เพื่อเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประกวดราคาโครงการได้ภายในเดือนต.ค. 2552 โดยจะดำเนินการประกวดราคาแบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-อ็อคชั่น) ได้ภายในปลายปี 2552ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ นั้นนายชูเกียรติกล่าวว่า ยังไม่สามารถดำเนินการในขั้นตอนการประกวดราคาได้ในขณะนี้ เนื่องจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้แจ้งว่า จะขอยกเลิกการใช้พื้นที่สำหรับการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงจาก บริเวณด้านใต้ของสนามบินดอนเมือง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของกองทัพอากาศ มาเป็นบริเวณสถานีคูคตแทนโดยขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาได้ดำเนินการปรับปรุงแบบของโครงการใหม่ รวมทั้งสำรวจแนวเวนคืนใหม่ ซึ่งคาดว่า จะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในปลายปี 2552
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนมีมูลค่า 25,248 ล้านบาท มีค่าก่อสร้างงานโยธาประมาณ 14,000 ล้านบาทสายสีเขียวเข้มมูลค่า 32,052 ล้านบาท โดยมีค่าก่อสร้างงานโยธ 16,000 ล้านบาท โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ยืนยันแหล่งเงินทุนสำหรับดำเนินโครงการว่า สบน.ได้กู้เงินจากธนาคาร 3 แห่ง ไว้รองรับโครงการของรัฐบาล ประกอบด้วย ธนาคารโลก, ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) วงเงินรวม 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท โดยสบน.พร้อมจัดเตรียมเงินกู้จากแหล่งดังกล่าวให้ หากรถไฟฟ้าสายสีเขียวต้องการใช้มาดำเนินงาน โดยรฟม.ไม่ต้องประกวดราคาตามระเบียบของเจ้าของเงินกู้เหมือนกรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ที่รฟม.กู้จากไจก้า เนื่องจากเงินส่วนนี้ กระทรวงการคลังเป็นผู้กู้
อย่างไรก็ตาม กรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ต้องการดำเนินการโครงการสายสีเขียวนั้น ขณะนี้รฟม.ยังยืนยันที่จะดำเนินการก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรี เดิมที่ให้รฟม.เป็นผู้ก่อสร้างโครงการทั้งหมด ส่วนการเดินรถให้เจรจากับกทม. โดยการก่อสร้างนั้นจะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อ ครม.มีมติใหม่ให้กทม.ดำนินการแทน
นายชูเกียรติ โพธยานุวัตร รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และ สีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการว่า ขณะนี้รฟม.มีความพร้อมที่จะประกวดราคาในส่วนของสายสีเขียวอ่อนก่อน โดยภายในสัปดาห์หน้า รฟม.จะเรียกประชุมคณะกรรมการประกวดราคาของโครงการ เพื่อพิจารณาเอกสารข้อกำหนดการประกวดราคา (ทีโออาร์) ที่บริษัทที่ปรึกษาได้ดำเนินการจัดทำร่างทีโออาร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ คาดว่าจะประกาศทีโออาร์ ลงเว็ปไซต์เพื่อเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประกวดราคาโครงการได้ภายในเดือนต.ค. 2552 โดยจะดำเนินการประกวดราคาแบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-อ็อคชั่น) ได้ภายในปลายปี 2552ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ นั้นนายชูเกียรติกล่าวว่า ยังไม่สามารถดำเนินการในขั้นตอนการประกวดราคาได้ในขณะนี้ เนื่องจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้แจ้งว่า จะขอยกเลิกการใช้พื้นที่สำหรับการก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงจาก บริเวณด้านใต้ของสนามบินดอนเมือง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของกองทัพอากาศ มาเป็นบริเวณสถานีคูคตแทนโดยขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาได้ดำเนินการปรับปรุงแบบของโครงการใหม่ รวมทั้งสำรวจแนวเวนคืนใหม่ ซึ่งคาดว่า จะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายในปลายปี 2552
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนมีมูลค่า 25,248 ล้านบาท มีค่าก่อสร้างงานโยธาประมาณ 14,000 ล้านบาทสายสีเขียวเข้มมูลค่า 32,052 ล้านบาท โดยมีค่าก่อสร้างงานโยธ 16,000 ล้านบาท โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ยืนยันแหล่งเงินทุนสำหรับดำเนินโครงการว่า สบน.ได้กู้เงินจากธนาคาร 3 แห่ง ไว้รองรับโครงการของรัฐบาล ประกอบด้วย ธนาคารโลก, ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) วงเงินรวม 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท โดยสบน.พร้อมจัดเตรียมเงินกู้จากแหล่งดังกล่าวให้ หากรถไฟฟ้าสายสีเขียวต้องการใช้มาดำเนินงาน โดยรฟม.ไม่ต้องประกวดราคาตามระเบียบของเจ้าของเงินกู้เหมือนกรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ที่รฟม.กู้จากไจก้า เนื่องจากเงินส่วนนี้ กระทรวงการคลังเป็นผู้กู้
อย่างไรก็ตาม กรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ต้องการดำเนินการโครงการสายสีเขียวนั้น ขณะนี้รฟม.ยังยืนยันที่จะดำเนินการก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรี เดิมที่ให้รฟม.เป็นผู้ก่อสร้างโครงการทั้งหมด ส่วนการเดินรถให้เจรจากับกทม. โดยการก่อสร้างนั้นจะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อ ครม.มีมติใหม่ให้กทม.ดำนินการแทน