นิด้า-บล.นครหลวงไทย ประเมินภาพรวม 1 ปี วิกฤตเศรษฐกิจสถาบันการเงิน ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่ำที่สุดในประเทศแถบเอเชียด้วยกัน จากปัญหาทางการเมือง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยังไม่เต็มที่ ขณะที่ สิงคโปร์ จีดีพีโตมากสุด ส่วนสหรัฐฯ ยุโรปที่เป็นต้นตอวิกฤตแก้ไขปัญหาได้ดี “สุกิจ” ชี้ ครึ่งปีหลังไทยเริ่มดีขึ้น แต่แนะปรับลดพอร์ตลงทุนหุ้น เหตุราคาพุ่งแรงเกินปัจจัยพื้นฐาน
วันนี้ (22 ก.ย.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันวิจัยนครหลวงไทย จัดเสวนา Crisis Watch Series 10: September 2009 “ครบรอบปีวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ประเทศใดสอบผ่านหรือตก” ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์
นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยว่า นิด้าและสถาบันวิจัยนครหลวงไทยร่วมกันประเมินว่า ภายหลังการครบรอบ 1 ปีของปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ ประเทศใดสอบผ่านหรือสอบตกในการแก้วิกฤตที่เกิดขึ้น ซึ่ง ได้แบ่งประเทศที่พบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเศรษฐกิจออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกประเทศ G-3 ที่มีปัญหาวิกฤตสถาบันการเงิน เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
ทั้งนี้ จากการประเมินอัตราการเติบโตเศรษฐกิจ พบว่า สหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ส่วนญี่ปุ่นมีการฟื้นตัวที่ต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับสหรัฐฯและยุโรป และหากพิจารณาในด้านการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน พบว่า สถาบันการเงินของญี่ปุ่นนั้นเข้มแข็งสุดจากมีการเพิ่มทุน 3 เท่าของความเสียหายในการลงทุนในตราสารซับไพร์ม ส่วนสหรัฐฯและยุโรปนั้น ยังเพิ่มทุนสถาบันการเงินไม่เท่ากับความเสียหายที่เกิดจากการลงทุนในซับไพรม์ โดยหากพิจารณาเป็นรายประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป พบว่า เยอรมนี และฝรั่งเศส ทำได้ดีกว่าสหรัฐฯในด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
สำหรับกลุ่มที่สองคือ กลุ่มประเทศในเอเซีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ที่ไม่มีปัญหาการเงินโดยตรง แต่ภาวะเศรษฐกิจต้องพึ่งพิงการส่งออกจำนวนมากนั้น พบว่า ประเทศในแถบเอเชีย ได้พ้นจากภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจเชิงเทคนิคหมดแล้ว แต่เมื่อประเมินความเข้มแข็งของการฟื้นตัวในลักษณะเปรียบเทียบ พบว่า สิงคโปร์มีการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในกลุ่มนี้ ขณะที่การขยายตัวในการบริโภคในประเทศนั้นมีการเติบโตที่ดีขึ้นรองจากประเทศเกาหลีใต้
ส่วนไต้หวันนั้นจีดีพีมีการฟื้นตัวดี เท่ากับสิงคโปร์แต่การขยายตัวในด้านการบริโภคภายในประเทศยังไม่ดี ขณะที่เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์จีดีพีมีการฟื้นตัวยังไม่ดีเท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเอเซียในกลุ่มที่สอง ด้วยกัน แต่มีการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศในระดับสูง โดยเฉพาะเกาหลีใต้ซึ่งมีอัตราการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศที่สูงที่สุดในกลุ่มที่สอง โดยกลับมามีการเติบโตเศรษฐกิจที่สมดุลและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง
อย่างไรก็ตาม ประเทศในกลุ่มเอเชียที่มีการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ต่ำที่สุดในกลุ่ม คือ ประเทศไทย และยังมีการขยายตัวการบริโภคที่ต่ำที่สุดเช่นกัน ขณะที่ประเทศมาเลเซียนั้นมีการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ไม่ดีเท่ากับประเทศอื่นๆแต่หากรวมในเรื่องการฟื้นตัวเศรษฐกิจและการบริโภคภายในประเทศของมาเลเซียนั้น ยังมีการเติบโตดีกว่าประเทศไทย
นายเอกชัย กล่าวว่า การที่ประเทศไทยมีการฟื้นตัวเศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศต่ำที่สุด เนื่องจาก ได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางการเมืองทำให้ภาคเอกชนไม่มีความมั่นใจในการเข้ามาลงทุน และประชาชนมีการบริโภคต่ำ โดยส่วนตัวมองว่ารัฐบาลควรที่จะให้ความสำคัญในด้านการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลในอนาคต แต่หากรัฐบาลมีการอัดฉีดเม็ดเงินลงทุนในโครงสร้างที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคตก็จะทำให้ไม่มีเงินในการชำระหนี้ และจะทำให้มีหนี้จำนวนมากขึ้น
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวว่า แนวโน้มในช่วงไตรมาส2/52 จากการประเมินการฟื้นตัวเศรษฐกิจและการบริโภคของประเทศไทยจะไม่ดี แต่แนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากพบว่าในไตรมาส3/52 มีสัญญาณการเบิกจ่ายงบประมาณมากขึ้นและในช่วงไตรมาส 4/52 จะมีเม็ดเงินลงทุนจากโครงการไทยเข้มแข็งที่จะเริ่มลงทุน และภาคเอกชนเริ่มจะมีความมั่นใจในการลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า และจะดีต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 1/53 โดยคาดว่าจีดีพีจะโต 5% เมื่อเทียบกับไตรมาส1/51แต่มีความกังวลไตรมาส 2/53 เศรษฐกิจอาจจะมีการเติบโตไม่ดี จากการลงทุนของภาครัฐทำได้ไม่เต็มที่ เพราะเศรษฐกิจไทยมีการพึ่งพิงการส่งออกจำนวนมาก
“จากการประเมินตัวเลขเศรษฐกิจฟื้นตัวในครั้งนี้ หากเปรียบเทียบปีต่อปีนั้น ทุกประเทศในเอเซีย จีดีพีติดลบหมด ยกเว้น จีน อินโดนีเซีย และอินเดีย แต่หากเปรียบเทียบการเติบโตเศรษฐกิจเป็นรายไตรมาสนั้นประเทศต่างๆ จีดีพีมีการเพิ่มขึ้น แต่ประเทศไทยมีการขยายตัวต่ำที่สุดในเอเชีย” นายสุกิจ กล่าว
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยจากนี้ถึงสิ้นปีมีแนวโน้มที่จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่องจากมีเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยจำนวนมาก จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่มีทิศทางอ่อนค่าลงต่อเนื่อง และสหรัฐฯยังมีการขาดดุลในตัวเลขสำคัญของเศรษฐกิจทุกตัว รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังไม่มีการปรับขึ้นดอกบี้ย โดยจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนถึงปัจจุบัน ต่างชาติเข้ามาซื้อสุทธิเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นเดือนที่มีต่างชาติซื้อสุทธิมากที่สุด
“ช่วงนี้ดัชนีหุ้นปรับตัวสูงมาก เพราะมีความผันผวนโดยมาจากเม็ดเงินต่างประเทศที่ไหลเข้ามา จนดัชนีปรับตัวขึ้นเกินปัจจัยพื้นฐานไปแล้ว จึงอยากแนะนำให้ลดสัดส่วนลงทุนในหุ้นเหลือเพียง 30% จากเดิมที่แนะนำไว้ 50%”
ทั้งนี้ จากการติดตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนจะมีการกระจายการลงุทนทั้งในตลาดพันธบัตร ตลาดหุ้น แต่เชื่อว่าเม็ดเงินทุนไหลเข้าครั้งนี้จะไม่สูงเท่ากับในช่วงปี 2549 ที่ ธปท.มีการออกมาตรการกันเงินสำรอง 30% โดยส่วนตัวมองว่าตลาดหุ้นจะมีการปรับตัวลดลงแรงในช่วงไตรมาส 2/53 เพราะดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงแล้ว และแนวโน้มอัตตราดอกเบี้ยในอีก 1 ปี ข้างหน้าทุกประเทศจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ผลตอบแทนการลงทุนบอนด์ และหุ้นมีความห่างกันไม่มาก
วันนี้ (22 ก.ย.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันวิจัยนครหลวงไทย จัดเสวนา Crisis Watch Series 10: September 2009 “ครบรอบปีวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ประเทศใดสอบผ่านหรือตก” ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์
นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยว่า นิด้าและสถาบันวิจัยนครหลวงไทยร่วมกันประเมินว่า ภายหลังการครบรอบ 1 ปีของปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ ประเทศใดสอบผ่านหรือสอบตกในการแก้วิกฤตที่เกิดขึ้น ซึ่ง ได้แบ่งประเทศที่พบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเศรษฐกิจออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกประเทศ G-3 ที่มีปัญหาวิกฤตสถาบันการเงิน เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
ทั้งนี้ จากการประเมินอัตราการเติบโตเศรษฐกิจ พบว่า สหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ส่วนญี่ปุ่นมีการฟื้นตัวที่ต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับสหรัฐฯและยุโรป และหากพิจารณาในด้านการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน พบว่า สถาบันการเงินของญี่ปุ่นนั้นเข้มแข็งสุดจากมีการเพิ่มทุน 3 เท่าของความเสียหายในการลงทุนในตราสารซับไพร์ม ส่วนสหรัฐฯและยุโรปนั้น ยังเพิ่มทุนสถาบันการเงินไม่เท่ากับความเสียหายที่เกิดจากการลงทุนในซับไพรม์ โดยหากพิจารณาเป็นรายประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป พบว่า เยอรมนี และฝรั่งเศส ทำได้ดีกว่าสหรัฐฯในด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
สำหรับกลุ่มที่สองคือ กลุ่มประเทศในเอเซีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ที่ไม่มีปัญหาการเงินโดยตรง แต่ภาวะเศรษฐกิจต้องพึ่งพิงการส่งออกจำนวนมากนั้น พบว่า ประเทศในแถบเอเชีย ได้พ้นจากภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจเชิงเทคนิคหมดแล้ว แต่เมื่อประเมินความเข้มแข็งของการฟื้นตัวในลักษณะเปรียบเทียบ พบว่า สิงคโปร์มีการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในกลุ่มนี้ ขณะที่การขยายตัวในการบริโภคในประเทศนั้นมีการเติบโตที่ดีขึ้นรองจากประเทศเกาหลีใต้
ส่วนไต้หวันนั้นจีดีพีมีการฟื้นตัวดี เท่ากับสิงคโปร์แต่การขยายตัวในด้านการบริโภคภายในประเทศยังไม่ดี ขณะที่เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์จีดีพีมีการฟื้นตัวยังไม่ดีเท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเอเซียในกลุ่มที่สอง ด้วยกัน แต่มีการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศในระดับสูง โดยเฉพาะเกาหลีใต้ซึ่งมีอัตราการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศที่สูงที่สุดในกลุ่มที่สอง โดยกลับมามีการเติบโตเศรษฐกิจที่สมดุลและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง
อย่างไรก็ตาม ประเทศในกลุ่มเอเชียที่มีการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ต่ำที่สุดในกลุ่ม คือ ประเทศไทย และยังมีการขยายตัวการบริโภคที่ต่ำที่สุดเช่นกัน ขณะที่ประเทศมาเลเซียนั้นมีการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ไม่ดีเท่ากับประเทศอื่นๆแต่หากรวมในเรื่องการฟื้นตัวเศรษฐกิจและการบริโภคภายในประเทศของมาเลเซียนั้น ยังมีการเติบโตดีกว่าประเทศไทย
นายเอกชัย กล่าวว่า การที่ประเทศไทยมีการฟื้นตัวเศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศต่ำที่สุด เนื่องจาก ได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางการเมืองทำให้ภาคเอกชนไม่มีความมั่นใจในการเข้ามาลงทุน และประชาชนมีการบริโภคต่ำ โดยส่วนตัวมองว่ารัฐบาลควรที่จะให้ความสำคัญในด้านการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลในอนาคต แต่หากรัฐบาลมีการอัดฉีดเม็ดเงินลงทุนในโครงสร้างที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคตก็จะทำให้ไม่มีเงินในการชำระหนี้ และจะทำให้มีหนี้จำนวนมากขึ้น
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวว่า แนวโน้มในช่วงไตรมาส2/52 จากการประเมินการฟื้นตัวเศรษฐกิจและการบริโภคของประเทศไทยจะไม่ดี แต่แนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากพบว่าในไตรมาส3/52 มีสัญญาณการเบิกจ่ายงบประมาณมากขึ้นและในช่วงไตรมาส 4/52 จะมีเม็ดเงินลงทุนจากโครงการไทยเข้มแข็งที่จะเริ่มลงทุน และภาคเอกชนเริ่มจะมีความมั่นใจในการลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า และจะดีต่อเนื่องไปถึงไตรมาส 1/53 โดยคาดว่าจีดีพีจะโต 5% เมื่อเทียบกับไตรมาส1/51แต่มีความกังวลไตรมาส 2/53 เศรษฐกิจอาจจะมีการเติบโตไม่ดี จากการลงทุนของภาครัฐทำได้ไม่เต็มที่ เพราะเศรษฐกิจไทยมีการพึ่งพิงการส่งออกจำนวนมาก
“จากการประเมินตัวเลขเศรษฐกิจฟื้นตัวในครั้งนี้ หากเปรียบเทียบปีต่อปีนั้น ทุกประเทศในเอเซีย จีดีพีติดลบหมด ยกเว้น จีน อินโดนีเซีย และอินเดีย แต่หากเปรียบเทียบการเติบโตเศรษฐกิจเป็นรายไตรมาสนั้นประเทศต่างๆ จีดีพีมีการเพิ่มขึ้น แต่ประเทศไทยมีการขยายตัวต่ำที่สุดในเอเชีย” นายสุกิจ กล่าว
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยจากนี้ถึงสิ้นปีมีแนวโน้มที่จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่องจากมีเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยจำนวนมาก จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่มีทิศทางอ่อนค่าลงต่อเนื่อง และสหรัฐฯยังมีการขาดดุลในตัวเลขสำคัญของเศรษฐกิจทุกตัว รวมถึงธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังไม่มีการปรับขึ้นดอกบี้ย โดยจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนถึงปัจจุบัน ต่างชาติเข้ามาซื้อสุทธิเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นเดือนที่มีต่างชาติซื้อสุทธิมากที่สุด
“ช่วงนี้ดัชนีหุ้นปรับตัวสูงมาก เพราะมีความผันผวนโดยมาจากเม็ดเงินต่างประเทศที่ไหลเข้ามา จนดัชนีปรับตัวขึ้นเกินปัจจัยพื้นฐานไปแล้ว จึงอยากแนะนำให้ลดสัดส่วนลงทุนในหุ้นเหลือเพียง 30% จากเดิมที่แนะนำไว้ 50%”
ทั้งนี้ จากการติดตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนจะมีการกระจายการลงุทนทั้งในตลาดพันธบัตร ตลาดหุ้น แต่เชื่อว่าเม็ดเงินทุนไหลเข้าครั้งนี้จะไม่สูงเท่ากับในช่วงปี 2549 ที่ ธปท.มีการออกมาตรการกันเงินสำรอง 30% โดยส่วนตัวมองว่าตลาดหุ้นจะมีการปรับตัวลดลงแรงในช่วงไตรมาส 2/53 เพราะดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงแล้ว และแนวโน้มอัตตราดอกเบี้ยในอีก 1 ปี ข้างหน้าทุกประเทศจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ผลตอบแทนการลงทุนบอนด์ และหุ้นมีความห่างกันไม่มาก