เวิลด์แบงก์-สศค.แนะไทยต้องมีมาตรการรองรับการเปลี่ยนโครงสร้างสังคมไทยสู่สังคมคนชรา ชี้ แรงงานนอกระบบในประเทศ 3 ใน 4 หรือกว่า 28 ล้านคน ยังขาดระบบประกันสังคม พร้อมระบุ 4 ปัญหาใหญ่ของความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
ธนาคารโลกและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ร่วมจัดสัมมนา “การแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันระหว่างภูมิภาคจากประสบการณ์ของไทย” นายพรชัย ฐีระเวช ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและระบบการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของสังคมไทยมีอยู่ 4 ด้านที่มีปัญหามาก คือ การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ การกระจายการถือครองในกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน การเข้าถึงระบบการศึกษา และการเข้าถึงระบบประกันสังคม
โดยการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของคนไทยยังมีปัญหา เพราะยังมี 1.5 ล้านครัวเรือน ไม่สามารถกู้เงินในระบบสถาบันการเงินได้เท่าที่ควร เพราะการกู้เงินต้องมีกรรมสิทธิ์ที่ดินในการค้ำประกันสินเชื่อ แต่ปรากฎกว่าเกษตรไทยกลับไม่มีสิทธิ์ในที่ดินจำนวนมาก โดยต้องเช่าจากคนรวย ขณะที่การศึกษายังมีปัญหาเพราะเด็กและเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าถึงการศึกษาน้อยกว่าภาคกลางถึง 5 เท่า สวัสดิการด้านประกันสังคมยังไม่ทั่วถึง โดยแรงงานนอกระบบในประเทศ 3 ใน 4 หรือประมาณ 28 ล้านคน ยังไม่มีระบบประกันสังคม อนาคตรัฐบาลจะมีภาระหนัก เนื่องจากปัจจุบันคนชรา 1 คน ได้รับการดูแลจากคนหนุ่มสาววัยทำงานเสียภาษีให้รัฐบาล 6 คน แต่อีก 20 ปีข้างหน้าสัดส่วนจะเหลือ คนชรา 1 คนต่อคนวัยทำงานเสียภาษี 3 คน
ดังนั้นเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมวัยชราในอนาคตตั้งแต่ปี 2570 เป็นต้นไป เพื่อให้มีรายได้ดูแลคนชราเหมือนกับต่างประเทศ หากต้องเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน อาจได้รับการคัดค้านจากประชาชน ดังนั้นอาจต้องให้ประชาชนหันมาออมเงินในปัจจุบันผ่านกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ หรือประกันออมทรัพย์บำนาญ เพื่อให้พึ่งพาตนเองแทนการใช้เงินจากภาครัฐเพราะหากปรับขึ้นภาษีก็ไม่มีใครยอม รัฐก็จะไม่มีรายได้ช่วยเหลือในอนาคต รวมไปถึงการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งกระทรวงการคลังกำลังเดินหน้าผลักดันกฎหมาย เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินเปล่านำเงินมาใช้ดูแลสังคมด้านต่างๆ ได้มากขึ้น
นายชูวิทย์ มิตรชอบ ผู้อำนวยการสำนักงานแผนการเกษตรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สังคมไทยจะเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเข้าสู่สังคมวัยชรา ทำให้อีก 20 ปีข้างหน้า แรงงานภาคเกษตรกรของไทยจะลดลง กระทบศักยภาพการแข่งขัน ภาคการเกษตรอาจสู้กับเพื่อนบ้านไม่ได้ และการเติบโตของเมืองใหญ่ก็จะขยายตัวมาก ขณะที่เมืองเล็กก็จะเล็กต่อไปการพัฒนาด้านต่างๆ เข้าไม่ถึง จึงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน จึงต้องหามาตรการต่างๆ มารองรับปัญหาดังกล่าวในอนาคต
ธนาคารโลกและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ร่วมจัดสัมมนา “การแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันระหว่างภูมิภาคจากประสบการณ์ของไทย” นายพรชัย ฐีระเวช ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและระบบการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันของสังคมไทยมีอยู่ 4 ด้านที่มีปัญหามาก คือ การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ การกระจายการถือครองในกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน การเข้าถึงระบบการศึกษา และการเข้าถึงระบบประกันสังคม
โดยการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของคนไทยยังมีปัญหา เพราะยังมี 1.5 ล้านครัวเรือน ไม่สามารถกู้เงินในระบบสถาบันการเงินได้เท่าที่ควร เพราะการกู้เงินต้องมีกรรมสิทธิ์ที่ดินในการค้ำประกันสินเชื่อ แต่ปรากฎกว่าเกษตรไทยกลับไม่มีสิทธิ์ในที่ดินจำนวนมาก โดยต้องเช่าจากคนรวย ขณะที่การศึกษายังมีปัญหาเพราะเด็กและเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าถึงการศึกษาน้อยกว่าภาคกลางถึง 5 เท่า สวัสดิการด้านประกันสังคมยังไม่ทั่วถึง โดยแรงงานนอกระบบในประเทศ 3 ใน 4 หรือประมาณ 28 ล้านคน ยังไม่มีระบบประกันสังคม อนาคตรัฐบาลจะมีภาระหนัก เนื่องจากปัจจุบันคนชรา 1 คน ได้รับการดูแลจากคนหนุ่มสาววัยทำงานเสียภาษีให้รัฐบาล 6 คน แต่อีก 20 ปีข้างหน้าสัดส่วนจะเหลือ คนชรา 1 คนต่อคนวัยทำงานเสียภาษี 3 คน
ดังนั้นเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมวัยชราในอนาคตตั้งแต่ปี 2570 เป็นต้นไป เพื่อให้มีรายได้ดูแลคนชราเหมือนกับต่างประเทศ หากต้องเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน อาจได้รับการคัดค้านจากประชาชน ดังนั้นอาจต้องให้ประชาชนหันมาออมเงินในปัจจุบันผ่านกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ หรือประกันออมทรัพย์บำนาญ เพื่อให้พึ่งพาตนเองแทนการใช้เงินจากภาครัฐเพราะหากปรับขึ้นภาษีก็ไม่มีใครยอม รัฐก็จะไม่มีรายได้ช่วยเหลือในอนาคต รวมไปถึงการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งกระทรวงการคลังกำลังเดินหน้าผลักดันกฎหมาย เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินเปล่านำเงินมาใช้ดูแลสังคมด้านต่างๆ ได้มากขึ้น
นายชูวิทย์ มิตรชอบ ผู้อำนวยการสำนักงานแผนการเกษตรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สังคมไทยจะเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเข้าสู่สังคมวัยชรา ทำให้อีก 20 ปีข้างหน้า แรงงานภาคเกษตรกรของไทยจะลดลง กระทบศักยภาพการแข่งขัน ภาคการเกษตรอาจสู้กับเพื่อนบ้านไม่ได้ และการเติบโตของเมืองใหญ่ก็จะขยายตัวมาก ขณะที่เมืองเล็กก็จะเล็กต่อไปการพัฒนาด้านต่างๆ เข้าไม่ถึง จึงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน จึงต้องหามาตรการต่างๆ มารองรับปัญหาดังกล่าวในอนาคต