การเคหะฯ จ้างเอกชน 4 รายเป็นเวลา 1 ปีช่วยขายบ้านเอื้ออาทรหวังระบายสะต๊อกพื้นที่โซนสีแดง สมุทรปราการ, นครปฐม, ปทุมธานี เงื่อนไขการขายแบบเดียวกับการเคหะฯ เผยจ้ามาแล้ว 4 เดือนยอดขายเพิ่ม 40-100 ยูนิต/เดือน
นายศิริโรจน์ ชาวปากน้ำ ผู้ช่วยผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติ กล่าวถึง ความคืบหน้ากรณีที่การเคหะแห่งชาติ ได้ว่าจ้างให้บริษัทเอกชน 4 แห่ง เข้ามาขายโครงการบ้านเอื้ออาทร ซึ่งอยู่ในเขตปริมณฑลและภูมิภาค ที่จัดเป็นโซนสีแดงและสีเหลือง ซึ่งหมายถึงพื้นที่ขายยากหรือขายได้ช้ากว่าปกติ โดยโครงการบ้านเอื้ออาทรทำเลที่เอกชนนำไปขายในปัจจุบัน ประกอบด้วย สมุทรปราการ , บางพลี , นครปฐม และปทุมธานี
ทั้งนี้การเคหะฯได้ทำสัญญาจ้างเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งบริษัทเอกชน ทั้ง 4 แห่งจะทำการขายโครงการบ้านเอื้ออาทร ในรูปแบบไดเร็คเซลล์ ไม่ซ้ำซ้อนกับการขายของฝ่ายการตลาดของการเคหะฯแต่ประการใด โดยจะเป็นนการเดินเข้าไปหาลูกค้าถึงประตูบ้าน ในขณะที่การขายของการเคหะฯ จะเป็นการขายที่โครงการหรือลูกค้าจะเดินเข้ามาซื้อเอง ปัจจุบันได้ดำเนินการมาแล้ว 3-4 เดือน
สำหรับรูปแบบการขายของเอกชน จะทำหน้าที่ตั้งแต่ การหารายชื่อลูกค้า , การขาย , การขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ซึ่งการดำเนินการข้างต้นจะช่วยการเคหะฯในเรื่องการขายและลดขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ของการเคหะฯ ที่สำคัญยังเป็นการขยายช่องทางการขายอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งหลังจากที่เอกชนนำโครงการไปขายแล้วสามารถทำยอดขายบ้านเอื้ออาทรในโซนที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นได้อีก 40-100 ยูนิต ต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นยอดขายที่การเคหะฯ พอใจในการทำงานดังกล่าว
“ผลตอบแทนที่การเคหะฯให้บริษัทเอกชนทั้ง 4 แห่ง มีเพียงค่าคอมมิชชั่น ซึ่งถือว่าไม่สูงมาก หากเทียบกับการลงทุนที่เอกชนต้องดำเนินการเองทั้งหมด ทั้งเรื่องการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โบว์ชัวร์ หรือการโฆษณาในทุกสื่อที่เค้าสามารถดำเนินการได้ โดยค่าใช้จ่ายเอกชนจะเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด” นายศิริโรจน์ กล่าว
ส่วนเงื่อนไขที่เอกชนขายให้กับลูกค้า จะเหมือนกับที่การเคหะฯขายเองทุกประการ อาทิ การวางเงินจอง 3,000 บาท พร้อมการทำสัญญาและทำสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งการขายของบริษัทเอกชนนี้ทางการเคหะฯก็จะมีการติดตามดูผลการทำงานและประเมินผลงานเป็นระยะว่าเป็นไปตามที่เค้าแจ้งไว้กับการเคหะฯ หรือไม่ อย่างไรก็ตามการเคหะฯไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายเรื่องยอดขายไว้ แต่จะเป็นลักษณะเมื่อขายได้แล้วก็นำมาหักเป็นค่าคอมมิชชั่นเป็นราย ๆ ไป
นายศิริโรจน์ กล่าวว่าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาการเคหะฯมีรายได้จากการขายบ้านเอื้ออาทร 13,000 ล้านบาท และยังคงมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อเดือน จึงส่งผลให้การเคหะฯสามารถพ้นวิกฤตการณ์ต่างๆได้แล้ว
นายศิริโรจน์ ชาวปากน้ำ ผู้ช่วยผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติ กล่าวถึง ความคืบหน้ากรณีที่การเคหะแห่งชาติ ได้ว่าจ้างให้บริษัทเอกชน 4 แห่ง เข้ามาขายโครงการบ้านเอื้ออาทร ซึ่งอยู่ในเขตปริมณฑลและภูมิภาค ที่จัดเป็นโซนสีแดงและสีเหลือง ซึ่งหมายถึงพื้นที่ขายยากหรือขายได้ช้ากว่าปกติ โดยโครงการบ้านเอื้ออาทรทำเลที่เอกชนนำไปขายในปัจจุบัน ประกอบด้วย สมุทรปราการ , บางพลี , นครปฐม และปทุมธานี
ทั้งนี้การเคหะฯได้ทำสัญญาจ้างเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งบริษัทเอกชน ทั้ง 4 แห่งจะทำการขายโครงการบ้านเอื้ออาทร ในรูปแบบไดเร็คเซลล์ ไม่ซ้ำซ้อนกับการขายของฝ่ายการตลาดของการเคหะฯแต่ประการใด โดยจะเป็นนการเดินเข้าไปหาลูกค้าถึงประตูบ้าน ในขณะที่การขายของการเคหะฯ จะเป็นการขายที่โครงการหรือลูกค้าจะเดินเข้ามาซื้อเอง ปัจจุบันได้ดำเนินการมาแล้ว 3-4 เดือน
สำหรับรูปแบบการขายของเอกชน จะทำหน้าที่ตั้งแต่ การหารายชื่อลูกค้า , การขาย , การขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ซึ่งการดำเนินการข้างต้นจะช่วยการเคหะฯในเรื่องการขายและลดขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ของการเคหะฯ ที่สำคัญยังเป็นการขยายช่องทางการขายอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งหลังจากที่เอกชนนำโครงการไปขายแล้วสามารถทำยอดขายบ้านเอื้ออาทรในโซนที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นได้อีก 40-100 ยูนิต ต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นยอดขายที่การเคหะฯ พอใจในการทำงานดังกล่าว
“ผลตอบแทนที่การเคหะฯให้บริษัทเอกชนทั้ง 4 แห่ง มีเพียงค่าคอมมิชชั่น ซึ่งถือว่าไม่สูงมาก หากเทียบกับการลงทุนที่เอกชนต้องดำเนินการเองทั้งหมด ทั้งเรื่องการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โบว์ชัวร์ หรือการโฆษณาในทุกสื่อที่เค้าสามารถดำเนินการได้ โดยค่าใช้จ่ายเอกชนจะเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด” นายศิริโรจน์ กล่าว
ส่วนเงื่อนไขที่เอกชนขายให้กับลูกค้า จะเหมือนกับที่การเคหะฯขายเองทุกประการ อาทิ การวางเงินจอง 3,000 บาท พร้อมการทำสัญญาและทำสัญญาเช่าซื้อ ซึ่งการขายของบริษัทเอกชนนี้ทางการเคหะฯก็จะมีการติดตามดูผลการทำงานและประเมินผลงานเป็นระยะว่าเป็นไปตามที่เค้าแจ้งไว้กับการเคหะฯ หรือไม่ อย่างไรก็ตามการเคหะฯไม่ได้มีการกำหนดเป้าหมายเรื่องยอดขายไว้ แต่จะเป็นลักษณะเมื่อขายได้แล้วก็นำมาหักเป็นค่าคอมมิชชั่นเป็นราย ๆ ไป
นายศิริโรจน์ กล่าวว่าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาการเคหะฯมีรายได้จากการขายบ้านเอื้ออาทร 13,000 ล้านบาท และยังคงมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อเดือน จึงส่งผลให้การเคหะฯสามารถพ้นวิกฤตการณ์ต่างๆได้แล้ว