ตลาดหุ้นเอเชียพุ่งถ้วนหน้า รับคาดการณ์ตัวเลขค้าปลีกสหรัฐฯ จะออกมาดี ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 577.75 จุด เพิ่มขึ้น 15.20 จุด หรือ 2.70% ด้านตลาดหลักทรัพย์ฯ เผย ครึ่งปีแรก 52 ส่งผลตรวจสอบปั่นหุ้น-อินไซด์ข้อมูลให้ ก.ล.ต. ตรวจสอบเชิงลึกแล้ว 10 คดี “ศักรินทร์” ลั่นปีนี้พบผู้กระทำผิดลดลง จากปกติที่จะส่งเรื่องให้ ก.ล.ต.ปีละ 60 คดี
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (14 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวอยู่ในแดนบวกตลอดทั้งวัน ตามดัชนีตลาดหุ้นในต่างประทศ โดยเฉพาะตลาดหุ้นภูมิภาค หลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องกันหลายวัน บวกกับมีการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่กำลังจะทยอยประกาศออกมาจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวแตะระดับสูงสุดที่ 579.22 จุด ต่ำสุดที่ 569.29 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 577.75 จุด เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 15.20 จุด หรือคิดเป็น 2.70% มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้น 14,134.13 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 60.13 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 925.46 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 985.59 ล้านบาท
ทั้งนี้ ได้มีหลักทรัพย์ที่ปิดเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 238 หลักทรัพย์ ลดลง 65 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 122 หลักทรัพย์
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ประกอบด้วย บมจ.ปตท. (PTT) ราคาปิดที่ 222 บาท เพิ่มขึ้น 7 บาท หรือคิดเป็น 3.26% มูลค่าการซื้อขายรวม 1,21645 ล้านบาท บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ราคาปิด 126 บาท เพิ่มขึ้น 4 บาท หรือ 3.28% มูลค่าการซื้อขาย 994.14 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ราคาปิด 68.25 บาท เพิ่มขึ้น4 บาท หรือ 6.23% มูลค่าการซื้อขาย 852.93 ล้านบาท
ตลาดหุ้นเอเชียพุ่งถ้วนหน้า
ด้านความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชียหลัก ได้แก่ ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียว ปรับตัวอยู่ในแดนบวกเป็นครั้งแรกหลังจากอยู่ในช่วงขาลงตลอด 9 วันที่ผ่านมา โดยดัชนีนิกเกอิ ปิดที่ 9,261.81 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 211.48 จุด หรือ 2.34% ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดที่ 17,885.73 จุด เพิ่มขึ้น 631.10 จุด หรือ 3.66% ดัชนีสเตรทไทม์ ปิดที่ 2,310.55 จุด เพิ่มขึ้น 43.91 จุด หรือ 1.94% และดัชนีคอมโพสิต ตลาดหุ้นมาเลเซีย ปิดที่ 1,079.63 จุด เพิ่มขึ้น 15.97 จุด หรือ 1.50%
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า วานนี้ (14 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดต่างประเทศ ทั้งตลาดหุ้นดาวโจนส์ และตลาดเอเชียที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้าหมด ซึ่งถืออยู่ในระดับใกล้เคียงกันที่ประมาณ 2-3 แต่นักลงทุนเองจะต้องลงทุนอย่างระมัดระวัง เพราะการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเพียงระยะสั้นๆ หลังจากที่ดัชนีปรับตัวลดลงต่อต่อกันหลายวัน เพราะแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในไตรมาส 3 นี้ ยังอยู่ในช่วงพักฐานหรือขาลงต่อเนื่อง
สำหรับปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ การประกาศตัวเลขค้าปลีกของสหรัฐฯ ที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ตัวเลขค้าปลีกในเดือนมิถุนายนนี้น่าจะปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบธุรกิจในไทยที่มีตลาดหลักอยู่ในสหรัฐฯ รวมถึงการประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ของจีนที่น่าจะดีขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรหุ้นกลุ่มเหล็ก ธุรกิจเดินเรือ และถ่านหิน
ส่วนแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นน่าจะยังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่องจากแรงบวกวานนี้ โดยมีแนวรับที่ 560 จุด และแนวต้านที่ 600 จุด ขณะที่กลยุทธ์ในช่วงนี้ ให้ฉวยจังหวะขายหุ้นหากราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น
ครึ่งปีแรกตลาดพบคดีส่อทุจริต 10 ราย
ด้าน นายศักรินทร์ ร่วมรังษี ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง ผลการตรวจสอบพฤติกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนที่ส่อเค้าผิดปกติ ว่า ในช่วงครึ่งแรกปี 2552 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ส่งผลการตรวจสอบหุ้นไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมทั้งสิ้น 10 คดี เพื่อให้ ก.ล.ต. มีการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ตลาดสังสัยว่าจะมีการใช้ข้อมูลภายใน (อินไซด์เดอร์) และการสร้างราคาหุ้น
“การตรวจสอบของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพบการกระทำผิด 3 เรื่องหลัก คือ การปั่นหุ้น การสร้างราคาหุ้น และการให้ข่าวที่ไม่เป็นจริงของบจ. ที่กระทบต่อบรรยากาศการลงทุน แต่เรื่องที่ส่งให้สำนักงาน ก.ล.ต. ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการสร้างราคาหุ้น และการใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้น” นายศักรินทร์ กล่าว
ทั้งนี้ จากสถิติการตรวจสอบพบว่า กรณีที่มีการกระทำผิดลดลงจากปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ส่งเรื่องให้ก.ล.ต. ตรวจสอบเชิงลึกปีละประมาณ 60 เรื่อง หากพบผิดจริง ก.ล.ต.จะมีการดำเนินการต่อทั้งการเปรียบเทียบปรับ และการส่งเรื่องต่อไปให้ศาลมีการพิจารณา ซึ่งที่ผ่านมามีการเปรียบเทียบปรับและสั่งฟ้องศาลบ้าง แต่จะใช้เวลาพิจารณาค่อนข้างนาน
สำหรับกรณี บริษัท ไทยบริการอุตสาหกรรมและวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ TIES ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ติดตามดูความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น และจากการที่ ก.ล.ต. ได้ประกาศรายชื่อหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายตามเกณฑ์ หุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายหมุนเวียนสูง (เทิร์นโอเวอร์ลิสต์) วันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ซึ่งเข้าเงื่อนไขตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ต้องให้ลูกค้าซื้อหลักทรัพย์โดยวางเงินสดไว้ล่วงหน้าเต็มจำนวนก่อนการซื้อ (Cash Balance) ทำให้ปริมาณการซื้อขายของ TIES ลดความร้อนแรงลง
ส่วนกรณีของ บมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (SGP) ที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะนี้ นายศักรินทร์ กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังไม่พบความผิดปกติของการซื้อขาย และยังไม่มีประเด็นอะไรที่ต้องเข้าไปตรวจสอบ
อนึ่ง จากข้อมูลรายงานประจำปี (ก.ล.ต.) 2551 แจ้งว่า จากการตรวจสอบการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ จากเรื่องที่แจ้งโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือองค์กรภายนอกทั้งในและต่างประเทศ เรื่องร้องเรียนรวมถึงเรื่องที่ที่ตรวจพบจากระบบการเฝ้าระวังสภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพยฯ ในปี 2551 ก.ล.ต.ได้ดำเนินการตรวจสอบ 86 คดี คือการสร้างราคาหุ้น 42 คดี การใช้ข้อมูลภายใน 14 คดี ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนกระทำความผิด 13 บริษัท การประกอบธุรกิจซื้อขายล่วงหน้าไม่ได้รับอนุญาต 14 บริษัท การรายงานการถือครองหลักทรัพย์ 3 คดี
ทั้งนี้ ในจำนวนเรื่องที่ตรวจสอบทั้งหมดได้ยุติการตรวจสอบแล้ว 34 กรณี โดยมีการส่งเรื่องกล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 3 กรณี กล่าวโทษต่อกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี 5 กรณี เสนอเรื่องให้คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาแล้ว 1 กรณี และเตรียมเสนอให้คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาอีก 6 กรณี
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (14 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวอยู่ในแดนบวกตลอดทั้งวัน ตามดัชนีตลาดหุ้นในต่างประทศ โดยเฉพาะตลาดหุ้นภูมิภาค หลังจากที่ดัชนีตลาดหุ้นได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องกันหลายวัน บวกกับมีการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่กำลังจะทยอยประกาศออกมาจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้ง
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวแตะระดับสูงสุดที่ 579.22 จุด ต่ำสุดที่ 569.29 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 577.75 จุด เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 15.20 จุด หรือคิดเป็น 2.70% มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้น 14,134.13 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 60.13 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 925.46 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 985.59 ล้านบาท
ทั้งนี้ ได้มีหลักทรัพย์ที่ปิดเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 238 หลักทรัพย์ ลดลง 65 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 122 หลักทรัพย์
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ประกอบด้วย บมจ.ปตท. (PTT) ราคาปิดที่ 222 บาท เพิ่มขึ้น 7 บาท หรือคิดเป็น 3.26% มูลค่าการซื้อขายรวม 1,21645 ล้านบาท บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ราคาปิด 126 บาท เพิ่มขึ้น 4 บาท หรือ 3.28% มูลค่าการซื้อขาย 994.14 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ราคาปิด 68.25 บาท เพิ่มขึ้น4 บาท หรือ 6.23% มูลค่าการซื้อขาย 852.93 ล้านบาท
ตลาดหุ้นเอเชียพุ่งถ้วนหน้า
ด้านความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชียหลัก ได้แก่ ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียว ปรับตัวอยู่ในแดนบวกเป็นครั้งแรกหลังจากอยู่ในช่วงขาลงตลอด 9 วันที่ผ่านมา โดยดัชนีนิกเกอิ ปิดที่ 9,261.81 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 211.48 จุด หรือ 2.34% ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดที่ 17,885.73 จุด เพิ่มขึ้น 631.10 จุด หรือ 3.66% ดัชนีสเตรทไทม์ ปิดที่ 2,310.55 จุด เพิ่มขึ้น 43.91 จุด หรือ 1.94% และดัชนีคอมโพสิต ตลาดหุ้นมาเลเซีย ปิดที่ 1,079.63 จุด เพิ่มขึ้น 15.97 จุด หรือ 1.50%
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า วานนี้ (14 ก.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดต่างประเทศ ทั้งตลาดหุ้นดาวโจนส์ และตลาดเอเชียที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้าหมด ซึ่งถืออยู่ในระดับใกล้เคียงกันที่ประมาณ 2-3 แต่นักลงทุนเองจะต้องลงทุนอย่างระมัดระวัง เพราะการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเพียงระยะสั้นๆ หลังจากที่ดัชนีปรับตัวลดลงต่อต่อกันหลายวัน เพราะแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในไตรมาส 3 นี้ ยังอยู่ในช่วงพักฐานหรือขาลงต่อเนื่อง
สำหรับปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ การประกาศตัวเลขค้าปลีกของสหรัฐฯ ที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ตัวเลขค้าปลีกในเดือนมิถุนายนนี้น่าจะปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบธุรกิจในไทยที่มีตลาดหลักอยู่ในสหรัฐฯ รวมถึงการประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ของจีนที่น่าจะดีขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรหุ้นกลุ่มเหล็ก ธุรกิจเดินเรือ และถ่านหิน
ส่วนแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นน่าจะยังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่องจากแรงบวกวานนี้ โดยมีแนวรับที่ 560 จุด และแนวต้านที่ 600 จุด ขณะที่กลยุทธ์ในช่วงนี้ ให้ฉวยจังหวะขายหุ้นหากราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น
ครึ่งปีแรกตลาดพบคดีส่อทุจริต 10 ราย
ด้าน นายศักรินทร์ ร่วมรังษี ผู้ช่วยผู้จัดการ สายงานกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง ผลการตรวจสอบพฤติกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนที่ส่อเค้าผิดปกติ ว่า ในช่วงครึ่งแรกปี 2552 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ส่งผลการตรวจสอบหุ้นไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมทั้งสิ้น 10 คดี เพื่อให้ ก.ล.ต. มีการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่ตลาดสังสัยว่าจะมีการใช้ข้อมูลภายใน (อินไซด์เดอร์) และการสร้างราคาหุ้น
“การตรวจสอบของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพบการกระทำผิด 3 เรื่องหลัก คือ การปั่นหุ้น การสร้างราคาหุ้น และการให้ข่าวที่ไม่เป็นจริงของบจ. ที่กระทบต่อบรรยากาศการลงทุน แต่เรื่องที่ส่งให้สำนักงาน ก.ล.ต. ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการสร้างราคาหุ้น และการใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้น” นายศักรินทร์ กล่าว
ทั้งนี้ จากสถิติการตรวจสอบพบว่า กรณีที่มีการกระทำผิดลดลงจากปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ส่งเรื่องให้ก.ล.ต. ตรวจสอบเชิงลึกปีละประมาณ 60 เรื่อง หากพบผิดจริง ก.ล.ต.จะมีการดำเนินการต่อทั้งการเปรียบเทียบปรับ และการส่งเรื่องต่อไปให้ศาลมีการพิจารณา ซึ่งที่ผ่านมามีการเปรียบเทียบปรับและสั่งฟ้องศาลบ้าง แต่จะใช้เวลาพิจารณาค่อนข้างนาน
สำหรับกรณี บริษัท ไทยบริการอุตสาหกรรมและวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ TIES ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ติดตามดูความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น และจากการที่ ก.ล.ต. ได้ประกาศรายชื่อหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายตามเกณฑ์ หุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายหมุนเวียนสูง (เทิร์นโอเวอร์ลิสต์) วันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ซึ่งเข้าเงื่อนไขตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ต้องให้ลูกค้าซื้อหลักทรัพย์โดยวางเงินสดไว้ล่วงหน้าเต็มจำนวนก่อนการซื้อ (Cash Balance) ทำให้ปริมาณการซื้อขายของ TIES ลดความร้อนแรงลง
ส่วนกรณีของ บมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (SGP) ที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะนี้ นายศักรินทร์ กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังไม่พบความผิดปกติของการซื้อขาย และยังไม่มีประเด็นอะไรที่ต้องเข้าไปตรวจสอบ
อนึ่ง จากข้อมูลรายงานประจำปี (ก.ล.ต.) 2551 แจ้งว่า จากการตรวจสอบการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ จากเรื่องที่แจ้งโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือองค์กรภายนอกทั้งในและต่างประเทศ เรื่องร้องเรียนรวมถึงเรื่องที่ที่ตรวจพบจากระบบการเฝ้าระวังสภาพการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพยฯ ในปี 2551 ก.ล.ต.ได้ดำเนินการตรวจสอบ 86 คดี คือการสร้างราคาหุ้น 42 คดี การใช้ข้อมูลภายใน 14 คดี ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนกระทำความผิด 13 บริษัท การประกอบธุรกิจซื้อขายล่วงหน้าไม่ได้รับอนุญาต 14 บริษัท การรายงานการถือครองหลักทรัพย์ 3 คดี
ทั้งนี้ ในจำนวนเรื่องที่ตรวจสอบทั้งหมดได้ยุติการตรวจสอบแล้ว 34 กรณี โดยมีการส่งเรื่องกล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) 3 กรณี กล่าวโทษต่อกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี 5 กรณี เสนอเรื่องให้คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาแล้ว 1 กรณี และเตรียมเสนอให้คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาอีก 6 กรณี