xs
xsm
sm
md
lg

คาดไทยเข้มแข็ง กระตุ้นจีดีพีได้ 1.0-2.5% ศก.โลกปี 54 ฟื้นแบบ V Shape

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


นักวิเคราะห์ประเมินมาตรการไทยเข้มแข็ง กระตุ้นจีดีพีได้ 1.0-2.5% ต่อปี คาดอัตราดอกเบี้ยจะเริ่มขยับขึ้นช่วงปลายปี หลังรัฐบาลนำพันธบัตรออกสู่ตลาด เพื่อดูดซับสภาพคล่อง และโครงการลงทุนตามแผนกระตุ้น ศก.เริ่มขับเคลื่อน พร้อมคาดการณ์ ศก.โลกจะฟื้นตัวแบบ V Shape ในปี 2554

นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวในการเสวนาพิเศษและวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงิน โดยระบุถึงแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 “ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555” ประเมินว่า จะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยในช่วงปี 2553-2555 ขยายตัวร้อยละ 1-2.5 ต่อปี แต่ก็จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 ภายในช่วงปี 2555

ขณะที่ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องจากการออกพันธบัตรเข้ามาดูดซับสภาพคล่องในตลาด คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบมากนัก แต่ในปี 2553 สภาพคล่องในระบบมีความเสี่ยงสูงที่จะตึงตัวต่อเนื่องตามปัจจัยการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเริ่มส่งผลให้มีความต้องการลงทุนเพิ่มจากภาคเอกชนมากขึ้นและอาจจะเป็นปัจจัยกดดันให้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นในปี 2553 เป็นต้นไป

นายสุกิจ กล่าวอีกว่า ตัวเลขเศรษฐกิจไทยในปี 2553 คงไม่ปรับลดลงมากเท่ากับปีนี้ แต่ยังไม่น่าไว้วางใจ โดยประเมินว่า เศรษฐกิจโลกอาจจะปรับตัวเป็น V Shape ในปี 2554 ขณะที่ภาวะอัตราเงินเฟ้อจะเป็นตัวกดดันเศรษฐกิจโลกได้อีกครั้ง เนื่องจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยประเมินว่า ในปีนี้ ราคาน้ำมันในตลาดโลก เฉลี่ยอยู่ที่ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อาจจะมีผลทำให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2552 นี้ เพราะขณะนี้ผู้ผลิตสินค้าเริ่มจะปรับราคาสินค้าขึ้นแล้ว

ด้าน นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดีและประธานโครงการสร้าง CFO มืออาชีพ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงอัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2552 ที่ลดลงร้อยละ 4.0 ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ทำให้มีความกังวลเรื่องภาวะเงินฝืด เชื่อว่า แม้อัตราเงินเฟ้อจะลดลง แต่ยังไม่ถึงขั้นเกิดภาวะเงินฝืด เพราะการลดลงของเงินเฟ้อมาจากราคาน้ำมันที่ลดลงหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับขึ้นไปถึง 140 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ปัจจุบันราคาน้ำมันอยู่ที่ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินเฟ้อที่ปรับลดลงต่อเนื่องก็ไม่น่าไว้วางใจ เพราะจะมีผลกระทบต่อการผลิตของเอกชน ทำให้เอกชนไม่ต้องการผลิตสินค้า ดังนั้น รัฐบาลต้องดูแลไม่ให้เงินเฟ้อลดลงมากกว่านี้ โดยการกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน เพื่อให้เอกชนลงทุนตาม เกิดการจ้างงานเพิ่มรายได้ของประชาชนให้มีกำลังซื้อจับจ่ายสินค้า ซึ่งจะช่วยให้ภาวะเงินเฟ้อปรับตัวดีขึ้นได้ โดยเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับเหมาะสมควรอยู่ที่ร้อยละ 2-3 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ขณะที่ นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.ติดลบ 4% ซึ่งเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเงินเฟ้อติดลบติดต่อ 6 เดือน ถือว่าต่ำสุดในรอบ 12 ปี โดยระบุว่า แม้ว่าเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจะติดลบ 6 เดือน ถือว่าต่ำสุดในรอบ 12 ปี

“แม้ว่าเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจะติดลบ 6 เดือน แต่ถือว่าไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด เนื่องจากต้องการใช้จ่ายในประเทศอยู่ ผลจากปัจจัย 6 เดือน แต่ถือว่าไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด เนื่องจากต้องการใช้จ่ายในประเทศอยู่”

ผลจากปัจจัย 6 เดือน 5 มาตรการ เพื่อบรรเทาค่าครองชีพประชาชนของรัฐบาลที่ผ่านมาเช่น รถเมล์ฟรี เป็นต้น ที่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมาไม่สูงมากนัก นอกจากนี้ ยังมีการอัดฉีดงบประมาณเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายการลงทุนเพื่อจะผลักดันให้มีเงินเข้าสู่ระบบและมีผลกระตุ้นให้ขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ได้ และเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้นดังนั้นจึงไม่ห่วงว่าจะเข้าสู่ภาวะเงินฝือ

อย่างไรก็ตาม ต้องจับตาว่า หลังจากสิ้นสุดโครงการ 6 เดือน 5 มาตรการ ในปลายเดือนกรกฎาคม 2552 รัฐบาลจะต่ออายุมาตรการออกไปหรือไม่ หากไม่ต่ออายุจะทำให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น เพราะการปรับตัวลดลงของเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลจากมาตรการดังกล่าว แต่ก็ถือว่าเป็นมาตรการที่มีประโยชน์
กำลังโหลดความคิดเห็น