นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวในการเสวนา "วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงิน" ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 1 ที่ติดลบร้อยละ 7.1 เป็นอัตราต่ำที่สุดแล้ว และคาดว่าไตรมาส 2 จีดีพีจะติดลบร้อยละ 6.8 ซึ่งเป็นอัตราการติดลบที่ชะลอลงและเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในไตรมาส 4 จีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 1.5 เป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยประเมินจีดีพีปี 2552 ติดลบร้อยละ 4
อย่างไรก็ตาม นายสุกิจ กล่าวว่า เป็นห่วงสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ขณะนี้ยังไม่นิ่ง และเกรงจะมีผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งปัจจัยการเมืองเป็นปัจจัยที่มีน้ำหนัก หากการเมืองไม่นิ่ง ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนก็จะไม่เกิดขึ้น และขณะนี้จะต้องหวังพึ่งการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ยังให้จับตามองราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่จะปรับขึ้นตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน โดยเห็นว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หมดยุคขาลงแล้ว หากราคาปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องจะกระทบทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นได้ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ดี เพราะจะกระทบต่อกำลังการซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่วนนโยบายอัตราดอกเบี้ย เห็นว่าควรให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำจนถึงต้นปีหน้า เพราะหากปรับขึ้นจะมี ผลกระทบต่อต้นทุนของงภาคเอกชน และผู้กู้ให้มีภาระสูงขึ้น
ด้านนายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจีดีพีไตรมาส 1 ปี 2552 ที่ติดลบร้อยละ 7.1 เป็นอัตราต่ำสุดหรือไม่ แต่เห็นว่าปัจจัยลบมีความรุนแรงน้อยลง และเศรษฐกิจในย่านเอเชียเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น พร้อมเสนอแนะ ธปท.ดูแลค่าเงินบาท เพราะขณะนี้ 34 บาทเศษแข็งค่าเกินไป ระดับที่เหมาะสมของค่าเงินบาทควรอยู่ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ รวมทั้งแสดงความเป็นห่วง พ.ร.บ.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท หากไม่ผ่านจะกระทบอย่างมากต่อการลงทุน เพราะขณะนี้รัฐบาลมีรายได้ไม่พอจำเป็นต้องกู้เพื่อการลงทุน หากรัฐบาลไม่เริ่มลงทุนเอกชนก็จะไม่ลงทุนตาม
อย่างไรก็ตาม นายสุกิจ กล่าวว่า เป็นห่วงสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ขณะนี้ยังไม่นิ่ง และเกรงจะมีผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งปัจจัยการเมืองเป็นปัจจัยที่มีน้ำหนัก หากการเมืองไม่นิ่ง ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนก็จะไม่เกิดขึ้น และขณะนี้จะต้องหวังพึ่งการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ยังให้จับตามองราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่จะปรับขึ้นตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน โดยเห็นว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หมดยุคขาลงแล้ว หากราคาปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องจะกระทบทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นได้ ดังนั้น รัฐบาลจะต้องควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ดี เพราะจะกระทบต่อกำลังการซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่วนนโยบายอัตราดอกเบี้ย เห็นว่าควรให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำจนถึงต้นปีหน้า เพราะหากปรับขึ้นจะมี ผลกระทบต่อต้นทุนของงภาคเอกชน และผู้กู้ให้มีภาระสูงขึ้น
ด้านนายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจีดีพีไตรมาส 1 ปี 2552 ที่ติดลบร้อยละ 7.1 เป็นอัตราต่ำสุดหรือไม่ แต่เห็นว่าปัจจัยลบมีความรุนแรงน้อยลง และเศรษฐกิจในย่านเอเชียเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น พร้อมเสนอแนะ ธปท.ดูแลค่าเงินบาท เพราะขณะนี้ 34 บาทเศษแข็งค่าเกินไป ระดับที่เหมาะสมของค่าเงินบาทควรอยู่ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ รวมทั้งแสดงความเป็นห่วง พ.ร.บ.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท หากไม่ผ่านจะกระทบอย่างมากต่อการลงทุน เพราะขณะนี้รัฐบาลมีรายได้ไม่พอจำเป็นต้องกู้เพื่อการลงทุน หากรัฐบาลไม่เริ่มลงทุนเอกชนก็จะไม่ลงทุนตาม