แบงก์ชาติเผยยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเดือน เม.ย.วูบ 3% เมื่อเทียบเดือนก่อน ปัจจัยเศรษฐกิจ-การเมืองป่วน ขณะที่จำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลหดลง1.64 ล้านบัญชี หรือหดตัว 14.92% เฉพาะนอนแบงก์ลดลง 1.58 ล้านบัญชี ขณะที่ยอดสินเชื่อส่วนบุคคลโดยรวมได้รับอานิสงส์แบงก์พาณิชย์ที่มียอดเพิ่มสวนกระแสภาพรวมถึง 9.94 พันล้านบาท จากจุดแข็งที่มีสาขาเยอะ
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศตัวเลขสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับดูแลของ ธปท.ล่าสุดเดือนเม.ย.ของปีนี้ พบว่า ภาพรวมสินเชื่อส่วนบุคคลยังมีการเติบโตที่ดี โดยยอดสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ แต่ด้านจำนวนบัญชีกลับลดลงกว่าล้านบัญชีซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนธ.ค.51ที่ผ่านมา
โดยในปัจจุบันผู้ประกอบการทุกประเภทที่เปิดให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลมีจำนวนบัญชีลดลง1.64 ล้านบัญชี หรือลดลง 14.92% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเกิดจากบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ลดลงมากที่สุดถึง 1.58 ล้านบัญชี หรือคิดเป็น 18.89% รองลงมาเป็นธนาคารพาณิชย์ 4.80 หมื่นบัญชี คิดเป็น 2.53% และสาขาธนาคารต่างประเทศลดลง 1.70 หมื่นบัญชี ลดลงในสัดส่วน 2.22% จากปัจจุบันทั้งระบบมีจำนวนบัญชีทั้งสิ้น 9.37 ล้านบัญชี แบ่งเป็นนอนแบงก์ 6.77 ล้านบัญชี ธนาคารพาณิชย์ 1.85 ล้านบัญชี และสาขาธนาคารต่างชาติ 7.51 แสนบัญชี
ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งสิ้น 2.24 แสนล้านบาท แบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ 1.04 แสนล้านบาท นอนแบงก์ 9.94 หมื่นล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 2.04 หมื่นล้านบาท ซึ่งในระบบมียอดสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 7.49 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.46% โดยธนาคารพาณิชย์มียอดเพิ่มขึ้น 9.94 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10.55% ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติและนอนแบงก์หดตัว 1.81 พันล้านบาท หรือลดลง 8.16% และลดลง 640 ล้านบาท หรือลดลง 0.64% ตามลำดับ
นอกจากนี้ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในเดือน เม.ย.ของปีนี้ ประกอบกับเกิดเหตุการณ์จราจลของกลุ่มคนเสื้อแดงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำให้การจับจ่ายใช้สอยหดตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหรือเดือนมี.ค.ของปีนี้ ทั้งในแง่ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศ การเบิกเงินสดล่วงหน้า แต่ในส่วนของการใช้จ่ายในต่างประเทศกลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงปิดเทอมและหยุดยาว รวมถึงเลี่ยงเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศ จึงมีหลายครอบครัวหันไปท่องเที่ยวและจับจ่ายในต่างประเทศแทน
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตทุกประเภทมีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น13.13 ล้านใบ ลดลงจากเดือนก่อน 6.91 พันใบ คิดเป็น 0.05% โดยสาขานอนแบงก์มีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น 1.35 ล้านใบ ลดลง 1.35 หมื่นใบ ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติและธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 4.73 พันใบ และ1.82 พันใบ จากปริมาณบัตรเครดิตที่มีอยู่ทั้งสิ้น 6.56 ล้านใบ และ 5.25 ล้านใบ ตามลำดับ จึงนับเป็นเดือนแรกในรอบหลายเดือนที่จำนวนบัตรเครดิตลดลง ซึ่งต่างกับสถานการณ์ที่ผ่านมาที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต่างจูงใจให้ผู้ถือบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายผ่านบัตร
ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 1.81 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเพียงเล็กน้อย 83 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.05% โดยผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์มียอดสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 71 ล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติ 11 ล้านบาท และนอนแบงก์แค่ 1 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มียอดคงค้างอยู่ที่ 6.41 หมื่นล้านบาท 3.38 หมื่นล้านบาท และ8.34 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายรวมเพียงเดือนเดียวหดตัวถึง 8.73 พันล้านบาท หรือหดตัว 10.90% จากปัจจุบันที่มีปริมาณการใช้จ่ายทั้งสิ้น 7.14 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการหดตัวของผู้ประกอบการบัตรเครดิตทุกประเภท โดยธนาคารพาณิชย์หดตัวมากที่สุด 4.99 พันล้านบาท นอนแบงก์ 2.78 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 963 ล้านบาท หากแยกตามประเภทการใช้จ่าย พบว่า ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศลดลงถึง 8.01 พันล้านบาท หรือลดลง 13.50% โดยในส่วนของธนาคารพาณิชย์มีปริมาณการใช้จ่ายประเภทนี้ลดลง 4.18 พันล้านบาท นอนแบงก์ 2.77 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.06 พันล้านบาท เช่นเดียวกับการเบิกเงินสดล่วงหน้าที่ลดลง 1.47 พันล้านบาท หรือลดลง 8.27% โดยผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ลดลง1.17 พันล้านบาท ส่วนนอนแบงก์ลดลง 252 ล้านบาท ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติลดลง 53 ล้านบาท
ส่วนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในต่างประเทศกลับทาง โดยยอดการใช้จ่ายในต่างประเทศที่มีทั้งสิ้น 3.68 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 760 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในสัดส่วนถึง 26.06% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งธนาคารพาณิชย์มีการใช้จ่ายในต่างประเทศทั้งสิ้น 1.52 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 359 ล้านบาท นอนแบงก์มียอดรวมในการใช้จ่ายต่างประเทศ 1.40 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 251 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติมียอดทั้งสิ้น 756 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 150 ล้านบาท
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศตัวเลขสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับดูแลของ ธปท.ล่าสุดเดือนเม.ย.ของปีนี้ พบว่า ภาพรวมสินเชื่อส่วนบุคคลยังมีการเติบโตที่ดี โดยยอดสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ แต่ด้านจำนวนบัญชีกลับลดลงกว่าล้านบัญชีซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนธ.ค.51ที่ผ่านมา
โดยในปัจจุบันผู้ประกอบการทุกประเภทที่เปิดให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลมีจำนวนบัญชีลดลง1.64 ล้านบัญชี หรือลดลง 14.92% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเกิดจากบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ลดลงมากที่สุดถึง 1.58 ล้านบัญชี หรือคิดเป็น 18.89% รองลงมาเป็นธนาคารพาณิชย์ 4.80 หมื่นบัญชี คิดเป็น 2.53% และสาขาธนาคารต่างประเทศลดลง 1.70 หมื่นบัญชี ลดลงในสัดส่วน 2.22% จากปัจจุบันทั้งระบบมีจำนวนบัญชีทั้งสิ้น 9.37 ล้านบัญชี แบ่งเป็นนอนแบงก์ 6.77 ล้านบัญชี ธนาคารพาณิชย์ 1.85 ล้านบัญชี และสาขาธนาคารต่างชาติ 7.51 แสนบัญชี
ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งสิ้น 2.24 แสนล้านบาท แบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ 1.04 แสนล้านบาท นอนแบงก์ 9.94 หมื่นล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 2.04 หมื่นล้านบาท ซึ่งในระบบมียอดสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 7.49 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.46% โดยธนาคารพาณิชย์มียอดเพิ่มขึ้น 9.94 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10.55% ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติและนอนแบงก์หดตัว 1.81 พันล้านบาท หรือลดลง 8.16% และลดลง 640 ล้านบาท หรือลดลง 0.64% ตามลำดับ
นอกจากนี้ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในเดือน เม.ย.ของปีนี้ ประกอบกับเกิดเหตุการณ์จราจลของกลุ่มคนเสื้อแดงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ทำให้การจับจ่ายใช้สอยหดตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหรือเดือนมี.ค.ของปีนี้ ทั้งในแง่ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศ การเบิกเงินสดล่วงหน้า แต่ในส่วนของการใช้จ่ายในต่างประเทศกลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงปิดเทอมและหยุดยาว รวมถึงเลี่ยงเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศ จึงมีหลายครอบครัวหันไปท่องเที่ยวและจับจ่ายในต่างประเทศแทน
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตทุกประเภทมีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น13.13 ล้านใบ ลดลงจากเดือนก่อน 6.91 พันใบ คิดเป็น 0.05% โดยสาขานอนแบงก์มีปริมาณบัตรเครดิตทั้งสิ้น 1.35 ล้านใบ ลดลง 1.35 หมื่นใบ ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติและธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 4.73 พันใบ และ1.82 พันใบ จากปริมาณบัตรเครดิตที่มีอยู่ทั้งสิ้น 6.56 ล้านใบ และ 5.25 ล้านใบ ตามลำดับ จึงนับเป็นเดือนแรกในรอบหลายเดือนที่จำนวนบัตรเครดิตลดลง ซึ่งต่างกับสถานการณ์ที่ผ่านมาที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต่างจูงใจให้ผู้ถือบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายผ่านบัตร
ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 1.81 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเพียงเล็กน้อย 83 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.05% โดยผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์มียอดสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 71 ล้านบาท สาขาธนาคารต่างชาติ 11 ล้านบาท และนอนแบงก์แค่ 1 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มียอดคงค้างอยู่ที่ 6.41 หมื่นล้านบาท 3.38 หมื่นล้านบาท และ8.34 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับปริมาณการใช้จ่ายรวมเพียงเดือนเดียวหดตัวถึง 8.73 พันล้านบาท หรือหดตัว 10.90% จากปัจจุบันที่มีปริมาณการใช้จ่ายทั้งสิ้น 7.14 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการหดตัวของผู้ประกอบการบัตรเครดิตทุกประเภท โดยธนาคารพาณิชย์หดตัวมากที่สุด 4.99 พันล้านบาท นอนแบงก์ 2.78 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 963 ล้านบาท หากแยกตามประเภทการใช้จ่าย พบว่า ปริมาณการใช้จ่ายในประเทศลดลงถึง 8.01 พันล้านบาท หรือลดลง 13.50% โดยในส่วนของธนาคารพาณิชย์มีปริมาณการใช้จ่ายประเภทนี้ลดลง 4.18 พันล้านบาท นอนแบงก์ 2.77 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.06 พันล้านบาท เช่นเดียวกับการเบิกเงินสดล่วงหน้าที่ลดลง 1.47 พันล้านบาท หรือลดลง 8.27% โดยผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ลดลง1.17 พันล้านบาท ส่วนนอนแบงก์ลดลง 252 ล้านบาท ขณะที่สาขาธนาคารต่างชาติลดลง 53 ล้านบาท
ส่วนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในต่างประเทศกลับทาง โดยยอดการใช้จ่ายในต่างประเทศที่มีทั้งสิ้น 3.68 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 760 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในสัดส่วนถึง 26.06% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ซึ่งธนาคารพาณิชย์มีการใช้จ่ายในต่างประเทศทั้งสิ้น 1.52 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 359 ล้านบาท นอนแบงก์มียอดรวมในการใช้จ่ายต่างประเทศ 1.40 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 251 ล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติมียอดทั้งสิ้น 756 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 150 ล้านบาท