ภาคธุรกิจเจ๊งต่อเนื่อง ธปท.เผยแนวโน้มปล่อยกู้ช่วงไตรมาส 2 สถาบันการเงินยังคงใช้เข้มงวดมากขึ้นสำหรับสินเชื่อทุกประเภท เหตุกังวลคุณภาพสินทรัพย์และปัญหาเอ็นพีแอลพุ่ง ธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร เครื่องใช้อิเลกทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งยานยนต์เป็นอันดับต้นที่แบงก์กังวลในการปล่อยกู้
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ทำการสำรวจภาวะการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเป็นความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินของสถาบันการเงินจำนวน 21 แห่งที่ดูแลงานด้านสินเชื่อ ถือว่าครอบคลุมสินเชื่อมากกว่า 86% ของสินเชื่อทั้งระบบ พบว่า แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้
มาตรฐานให้สินเชื่อทุกประเภทของสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดขึ้น ขณะที่ความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และในส่วนของภาคครัวเรือน คาดว่า จะทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน เนื่องจากความต้องการในการบริโภคช่วงเศรษฐกิจถดถอยยังอยู่ในระดับต่ำ
ทั้งนี้ สถาบันการเงิน คาดว่า สาเหตุหลักที่ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการลงทุนของธุรกิจยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ส่วนภาคครัวเรือนเริ่มดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจทั่วไปและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินมีความชัดเจนขึ้น และสถาบันการเงินถึง 75% คาดว่า สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จะยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม
ความกังวลด้านคุณภาพสินเชื่อและความสามารถในการชำระหนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้ จึงส่งผลให้มาตรฐานการให้สินเชื่อทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนเข้มงวดขึ้นสำหรับสินเชื่อทุกประเภท
นอกจากนี้ ประเภทของธุรกิจที่สถาบันการเงินคาดว่ากำลังประสบปัญหาที่อาจเป็นความเสี่ยง 3 อันดับแรก คือ ธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งมีสัดส่วนถึง 83.1% เครื่องใช้อิเลกทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 75% และยานยนต์ 70.8% ตามลำดับ ขณะที่ความต้องการกู้เงินของภาครัฐเพื่อใช้จ่ายในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะส่งผลต่อสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์และอัตราดอกเบี้ยในสัดส่วนเท่ากัน คือ 81.3% ความต้องการในการกู้เพื่อการลงทุนภาคเอกชน คิดเป็น 75% และความต้องการในการกู้เพื่อการบริโภคภาคเอกชน 73.3% ตามลำดับ
สำหรับภาวะการปล่อยสินเชื่อในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมานั้น ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนลดลงทุกประเภทจากไตรมาสก่อนและต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตลดลง เนื่องจากการแข่งขันจากแหล่งเงินทุนอื่นๆ ทั้งจากสถาบันการเงิน บริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) รวมถึงความเข้มงวดของมาตรฐานการให้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้น
ขณะที่ความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยลดลงตามความเชื่อมั่น โดยผู้บริโภคยังรอประเมินแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยและผู้บริโภคมีการใช้แหล่งเงินทุนอื่น เช่น เงินออมของครัวเรือน อย่างไรก็ตาม แม้อัตราการอนุมัติสินเชื่อครัวเรือนทุกประเภทลดลงจากไตรมาสก่อน แต่อัตราการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังคงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จึงสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย
ด้านภาคธุรกิจเช่นเดียวกัน โดยปัจจัยที่มีผลมากต่อความต้องการสินเชื่อที่ลดลง คือ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร การใช้เงินทุนหมุนเวียน และการผลิตสินค้าคงคลังสะสมที่ลดลงเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามภายใต้ภาวะที่มาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ซึ่งสะท้อนไปยังเงื่อนไขต่างๆ เช่น วงเงินสินเชื่อ (Credit lines) และเงื่อนไขประกอบสัญญาเงินกู้ (Loan covenants) ยังมีต่อเนื่อง
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ทำการสำรวจภาวะการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเป็นความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินของสถาบันการเงินจำนวน 21 แห่งที่ดูแลงานด้านสินเชื่อ ถือว่าครอบคลุมสินเชื่อมากกว่า 86% ของสินเชื่อทั้งระบบ พบว่า แนวโน้มในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้
มาตรฐานให้สินเชื่อทุกประเภทของสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดขึ้น ขณะที่ความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และในส่วนของภาคครัวเรือน คาดว่า จะทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน เนื่องจากความต้องการในการบริโภคช่วงเศรษฐกิจถดถอยยังอยู่ในระดับต่ำ
ทั้งนี้ สถาบันการเงิน คาดว่า สาเหตุหลักที่ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการลงทุนของธุรกิจยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ส่วนภาคครัวเรือนเริ่มดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจทั่วไปและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินมีความชัดเจนขึ้น และสถาบันการเงินถึง 75% คาดว่า สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จะยังอยู่ในระดับที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม
ความกังวลด้านคุณภาพสินเชื่อและความสามารถในการชำระหนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้ จึงส่งผลให้มาตรฐานการให้สินเชื่อทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนเข้มงวดขึ้นสำหรับสินเชื่อทุกประเภท
นอกจากนี้ ประเภทของธุรกิจที่สถาบันการเงินคาดว่ากำลังประสบปัญหาที่อาจเป็นความเสี่ยง 3 อันดับแรก คือ ธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งมีสัดส่วนถึง 83.1% เครื่องใช้อิเลกทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 75% และยานยนต์ 70.8% ตามลำดับ ขณะที่ความต้องการกู้เงินของภาครัฐเพื่อใช้จ่ายในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะส่งผลต่อสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์และอัตราดอกเบี้ยในสัดส่วนเท่ากัน คือ 81.3% ความต้องการในการกู้เพื่อการลงทุนภาคเอกชน คิดเป็น 75% และความต้องการในการกู้เพื่อการบริโภคภาคเอกชน 73.3% ตามลำดับ
สำหรับภาวะการปล่อยสินเชื่อในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมานั้น ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนลดลงทุกประเภทจากไตรมาสก่อนและต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตลดลง เนื่องจากการแข่งขันจากแหล่งเงินทุนอื่นๆ ทั้งจากสถาบันการเงิน บริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) รวมถึงความเข้มงวดของมาตรฐานการให้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้น
ขณะที่ความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยลดลงตามความเชื่อมั่น โดยผู้บริโภคยังรอประเมินแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยและผู้บริโภคมีการใช้แหล่งเงินทุนอื่น เช่น เงินออมของครัวเรือน อย่างไรก็ตาม แม้อัตราการอนุมัติสินเชื่อครัวเรือนทุกประเภทลดลงจากไตรมาสก่อน แต่อัตราการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังคงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จึงสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคยังมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย
ด้านภาคธุรกิจเช่นเดียวกัน โดยปัจจัยที่มีผลมากต่อความต้องการสินเชื่อที่ลดลง คือ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร การใช้เงินทุนหมุนเวียน และการผลิตสินค้าคงคลังสะสมที่ลดลงเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามภายใต้ภาวะที่มาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ซึ่งสะท้อนไปยังเงื่อนไขต่างๆ เช่น วงเงินสินเชื่อ (Credit lines) และเงื่อนไขประกอบสัญญาเงินกู้ (Loan covenants) ยังมีต่อเนื่อง