xs
xsm
sm
md
lg

สินเชื่อธุรกิจโดนกั๊ก ธปท.แฉแบงก์หอบฟันกำไรตลาดเงิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


มาตรการหั่น ดบ.นโยบาย ไร้มนต์ขลัง แบงก์พาณิชย์เมินปล่อยกู้ภาคธุรกิจ ธปท.แฉตัวเลข Q1/52 ยอดปล่อยกู้เรียลเซกเตอร์วูบทั่วหน้า แต่กลับไปโด่งที่อินเตอร์แบงก์ 1.6 ล้านล้านบาท สะท้อนการปล่อยกู้ในสถาบันการเงินด้วยกันเอง เพื่อฟันกำไรส่วนต่างในตลาดเงิน และการชะลอปล่อยกู้ในภาคธุรกิจเพื่อลดปัญหาหนี้เสีย

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานยอดคงค้างการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ โดยแยกตามประเภทธุรกิจ ไตรมาส 1 ปี 2552 โดยพบว่า ธนาคารพาณิชย์มียอดการปล่อยสินเชื่อ 7,590,922 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 41,518 ล้านบาท หรือ 0.55% เท่านั้น แต่หากพิจารณาตามรายภาคธุรกิจ พบว่า ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อในภาคธุรกิจชะลอลงอย่างต่อเนื่อง

โดยภาคการผลิตได้รับสินเชื่อลดลงมากที่สุด คือ มียอดคงค้างทั้งสิ้น 1,684,272 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 66,460 ล้านบาท หรือลดลง 3.8% รองลงมา คือ การขายส่ง การขายปลีก และซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคลและของใช้ในครัวเรือน 1,011,621 ล้านบาท ลดลง 50,962 ล้านบาท หรือ 4.8% และบริหารด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริหารทางธุรกิจ 547,243 ล้านบาท ลดลง 14,445 ล้านบาท หรือ 2.57% ลดลง ธุรกิจการก่อสร้างมียอดคงค้าง 139,049 ล้านบาท ลดลง 4,957 ล้านบาท หรือ 3.44% การให้บริการชุมชน สังคมและบริการส่วนบุคคลอื่นๆ 58,995 ล้านบาท ลดลง 4,794 ล้านบาท หรือ 7.52% การบริโภคส่วนบุคคลอื่นๆ 373,764 ล้านบาท ลดลง 4,201 ล้านบาท หรือ 1.11% การบริหารราชการและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ 94,273 ล้านบาท ลดลง 3,956 ล้านบาทหรือ 4.03% เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ 76,793 ล้านบาท ลดลง 2,860 ล้านบาท หรือ 3.59% การทำเหมืองแร่และถ่านหิน 37,651 ล้านบาท ลดลง 1,711 ล้านบาท หรือ 4.35%

ส่วนการไฟฟ้า แก๊ส และการประปา มียอดคงค้าง 154,853 ล้านบาท ลดลง 1,089 ล้านบาท หรือ 0.7% การซื้อทีดินเปล่า เพื่อสร้างบ้าน 31,140 ล้านบาท ลดลง 962 ล้านบาท หรือ 3% การประมง 13,417 ล้านบาท ลดลง 180 หรือ 1.32% การศึกษา 19,552 ล้านบาท หรือ 165 ล้านบาท หรือ 0.85% การเดินทางไปต่างประเทศเพื่อการทำงาน 936 ล้านบาท ลดลง 153 ล้านบาท หรือ 14.05% การซื้ออสังหาฯเพื่อการอื่นๆ 1,703 ล้านบาท ลดลง 98 ล้านบาท หรือ 5.44% การบริการด้านสุขภาพ และงานสังคมสังเคราะห์ 34,015 ล้านบาท ลดลง 82 ล้านบาท หรือ 0.24% การศึกษา 254 ล้านบาท ลดลง 14 ล้านบาท หรือ 5.22% และองค์การระหว่างประเทศ และองค์การต่างประเทศอื่นๆ และสมาชิก 47 ล้านบาทลดลง 11 ล้านบาท หรือ 18.97%

ขณะที่ภาคธุรกิจอื่นๆ ส่วนใหญ่ได้รับสินเชื่อลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ภาคธุรกิจที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นกลับเป็นธุรกิจตัวกลางทางการเงิน โดยเป็นการปล่อยกู้ในตลาดการเงินระหว่างสถาบันการเงินด้วยกันเองหรือที่เรียกว่าอินเตอร์แบงก์ ซึ่งพบว่ามียอดคงค้างมากที่สุด 1,616,142 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 174,046 ล้านบาท หรือ 12.07% รองลงมาคือการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล มียอดคงค้าง 1,627,451 ล้านบาท ลดลง 1,114 ล้านบาท หรือ 2.78% ธุรกิจการจัดหาที่อยู่อาศัยมียอดทั้งสิ้น 84,528 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15,517 ล้านบาท หรือ 1.86% และการซื้อเช่าซื้อรถยนต์ 364,352 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,021 ล้านบาท หรือ 1.4% การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม 227,578 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,205 ล้านบาท หรือ 0.53% และโรงแรม และภัตตาคาร 247,943 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,657 ล้านบาท หรือ 1.08%
กำลังโหลดความคิดเห็น