ตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุมีพนักงานสนใจเข้าโครงการเออร์ลีรีไทร์ หลังใกล้ปิดโครงการภายในสิ้นมิถุนายนนี้ “ภัทรียา”ยืนยันไม่ตั้งเป้าจำนวนลดพนักงาน แล้วแต่ความสมัครใจ ชี้จำนวนพนักงานเหมาะสมขึ้นอยู่กับงานที่ทำในอนาคต เทียบกับตลาดหุ้นต่างประเทศไม่ได้ เหตุตลาดหุ้นไทยมีหน่วยงานพิเศษที่ตลาดหุ้นในต่างประเทศไม่ทำ
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีพนักงานของตลาดหลักทรัพย์ฯสนใจที่จะเข้าโครงการลาออกก่อนเกษียณ (เออร์ลีรีไทร์)แล้วแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ หลังจากเปิดให้พนักงานมีการแจ้งความจำนงตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายนนี้
อนึ่งจากผลการศึกษาของคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์)เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปของตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น ชี้ ว่าตลาดหลักทรัพย์ฯมีพนักงานที่ไม่เกี่ยวกับกับงานหลักของตลาดหลักทรัพย์ เช่น การให้ความรู้ งานสร้างเสริมความรับผิดชอบทางสังคม ในสัดส่วนที่สูงถึง 170 คน จากพนักงานทั้งหมด 950 คน ทำให้ต้องมีการใช้เงินที่สูงขึ้น ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ฯมีต้นทุนการดำเนินงานที่สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น และสูงกว่าตลาดหุ้นในต่างประเทศ
ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯไม่ได้มีการตั้งเป้าว่าจะต้องลดพนักงานเหลือเท่าไร จากปัจจุบันที่มีประมาณ 900 คน แม้จะมีผู้ประเมินว่าจำนวนพนักงานของตลาดหลักทรัพย์ฯที่เหมาะสมควรอยู่ที่ระดับเท่าใด เพราะ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับงานของตลาดหลักทรัพย์ฯที่จะมีในอนาคต
ขณะเดียวกัน ต้องเข้าใจว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯมีหน่วยงานด้านอื่นๆเพิ่มเติมนอกเหนือจากหน่วยงานปกติที่มีในทุกตลาดหุ้น ได้แก่หน่วยงานทางด้านไอที หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการให้ความรู้ กิจการรมเพื่อสังคม และงานบริการหลังการซื้อขาย ซึ่งถือเป็นหน่วยงานใหม่เพราะในต่างประเทศนั้นไม่มีหน่วยงานประเภทนี้
สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯมีการทำโครงการนี้ มีสาเหตุในหลายเป้าหมาย เช่น การลดต้นทุนในการดำเนินงาน จากอนาคตที่ตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการแปลงสภาพเป็นบริษัท จำกัด มหาชน มีการปรับกระบวนการทำงานโดยการรวมของบริษัทย่อย ซึ่งขณะนี้ มีพนักงานที่มากเกินไปในบางสายงาน แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯก็จะมีการบริหารพนักงานในสายงานต่างๆให้มีความสมดุลและศักยภาพมากขึ้น รวมทั้งได้มีการเพิ่มสายงานใหม่ คือสายงานในการออกสินค้าใหม่ เข้ามาเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯยืนยันว่า การทำโครงการนี้ไม่ได้เป็นการบังคับพนักงานในองค์กรแต่อย่างใด โดยเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานมีทางเลือก หากต้องการลาออกก่อนกำหนด หากต้องการไปทำธุรกิจส่วนตัว หรือเหตุผลในด้านอื่นๆ แต่ก็ยังคงได้รับผลตอบแทนที่ดี ซึ่งจะพิจารณาตามอายุการทำงาน โดยจะจ่ายเงินชดเชยให้ จำนวน 36 เดือน จึงจะเกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
นางภัทรียา กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการตั้งงบประมาณในการปรับโครงสร้างตลาดหลักทรัพย์ฯไว้แล้ว โดยแยกออกมาเป็นรายการพิเศษ ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยได้ว่ามีมูลค่าเท่าไร เพราะ มันเป็นเรื่องภายใน แต่การจัดทำโครงการนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่แปลก เพราะ บริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)และหน่วยงานของรัฐ ก็มีการทำโครงการดังกล่าว
อย่างไรก็ตามในเรื่องการจัดสรรเงินกองทุนของตลาดหลักทรัพย์ฯที่มีประมาณ 10,000 ล้านบาท นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับบริษัทหลักทรัพย์ฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่มีข้อสรุป เพราะ ยังมีเวลาเหลือในการที่จะมีการพิจารณาจัดสรรให้รอบคอบ จนกว่าจะมีกฎหมายออกมาในเรื่องการแปรสภาพตลาดหลักทรัพย์ฯซึ่งคาดว่ากฎหมายจะออกมาประมาณปลายปีนี้ หรือ ปีหน้า
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีพนักงานของตลาดหลักทรัพย์ฯสนใจที่จะเข้าโครงการลาออกก่อนเกษียณ (เออร์ลีรีไทร์)แล้วแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ หลังจากเปิดให้พนักงานมีการแจ้งความจำนงตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายนนี้
อนึ่งจากผลการศึกษาของคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์)เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการแปรรูปของตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น ชี้ ว่าตลาดหลักทรัพย์ฯมีพนักงานที่ไม่เกี่ยวกับกับงานหลักของตลาดหลักทรัพย์ เช่น การให้ความรู้ งานสร้างเสริมความรับผิดชอบทางสังคม ในสัดส่วนที่สูงถึง 170 คน จากพนักงานทั้งหมด 950 คน ทำให้ต้องมีการใช้เงินที่สูงขึ้น ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ฯมีต้นทุนการดำเนินงานที่สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น และสูงกว่าตลาดหุ้นในต่างประเทศ
ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯไม่ได้มีการตั้งเป้าว่าจะต้องลดพนักงานเหลือเท่าไร จากปัจจุบันที่มีประมาณ 900 คน แม้จะมีผู้ประเมินว่าจำนวนพนักงานของตลาดหลักทรัพย์ฯที่เหมาะสมควรอยู่ที่ระดับเท่าใด เพราะ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับงานของตลาดหลักทรัพย์ฯที่จะมีในอนาคต
ขณะเดียวกัน ต้องเข้าใจว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯมีหน่วยงานด้านอื่นๆเพิ่มเติมนอกเหนือจากหน่วยงานปกติที่มีในทุกตลาดหุ้น ได้แก่หน่วยงานทางด้านไอที หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการให้ความรู้ กิจการรมเพื่อสังคม และงานบริการหลังการซื้อขาย ซึ่งถือเป็นหน่วยงานใหม่เพราะในต่างประเทศนั้นไม่มีหน่วยงานประเภทนี้
สำหรับการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯมีการทำโครงการนี้ มีสาเหตุในหลายเป้าหมาย เช่น การลดต้นทุนในการดำเนินงาน จากอนาคตที่ตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการแปลงสภาพเป็นบริษัท จำกัด มหาชน มีการปรับกระบวนการทำงานโดยการรวมของบริษัทย่อย ซึ่งขณะนี้ มีพนักงานที่มากเกินไปในบางสายงาน แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯก็จะมีการบริหารพนักงานในสายงานต่างๆให้มีความสมดุลและศักยภาพมากขึ้น รวมทั้งได้มีการเพิ่มสายงานใหม่ คือสายงานในการออกสินค้าใหม่ เข้ามาเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯยืนยันว่า การทำโครงการนี้ไม่ได้เป็นการบังคับพนักงานในองค์กรแต่อย่างใด โดยเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานมีทางเลือก หากต้องการลาออกก่อนกำหนด หากต้องการไปทำธุรกิจส่วนตัว หรือเหตุผลในด้านอื่นๆ แต่ก็ยังคงได้รับผลตอบแทนที่ดี ซึ่งจะพิจารณาตามอายุการทำงาน โดยจะจ่ายเงินชดเชยให้ จำนวน 36 เดือน จึงจะเกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
นางภัทรียา กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯได้มีการตั้งงบประมาณในการปรับโครงสร้างตลาดหลักทรัพย์ฯไว้แล้ว โดยแยกออกมาเป็นรายการพิเศษ ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยได้ว่ามีมูลค่าเท่าไร เพราะ มันเป็นเรื่องภายใน แต่การจัดทำโครงการนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่แปลก เพราะ บริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)และหน่วยงานของรัฐ ก็มีการทำโครงการดังกล่าว
อย่างไรก็ตามในเรื่องการจัดสรรเงินกองทุนของตลาดหลักทรัพย์ฯที่มีประมาณ 10,000 ล้านบาท นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับบริษัทหลักทรัพย์ฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่มีข้อสรุป เพราะ ยังมีเวลาเหลือในการที่จะมีการพิจารณาจัดสรรให้รอบคอบ จนกว่าจะมีกฎหมายออกมาในเรื่องการแปรสภาพตลาดหลักทรัพย์ฯซึ่งคาดว่ากฎหมายจะออกมาประมาณปลายปีนี้ หรือ ปีหน้า