“บัณฑูร” เข้าใจรัฐบาล จี้แบงก์พาณิชย์ปล่อยกู้ผู้ประกอบการ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่โจทย์ของแบงก์จำเป็นต้องระมัดระวังมากขึ้น เพื่อคุมหนี้เสีย หลังได้รับบทเรียนจากวิกฤตที่ผ่าน แนะทางรอดเอสเอ็มอี โดยให้ลดต้นทุน หาตลาดใหม่และเตรียมแผนรองรับเศรษฐกิจฟื้นตัว
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ตนไม่รู้สึกแปลกใจกับการที่รัฐบาลออกมาบอกให้ธนาคารช่วยปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการต่างๆ เนื่องจากธนาคารถือเป็นศูนย์กลางของระบบเศรษฐกิจ หากไม่มีการปล่อยสินเชื่อเข้าไปในระบบเศรษฐกิจก็จะแย่ แต่หากมองในมุมของธนาคาร โจทย์ก็คือกลัวการเกิดหนี้เสียที่สุด และที่ผ่านมา ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ได้เตือนให้ระวังในเรื่องนี้
“แต่ผมเจอวิกฤตเศรษฐกิจมาสองรอบ ทำให้รู้ว่าถ้าไม่ปล่อยสินเชื่ออย่างระวังก็จะเกิดวิกฤตอีกรอบ ซึ่งตอนนั้นเศรษฐกิจเฟื่องฟูก็ไม่เห็นมีคนเดือดร้อน แต่สุดท้ายก็เกิดวิกฤต ส่วนข้อถกเถียงว่าทำไมแบงก์ไม่ปล่อยกู้เป็นปัญหาโลกแตก ไม่มีใครรู้คำตอบชัดเจน เรื่องดอกเบี้ยก็เหมือนกันตอนนี้ก็ลดมาเยอะแล้ว คนฝากเงินก็อยากให้ดอกเบี้ยสูงกว่านี้ คนกู้เงินก็อยากให้ดอกเบี้ยต่ำกว่านี้ แบงก์ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน”
นายบัณฑูร กล่าวอีกว่า ในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนั้น หากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ต้องการจะอยู่รอดก็ควรต้องยึดหลัก 3 ข้อ ประกอบด้วย การลดต้นทุนรายจ่ายให้ถูกที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบหรือแรงงาน เพราะอาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ต้องทำให้ต้นทุน 1 บาทที่ลงไปเกิดคุณค่าให้มากที่สุด แต่ไม่ใช่การไปกดเงินเดือนลูกจ้างจนไม่มีแรงจูงใจที่จะทำงาน
นอกจากนี้ ต้องหาตลาดใหม่ โดยต้องค้นหาความต้องการของตลาดให้ได้ เพระในธุรกิจไม่มีคำว่าลูกค้าที่จงรักภักดีต่อสินค้าถาวร สักวันหนึ่งต้องมีคนมาแย่งลูกค้าไป ดังนั้นผู้ประกอบการควรต้องคิดค้นสินค้าหรือบริการใหม่ที่ยังไม่มีคนอื่นทำมาก่อนและสร้างนวัตรกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง ส่วนสุดท้าย คือ การมองข้ามไปในอนาคต หากเศรษฐกิจกลับมาฟื้นแล้วคิดจะทำอะไรต่อไป
“โลกนี้ไม่ได้มืดแปดด้านตลอดไป สักวันก็ต้องสว่าง ธุรกิจมันมีวงจรของมันมีขึ้นก็ต้องมีลง แต่เชื่อว่าปีนี้ผู้ที่ส่งออกยอดขายจะตกลงหมด ยกเว้นอาหารราคาถูก ส่วนพวกของใช้ระยะยาวอย่างพวกทีวีตู้เย็น คนจะชะลอการซื้อ”
นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ตนไม่รู้สึกแปลกใจกับการที่รัฐบาลออกมาบอกให้ธนาคารช่วยปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการต่างๆ เนื่องจากธนาคารถือเป็นศูนย์กลางของระบบเศรษฐกิจ หากไม่มีการปล่อยสินเชื่อเข้าไปในระบบเศรษฐกิจก็จะแย่ แต่หากมองในมุมของธนาคาร โจทย์ก็คือกลัวการเกิดหนี้เสียที่สุด และที่ผ่านมา ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ได้เตือนให้ระวังในเรื่องนี้
“แต่ผมเจอวิกฤตเศรษฐกิจมาสองรอบ ทำให้รู้ว่าถ้าไม่ปล่อยสินเชื่ออย่างระวังก็จะเกิดวิกฤตอีกรอบ ซึ่งตอนนั้นเศรษฐกิจเฟื่องฟูก็ไม่เห็นมีคนเดือดร้อน แต่สุดท้ายก็เกิดวิกฤต ส่วนข้อถกเถียงว่าทำไมแบงก์ไม่ปล่อยกู้เป็นปัญหาโลกแตก ไม่มีใครรู้คำตอบชัดเจน เรื่องดอกเบี้ยก็เหมือนกันตอนนี้ก็ลดมาเยอะแล้ว คนฝากเงินก็อยากให้ดอกเบี้ยสูงกว่านี้ คนกู้เงินก็อยากให้ดอกเบี้ยต่ำกว่านี้ แบงก์ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน”
นายบัณฑูร กล่าวอีกว่า ในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนั้น หากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ต้องการจะอยู่รอดก็ควรต้องยึดหลัก 3 ข้อ ประกอบด้วย การลดต้นทุนรายจ่ายให้ถูกที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบหรือแรงงาน เพราะอาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ต้องทำให้ต้นทุน 1 บาทที่ลงไปเกิดคุณค่าให้มากที่สุด แต่ไม่ใช่การไปกดเงินเดือนลูกจ้างจนไม่มีแรงจูงใจที่จะทำงาน
นอกจากนี้ ต้องหาตลาดใหม่ โดยต้องค้นหาความต้องการของตลาดให้ได้ เพระในธุรกิจไม่มีคำว่าลูกค้าที่จงรักภักดีต่อสินค้าถาวร สักวันหนึ่งต้องมีคนมาแย่งลูกค้าไป ดังนั้นผู้ประกอบการควรต้องคิดค้นสินค้าหรือบริการใหม่ที่ยังไม่มีคนอื่นทำมาก่อนและสร้างนวัตรกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง ส่วนสุดท้าย คือ การมองข้ามไปในอนาคต หากเศรษฐกิจกลับมาฟื้นแล้วคิดจะทำอะไรต่อไป
“โลกนี้ไม่ได้มืดแปดด้านตลอดไป สักวันก็ต้องสว่าง ธุรกิจมันมีวงจรของมันมีขึ้นก็ต้องมีลง แต่เชื่อว่าปีนี้ผู้ที่ส่งออกยอดขายจะตกลงหมด ยกเว้นอาหารราคาถูก ส่วนพวกของใช้ระยะยาวอย่างพวกทีวีตู้เย็น คนจะชะลอการซื้อ”