ปตท. เคมิคอล งวดนี้ขาดทุน 393 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันปีก่อนกำไร 5,715 ล้านบาท หรือกำไรวูบ 107 % เหตุราคาวัตถถุดิบและผลิตภัณฑ์ปรับลดต่ำลง บวกกับมีผลขาดทุนค่าเงินที่ยังไม่เกิดขึ้นอีก 399 ล้านบาท อีกทั้งผลขาดทุนจากบริษัทใรเครือที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ขณะที่ยอดขายปรับลดตาม ด้าน ไทยน๊อคซ์ สเตนเลส วูบ461ล้านบาท เหตุกำไรขั้นต้นและกำไรค่าเงินลด
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) แจ้งผลงานไตรมาสแรกปีนี้ขาดทุน 392.54 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 5,715.21 ล้านบาท หรือลดลง 107 % จากงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลง โดยราคาวัตถุดิบอ้างอิงแนฟทา ปรับตัวลดลงจาก 857 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันเป็น 410 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือลดลง 52 % ขณะที่ ราคา HDPE ปรับตัวลดลง จาก 1,607 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันเป็น 934 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือลดลง 42 % และราคา MEG ปรับตัวลดลง จาก 1,453 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันเป็น 615 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือลดลง 58 % ส่งผลให้ส่วนต่างราคา HDPE- แนฟทา ลดลงจาก 750 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 524 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือลดลง 30% และส่วนต่างราคา MEG-แนฟทา ลดลงจาก 597 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันเป็น 205 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือลดลง 66 %
นอกจากนี้ บริษัทยังมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 399 ล้านบาท ในไตรมาส 1/2552 ในขณะที่ไตรมาส 1/2551 มีผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 604 ล้านบาท และผลการดำเนินงานที่ปรับตัวลดลงจากบริษัทในเครือและบริษัทย่อย จากการปรับตัวลดลงของส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบและผลขาดทุนจากบริษัทในเครือที่ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ขณะที่ตัวเลข EBITDA เท่ากับ 2,000 ล้านบาท ลดลง 73 % จากการลดลงของ Product to Feed Margin ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มขึ้น
โดยไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 17,768 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสแรกปี 51 ที่ทำไว้ 21,091 ล้านบาท หรือลดลง 16 % จากราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลง ขณะที่บริษัทมีต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นจากปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคา ก๊าซธรรมชาติที่ซื้อจาก บมจ. ปตท. รวมถึงการรับรู้ต้นทุนวัตถุดิบของบริษัทย่อยที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ TOL TSCL TFA ที่เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือน กุมภาพันธ์ พฤษภาคม และกันยายน ปี 51 ตามลำดับ ประกอบกับการรับรู้ต้นทุนการผลิตของ COM ตั้งแต่เดือนธันวาคม 51 ที่ผ่านมา ส่งผลให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการผลิตเพิ่มขึ้น 36%
นายฌ็อง-ปอล เทเวอแน็ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยน๊อคซ์ สเตนเลส จำกัด (มหาชน) (INOX) แจ้งผลงานไตรมาสแรกปีนี้ ว่าบริษัทขาดทุนสุทธิ 461.08 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 371.19 ล้านบาท หรือลดลง เนื่องจากกำไรขั้นต้นลดลง 957 ล้านบาท กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและรายได้อื่นลดลง 249 ล้านบาท ส่วนดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น 45 ล้านบาท โดยที่สามารถชดเชยขาดทุนบางส่วนได้จากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารและค่าใช้จ่ายอื่นลดลง 82 ล้านบาท และโอนกลับขาดทุนจากการลดมูลค่าสินค้าคงเหลือรวม รวมทั้งกำไรจากค่าเงินต่ำลง โดยไตรมาสนี้ บริษัทฯมีรายได้จากการขายเหล็กสเตนเลสรีดเย็น 1,500 ล้านบาท (20,264 ตัน ณ ราคาขายถัว เฉลี่ย 74,019 บาทต่อตัน) ซึ่งต่ำกว่ายอดขายในช่วงเดียวกันของปี 51 ที่มี4,672 ล้านบาท (42,955 ตัน ณ ราคาขายถัวเฉลี่ย 108,759 บาทต่อตัน) เท่ากับ 3,172 ล้านบาทหรือลดลง 68% ผลจากราคาขายถัวเฉลี่ยลดลง 32% และปริมาณขายที่ลดลง 53% ซึ่ง ราคาขายเฉลี่ยลดลงเป็นผลมาจากการลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากภาวะวิกฤตตลาดโลก
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) แจ้งผลงานไตรมาสแรกปีนี้ขาดทุน 392.54 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 5,715.21 ล้านบาท หรือลดลง 107 % จากงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลง โดยราคาวัตถุดิบอ้างอิงแนฟทา ปรับตัวลดลงจาก 857 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันเป็น 410 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือลดลง 52 % ขณะที่ ราคา HDPE ปรับตัวลดลง จาก 1,607 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันเป็น 934 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือลดลง 42 % และราคา MEG ปรับตัวลดลง จาก 1,453 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันเป็น 615 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือลดลง 58 % ส่งผลให้ส่วนต่างราคา HDPE- แนฟทา ลดลงจาก 750 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 524 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือลดลง 30% และส่วนต่างราคา MEG-แนฟทา ลดลงจาก 597 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันเป็น 205 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือลดลง 66 %
นอกจากนี้ บริษัทยังมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 399 ล้านบาท ในไตรมาส 1/2552 ในขณะที่ไตรมาส 1/2551 มีผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง 604 ล้านบาท และผลการดำเนินงานที่ปรับตัวลดลงจากบริษัทในเครือและบริษัทย่อย จากการปรับตัวลดลงของส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบและผลขาดทุนจากบริษัทในเครือที่ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ขณะที่ตัวเลข EBITDA เท่ากับ 2,000 ล้านบาท ลดลง 73 % จากการลดลงของ Product to Feed Margin ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เพิ่มขึ้น
โดยไตรมาสแรกปีนี้ บริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 17,768 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสแรกปี 51 ที่ทำไว้ 21,091 ล้านบาท หรือลดลง 16 % จากราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลง ขณะที่บริษัทมีต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นจากปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคา ก๊าซธรรมชาติที่ซื้อจาก บมจ. ปตท. รวมถึงการรับรู้ต้นทุนวัตถุดิบของบริษัทย่อยที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ TOL TSCL TFA ที่เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือน กุมภาพันธ์ พฤษภาคม และกันยายน ปี 51 ตามลำดับ ประกอบกับการรับรู้ต้นทุนการผลิตของ COM ตั้งแต่เดือนธันวาคม 51 ที่ผ่านมา ส่งผลให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการผลิตเพิ่มขึ้น 36%
นายฌ็อง-ปอล เทเวอแน็ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยน๊อคซ์ สเตนเลส จำกัด (มหาชน) (INOX) แจ้งผลงานไตรมาสแรกปีนี้ ว่าบริษัทขาดทุนสุทธิ 461.08 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 371.19 ล้านบาท หรือลดลง เนื่องจากกำไรขั้นต้นลดลง 957 ล้านบาท กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและรายได้อื่นลดลง 249 ล้านบาท ส่วนดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น 45 ล้านบาท โดยที่สามารถชดเชยขาดทุนบางส่วนได้จากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารและค่าใช้จ่ายอื่นลดลง 82 ล้านบาท และโอนกลับขาดทุนจากการลดมูลค่าสินค้าคงเหลือรวม รวมทั้งกำไรจากค่าเงินต่ำลง โดยไตรมาสนี้ บริษัทฯมีรายได้จากการขายเหล็กสเตนเลสรีดเย็น 1,500 ล้านบาท (20,264 ตัน ณ ราคาขายถัว เฉลี่ย 74,019 บาทต่อตัน) ซึ่งต่ำกว่ายอดขายในช่วงเดียวกันของปี 51 ที่มี4,672 ล้านบาท (42,955 ตัน ณ ราคาขายถัวเฉลี่ย 108,759 บาทต่อตัน) เท่ากับ 3,172 ล้านบาทหรือลดลง 68% ผลจากราคาขายถัวเฉลี่ยลดลง 32% และปริมาณขายที่ลดลง 53% ซึ่ง ราคาขายเฉลี่ยลดลงเป็นผลมาจากการลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์จากภาวะวิกฤตตลาดโลก