เอเอฟพี - ที่ประชุมผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มจี 10 ระบุในวันจันทร์ (11) ว่าเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในภาวะทรุดตัวหนักที่สุดในรอบหลายทศวรรษนั้น ขณะนี้กำลังอยู่ในจุดพลิกผัน โดยที่เศรษฐกิจในบางประเทศเริ่มฟื้นตัว ส่วนในบางประเทศสภาพดำดิ่งก็กำลังชะลอตัวแล้ว
"ในเรื่องเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เราเป็นห่วงกันอยู่นั้น เรากำลังอยู่แถวๆ จุดกลับตัวในวงจร (เศรษฐกิจ) แล้ว" ฌ็อง-โคลด ตริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวในนามโฆษกของธนาคารกลางกลุ่มจี 10
ทั้งนี้จี 10 ในเวลานี้ประกอบด้วยสมาชิกจาก 11 ประเทศแล้ว คือเบลเยียม แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ โดยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและประสานความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การเงินและการธนาคาร
"ในทุกๆ ประเทศ เรามองเห็นว่าจีดีพี(ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ)ที่มีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วและไตรมาสแรกของปีนี้นั้น ขณะนี้กำลังลดต่ำอย่างเชื่องช้าลง" ตริเชต์กล่าวภายหลังการประชุมวาระปกติของจี 10
"ในบางประเทศนั้นคุณจะเห็นว่า (เศรษฐกิจ)กำลังมีการฟื้นตัวขึ้นมาแล้ว ในบางประเทศคุณจะเห็นว่ามันยังคงทรุดตัวต่อไปอีก ทว่าด้วยฝีก้าวที่ผ่อนช้าลง" เขากล่าวและย้ำว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่จำนวนหนึ่งดูเหมือนจะก้าวพ้นจากจุดกลับตัวขึ้นมาแล้ว"
ทางด้าน มิเกล อันเฆล เฟร์นันเดซ ออร์โดเนซ สมาชิกสภาผู้ว่าการธนาคารกลางยุโรป ระบุภายหลังการประชุมว่า กลุ่มยูโรโซน 16 ประเทศก็น่าจะผ่านจุดวิกฤตที่สุดมาได้แล้ว เขาบอกด้วยว่า "มีสัญญาณชี้ว่า จุดวิกฤตที่สุด (ของการทรุดต่ำทางเศรษฐกิจ) นั้น อยู่ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้"
อย่างไรก็ตาม ตริเชต์กล่าวเตือนว่า ประชาคมโลกจะต้องไม่ประมาทในระหว่างที่กระบวนการฟื้นตัวกำลังเดินหน้า เขาบอกว่า "เราจะต้องตื่นตัวอยู่ตลอด เพราะเราอยู่ในสถานการณ์ที่ยังไม่รู้ทิศทางข้างหน้า แม้ว่าเราจะเข้าสู่จุดกลับตัวแล้ว หรือกระทั่งก้าวพ้นจากจุดกลับตัวขึ้นไปแล้วก็ตาม"
เขายังระบุว่ามีข่าวดีในภาคธนาคาร แต่ก็เน้นด้วยว่า "ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะมัวนิ่งนอนใจ"
ขณะเดียวกัน เมื่อเศรษฐกิจแตะถึงจุดกลับตัวแล้ว ตริเชต์บอกว่า ธนาคารกลางรวมทั้งรัฐบาลของประเทศต่างๆ ก็ควรให้ความใส่ใจกับ "ยุทธศาสตร์ทางออก" ที่จะช่วยปรับให้เศรษฐกิจกลับไปอยู่ใน "สถานการณ์ที่เข้มแข็งและมีความยั่งยืน"
ที่ผ่านมา ธนาคารกลางและรัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยกระทำกันมาก่อน
มาตรการหนึ่งก็คือการลดอัตราดอกเบี้ย โดยธนาคารกลางของประเทศใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อังกฤษ หรือกลุ่มยูโรโซน ได้พากันลดอัตราดอกเบี้ยลงมาต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อและการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น รัฐบาลหลายๆ ประเทศยังใช้มาตรการก่อหนี้สาธารณะเป็นจำนวนมหาศาลเพื่อมุ่งที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไป
ตริเชต์ได้ออกมากล่าวเตือนเรื่อยมาว่ารัฐบาลประเทศต่างๆจะต้องควบคุมการใช้จ่ายสาธารณะให้ได้ แม้ในเวลาประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเขายังเรียกร้องให้รัฐบาลทุกประเทศกลับเข้าสู่แนวปฏิบัติตามปกติเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วด้วย
ทั้งนี้ ความเห็นของตริเชต์ก็สอดคล้องกับทัศนะของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ซึ่งได้กล่าวในวันจันทร์ว่า ภาวะเศรษฐกิจทรุดต่ำในบางประเทศเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลงแล้ว
"ในเรื่องเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เราเป็นห่วงกันอยู่นั้น เรากำลังอยู่แถวๆ จุดกลับตัวในวงจร (เศรษฐกิจ) แล้ว" ฌ็อง-โคลด ตริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าวในนามโฆษกของธนาคารกลางกลุ่มจี 10
ทั้งนี้จี 10 ในเวลานี้ประกอบด้วยสมาชิกจาก 11 ประเทศแล้ว คือเบลเยียม แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ โดยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและประสานความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การเงินและการธนาคาร
"ในทุกๆ ประเทศ เรามองเห็นว่าจีดีพี(ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ)ที่มีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วและไตรมาสแรกของปีนี้นั้น ขณะนี้กำลังลดต่ำอย่างเชื่องช้าลง" ตริเชต์กล่าวภายหลังการประชุมวาระปกติของจี 10
"ในบางประเทศนั้นคุณจะเห็นว่า (เศรษฐกิจ)กำลังมีการฟื้นตัวขึ้นมาแล้ว ในบางประเทศคุณจะเห็นว่ามันยังคงทรุดตัวต่อไปอีก ทว่าด้วยฝีก้าวที่ผ่อนช้าลง" เขากล่าวและย้ำว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่จำนวนหนึ่งดูเหมือนจะก้าวพ้นจากจุดกลับตัวขึ้นมาแล้ว"
ทางด้าน มิเกล อันเฆล เฟร์นันเดซ ออร์โดเนซ สมาชิกสภาผู้ว่าการธนาคารกลางยุโรป ระบุภายหลังการประชุมว่า กลุ่มยูโรโซน 16 ประเทศก็น่าจะผ่านจุดวิกฤตที่สุดมาได้แล้ว เขาบอกด้วยว่า "มีสัญญาณชี้ว่า จุดวิกฤตที่สุด (ของการทรุดต่ำทางเศรษฐกิจ) นั้น อยู่ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้"
อย่างไรก็ตาม ตริเชต์กล่าวเตือนว่า ประชาคมโลกจะต้องไม่ประมาทในระหว่างที่กระบวนการฟื้นตัวกำลังเดินหน้า เขาบอกว่า "เราจะต้องตื่นตัวอยู่ตลอด เพราะเราอยู่ในสถานการณ์ที่ยังไม่รู้ทิศทางข้างหน้า แม้ว่าเราจะเข้าสู่จุดกลับตัวแล้ว หรือกระทั่งก้าวพ้นจากจุดกลับตัวขึ้นไปแล้วก็ตาม"
เขายังระบุว่ามีข่าวดีในภาคธนาคาร แต่ก็เน้นด้วยว่า "ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะมัวนิ่งนอนใจ"
ขณะเดียวกัน เมื่อเศรษฐกิจแตะถึงจุดกลับตัวแล้ว ตริเชต์บอกว่า ธนาคารกลางรวมทั้งรัฐบาลของประเทศต่างๆ ก็ควรให้ความใส่ใจกับ "ยุทธศาสตร์ทางออก" ที่จะช่วยปรับให้เศรษฐกิจกลับไปอยู่ใน "สถานการณ์ที่เข้มแข็งและมีความยั่งยืน"
ที่ผ่านมา ธนาคารกลางและรัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยกระทำกันมาก่อน
มาตรการหนึ่งก็คือการลดอัตราดอกเบี้ย โดยธนาคารกลางของประเทศใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อังกฤษ หรือกลุ่มยูโรโซน ได้พากันลดอัตราดอกเบี้ยลงมาต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อและการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น รัฐบาลหลายๆ ประเทศยังใช้มาตรการก่อหนี้สาธารณะเป็นจำนวนมหาศาลเพื่อมุ่งที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไป
ตริเชต์ได้ออกมากล่าวเตือนเรื่อยมาว่ารัฐบาลประเทศต่างๆจะต้องควบคุมการใช้จ่ายสาธารณะให้ได้ แม้ในเวลาประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเขายังเรียกร้องให้รัฐบาลทุกประเทศกลับเข้าสู่แนวปฏิบัติตามปกติเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วด้วย
ทั้งนี้ ความเห็นของตริเชต์ก็สอดคล้องกับทัศนะของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ซึ่งได้กล่าวในวันจันทร์ว่า ภาวะเศรษฐกิจทรุดต่ำในบางประเทศเข้าสู่ภาวะชะลอตัวลงแล้ว