กกร.เตรียมตั้ง คณะกรรมการดูแลภาคส่งออก หลังตัวเลขติดลบต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปี 52 คาดคึ่งปีแรกติดลบหนัก 20-25% พร้อมจี้รัฐบาล เร่งเดินหน้าเซ็น FTA กับอียู
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) 3 สถาบัน ซึ่งประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย โดยระบุว่า กกร.เตรียมตั้งคณะกรรมการดูแลแก้ไขปัญหาการส่งออกชะลอตัว หลังตัวเลขการส่งออกในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวติดลบกว่า 20% พร้อมเตรียมทำหนังสือเร่งรัดให้รัฐบาลลงนามทวิภาคีกับอียูก่อนฟิลิปปินส์
"ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลแก้ไขปัญหาการส่งออก หลังตัวเลขการส่งออกไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวติดลบกว่า 20% เพื่อหาแนวทางแก้ไข"
นอกจากนี้ คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เช่น การลงนามเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศต่างๆ เพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะเสนอต่อรัฐบาลในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.) โดยเร็ว
ประธาน ส.อ.ท. กล่าวเพิ่มเติมว่า การส่งออกปีนี้อาจจะขยายตัวติดลบมากกว่า 20% แม้จะมีสัญญาณการขยายตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 และ 4 จากอุตสาหกรรมบางชนิด เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่เริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามาบ้างแล้ว แต่ยอดคำสั่งซื้อที่เข้ามาส่วนใหญ่ เป็นคำสั่งซื้อล่วงหน้าระยะสั้น 3 เดือน ต่างจากที่ผ่านมาจะมีคำสั่งซื้อประมาณ 6 เดือน ทั้งนี้ หากการส่งออกทั้งปีนี้ขยายตัวติดลบประมาณ 10% ถือว่ายังเป็นระดับที่พอรับได้
ด้านนายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าฯ กล่าวว่า การส่งออกครึ่งแรกของปีนี้คาดว่าจะขยายตัวติดลบ 20-25% ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวติดลบกว่า 20% แต่คาดว่าช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์การส่งออกจะฟื้นตัวดีขึ้น ทำให้ในปีหน้าอาจเป็นปีที่สดใสสำหรับผู้ประกอบการส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีสัญญาณว่าจะฟื้นตัวขึ้นช่วงปลายปีนี้
นอกจากนี้ ที่ประชุม กกร.ยังเตรียมทำหนังสือไปยังกระทรวงพาณิชย์ และที่ประชุม กรอ.เพื่อขอให้เร่งลงนามข้อตกลงการค้าระดับทวิภาคีกับสหภาพยุโรป (อียู) โดยเร็ว เนื่องจากอียูเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญและได้ลงนามการค้ากับเวียดนามและสิงคโปร์ไปแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะลงนามกับไทยหรือฟิลิปปินส์ หากอียูลงนามกับประเทศใดก่อนจะทำให้ได้เปรียบทางด้านการค้า
สำหรับความคืบหน้าในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการมีความต้องการสินเชื่อลดลง เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการขยายธุรกิจ หลังคำสั่งซื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการใช้เงินลดลงตามไปด้วย
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) 3 สถาบัน ซึ่งประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย โดยระบุว่า กกร.เตรียมตั้งคณะกรรมการดูแลแก้ไขปัญหาการส่งออกชะลอตัว หลังตัวเลขการส่งออกในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวติดลบกว่า 20% พร้อมเตรียมทำหนังสือเร่งรัดให้รัฐบาลลงนามทวิภาคีกับอียูก่อนฟิลิปปินส์
"ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลแก้ไขปัญหาการส่งออก หลังตัวเลขการส่งออกไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวติดลบกว่า 20% เพื่อหาแนวทางแก้ไข"
นอกจากนี้ คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เช่น การลงนามเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศต่างๆ เพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะเสนอต่อรัฐบาลในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.) โดยเร็ว
ประธาน ส.อ.ท. กล่าวเพิ่มเติมว่า การส่งออกปีนี้อาจจะขยายตัวติดลบมากกว่า 20% แม้จะมีสัญญาณการขยายตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 และ 4 จากอุตสาหกรรมบางชนิด เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่เริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามาบ้างแล้ว แต่ยอดคำสั่งซื้อที่เข้ามาส่วนใหญ่ เป็นคำสั่งซื้อล่วงหน้าระยะสั้น 3 เดือน ต่างจากที่ผ่านมาจะมีคำสั่งซื้อประมาณ 6 เดือน ทั้งนี้ หากการส่งออกทั้งปีนี้ขยายตัวติดลบประมาณ 10% ถือว่ายังเป็นระดับที่พอรับได้
ด้านนายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าฯ กล่าวว่า การส่งออกครึ่งแรกของปีนี้คาดว่าจะขยายตัวติดลบ 20-25% ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวติดลบกว่า 20% แต่คาดว่าช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์การส่งออกจะฟื้นตัวดีขึ้น ทำให้ในปีหน้าอาจเป็นปีที่สดใสสำหรับผู้ประกอบการส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีสัญญาณว่าจะฟื้นตัวขึ้นช่วงปลายปีนี้
นอกจากนี้ ที่ประชุม กกร.ยังเตรียมทำหนังสือไปยังกระทรวงพาณิชย์ และที่ประชุม กรอ.เพื่อขอให้เร่งลงนามข้อตกลงการค้าระดับทวิภาคีกับสหภาพยุโรป (อียู) โดยเร็ว เนื่องจากอียูเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญและได้ลงนามการค้ากับเวียดนามและสิงคโปร์ไปแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะลงนามกับไทยหรือฟิลิปปินส์ หากอียูลงนามกับประเทศใดก่อนจะทำให้ได้เปรียบทางด้านการค้า
สำหรับความคืบหน้าในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการมีความต้องการสินเชื่อลดลง เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการขยายธุรกิจ หลังคำสั่งซื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการใช้เงินลดลงตามไปด้วย