คลังเตรียมสรุปลงทุน 1.56 ล้านล้านบาท คาดเสนอ ครม. 6 พ.ค.นี้ โดยเน้นโครงการที่ไม่ใหญ่นัก เพื่อให้กระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดทำแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 วงเงิน 1.56 ล้านล้านบาท กล่าวว่า การประชุมคณะทำงานวันนี้ได้ข้อสรุปทั้งหมดเกี่ยวกับการจัดสรรเงินลงทุนในโครงการด้านต่างๆ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจแล้ว
ทั้งนี้ คาดว่าจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันพุธที่ 6 พ.ค.นี้ โดยการใช้เงินลงทุนผ่านโครงการต้องการเน้นการลงทุนในโครงการที่ไม่ใหญ่โตมากนัก เพราะต้องการให้เป็นการลงทุนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
"การใช้เงินผ่านงบประมาณของรัฐบาลไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เพราะงบประมาณมีจำกัดจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวจนทำให้รายได้ของรัฐบาลต่ำเพียงร้อยละ 15 ของจีดีพีซึ่งนับว่าต่ำมาก จึงต้องหาแหล่งเงินทุนจากการกู้เงินทั้งในและต่างประเทศมาทดแทน ซึ่งรัฐบาลต้องออกกฎหมายเพื่อให้อำนาจรัฐบาลก็เงินเพิ่มเติม"
สำหรับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้มองว่าปัญหาการเมืองยังมีส่วนสำคัญมากต่อการแก้ปัญหาและการวางนโยบายเศรษฐกิจ ดังนั้นภาคการเมือง ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชน ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ปัญหาผ่านนโยบายด้านต่างๆ ของรัฐบาล
จากนั้นอีก 2-3 ปี ปัญหาต่างๆ จะคลี่คลายดีขึ้นและเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว ซึ่งจะทำให้ภาคการคลังของรัฐบาลเริ่มดีขึ้นในปี 2554 และในปี 2555 การจัดทำงบประมาณรายจ่ายจะเริ่มมีงบประมาณขาดดุลน้อยลงหรือเริ่มเข้าสู่งบประมาณแบบสมดุลได้
"ยอมรับว่าแม้การกู้เงินเพิ่มเติมของรัฐบาลจนทำให้ภาระหนี้สาธารณะเพิ่มเร็วมาก จากระดับร้อยละ 30 ของจีดีพี เพิ่มเป็นร้อยละ 60 ในเวลาช่วง 3-4 ปี ซึ่งถือเป็นเรื่องหนักใจพอสมควรแต่ภาระหนี้ในระดับดังกล่าวยังสามารถบริหารจัดการได้เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว"
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดทำแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 วงเงิน 1.56 ล้านล้านบาท กล่าวว่า การประชุมคณะทำงานวันนี้ได้ข้อสรุปทั้งหมดเกี่ยวกับการจัดสรรเงินลงทุนในโครงการด้านต่างๆ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจแล้ว
ทั้งนี้ คาดว่าจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันพุธที่ 6 พ.ค.นี้ โดยการใช้เงินลงทุนผ่านโครงการต้องการเน้นการลงทุนในโครงการที่ไม่ใหญ่โตมากนัก เพราะต้องการให้เป็นการลงทุนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
"การใช้เงินผ่านงบประมาณของรัฐบาลไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เพราะงบประมาณมีจำกัดจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวจนทำให้รายได้ของรัฐบาลต่ำเพียงร้อยละ 15 ของจีดีพีซึ่งนับว่าต่ำมาก จึงต้องหาแหล่งเงินทุนจากการกู้เงินทั้งในและต่างประเทศมาทดแทน ซึ่งรัฐบาลต้องออกกฎหมายเพื่อให้อำนาจรัฐบาลก็เงินเพิ่มเติม"
สำหรับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจขณะนี้มองว่าปัญหาการเมืองยังมีส่วนสำคัญมากต่อการแก้ปัญหาและการวางนโยบายเศรษฐกิจ ดังนั้นภาคการเมือง ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชน ทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ปัญหาผ่านนโยบายด้านต่างๆ ของรัฐบาล
จากนั้นอีก 2-3 ปี ปัญหาต่างๆ จะคลี่คลายดีขึ้นและเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว ซึ่งจะทำให้ภาคการคลังของรัฐบาลเริ่มดีขึ้นในปี 2554 และในปี 2555 การจัดทำงบประมาณรายจ่ายจะเริ่มมีงบประมาณขาดดุลน้อยลงหรือเริ่มเข้าสู่งบประมาณแบบสมดุลได้
"ยอมรับว่าแม้การกู้เงินเพิ่มเติมของรัฐบาลจนทำให้ภาระหนี้สาธารณะเพิ่มเร็วมาก จากระดับร้อยละ 30 ของจีดีพี เพิ่มเป็นร้อยละ 60 ในเวลาช่วง 3-4 ปี ซึ่งถือเป็นเรื่องหนักใจพอสมควรแต่ภาระหนี้ในระดับดังกล่าวยังสามารถบริหารจัดการได้เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว"