ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ ไตรมาส 1/52 มีกำไร 1.84 พันล้านบาท เหตุหยุดเดินเครื่องผลิตพลังงานต้นทุนลด ยันมีแนวคิดปลดพนักงานแต่หันลดค่าใช้จ่ายส่วนอื่นแทน ส่วนเรื่องลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย คาดได้ข้อสรุปกรกฎาคมนี้
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในไตมาส 1/52 พบว่ามีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1.84 พันล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1.70 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8.24% เนื่องจากการหยุดเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าตามความต้องการระบบ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงลดลง
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานดังกล่าวเป็นการรับรู้จากการขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าให้กับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งได้มีการทำสัญญาไว้กับทาง RATCH เป็นระยะเวลา 25 ปี และปัจจุบันสัญญาดังกล่าวเหลืออีกประมาณ 19-20 ปี
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจไม่ดี แต่ส่วนตัวก็ยังมีแผนที่จะปลดพนักงาน (lay out) เนื่องจากมองว่ายังไม่มีความจำเป็น เพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนอื่นแทนได้ เช่น การปรับลดกำลังการผลิตที่บริษัททำอยู่เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง
สำหรับแนวคิดการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมในประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลและรายละเอียดข้อกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งประเมินว่าจะได้เห็นความชัดเจนหลังจากนี้อีก 2-3 เดือน ส่วนโครงการเตรียมจะสร้างในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เช่น โรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสา โรงไฟฟ้าพลังน้ำ-น้ำงึม 3 และโรงไฟฟ้าเซเปียนเซน้ำน้อย นั้นก็คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนกรกฎาคมนี้
“ RATCH เป็นธุรกิจการผลิตพลังงาน บุคลากรถือได้ว่าค่อนข้างสำคัญมากในระบบ ดังนั้นการจะคิดปลดคนเพื่อลดต้นทุนเมื่อต้องเจอกับปัญหาเศรษฐกิจ จึงก็ไม่น่าจะใช่ความคิดที่ดีนัก ประกอบกับเรากำลังเตรียมจะขยายโรงไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องมีการรับคนเข้ามาเพิ่มให้เพียงพอกับงานที่จะขยายในอนาคต" นายนพพลกล่าว
ส่วนในออสเตรเลีย บริษัทก็ได้เข้าไปศึกษาข้อมูลธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้านพลังงานทั้งหมด ได้แก่ โรงไฟฟ้า และ เหมืองถ่านหิน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามจากทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นด้านแหล่งเงินและบุคคลากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของบริษัท จึงต้องมีการพิจารณาแต่ละก้าวอย่างรอบคอบ
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในไตมาส 1/52 พบว่ามีกำไรสุทธิอยู่ที่ 1.84 พันล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1.70 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8.24% เนื่องจากการหยุดเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าตามความต้องการระบบ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงลดลง
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานดังกล่าวเป็นการรับรู้จากการขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าให้กับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งได้มีการทำสัญญาไว้กับทาง RATCH เป็นระยะเวลา 25 ปี และปัจจุบันสัญญาดังกล่าวเหลืออีกประมาณ 19-20 ปี
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจไม่ดี แต่ส่วนตัวก็ยังมีแผนที่จะปลดพนักงาน (lay out) เนื่องจากมองว่ายังไม่มีความจำเป็น เพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนอื่นแทนได้ เช่น การปรับลดกำลังการผลิตที่บริษัททำอยู่เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง
สำหรับแนวคิดการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมในประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลและรายละเอียดข้อกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งประเมินว่าจะได้เห็นความชัดเจนหลังจากนี้อีก 2-3 เดือน ส่วนโครงการเตรียมจะสร้างในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เช่น โรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสา โรงไฟฟ้าพลังน้ำ-น้ำงึม 3 และโรงไฟฟ้าเซเปียนเซน้ำน้อย นั้นก็คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนกรกฎาคมนี้
“ RATCH เป็นธุรกิจการผลิตพลังงาน บุคลากรถือได้ว่าค่อนข้างสำคัญมากในระบบ ดังนั้นการจะคิดปลดคนเพื่อลดต้นทุนเมื่อต้องเจอกับปัญหาเศรษฐกิจ จึงก็ไม่น่าจะใช่ความคิดที่ดีนัก ประกอบกับเรากำลังเตรียมจะขยายโรงไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องมีการรับคนเข้ามาเพิ่มให้เพียงพอกับงานที่จะขยายในอนาคต" นายนพพลกล่าว
ส่วนในออสเตรเลีย บริษัทก็ได้เข้าไปศึกษาข้อมูลธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้านพลังงานทั้งหมด ได้แก่ โรงไฟฟ้า และ เหมืองถ่านหิน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามจากทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นด้านแหล่งเงินและบุคคลากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของบริษัท จึงต้องมีการพิจารณาแต่ละก้าวอย่างรอบคอบ