ธปท.แถลงตัวเลขความเชื่อมั่นธุรกิจเดือน มี.ค.อยู่ที่ 40 เพิ่มขึ้นจาก 37.4 พร้อมคาดตัวเลข GDP ไตรมาสแรก อาจหดตัว 5-6% แต่มีสัญญาณดีขึ้น
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภาวะเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม 2552 โดยระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ที่ 40 ปรับเพิ่มขึ้นจาก 37.4 ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นขององค์ประกอบเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการผลิตและคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้เป็นผลมาจากสต็อคสินค้าเริ่มลดลง
ประกอบกับ มีการเร่งการผลิตมากขึ้นเพื่อชดเชยวันหยุดยาวในช่วงสงกรานต์ ทำให้ผลประกอบการปรับเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นจากต้นทุนด้านพลังงานเป็นสำคัญ
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า ทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 41.5 เทียบกับระดับ 41.8 ในเดือนก่อนหน้า
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.ยังคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ไตรมาส 1 ปี 2552 เชื่อว่ายังหดตัว หากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมองว่า จีดีพี จะหดตัวร้อยละ 5-6 แต่มีสัญญาณดีขึ้น
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2551 ที่จีดีพี หดตัวสูงถึงร้อยละ 6.1 โดยหากเปรียบเทียบเป็นรายไตรมาสจีดีพีไตรมาส 1 ติดลบร้อยละ 0.9 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.2 เนื่องจากภาคเอกชนมีการปรับตัวกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้รวดเร็ว โดยเน้นผลิตสินค้า เพื่อการส่งออกตามคำสั่งซื้อ
ขณะที่สัญญาณเศรษฐกิจเดือนมีนาคม 2552 เริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าอิเลกทรอนิกส์จากต่างประเทศ และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากความต้องการครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการเบิกจ่ายของภาครัฐที่เร่งตัวขึ้นมากในเดือนมีนาคมเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยพยุงภาวะเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไตรมาส 2 ยังต้องติดตามปัจจัยที่เข้ามามีอิทธิพล คือ ภาวะเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมืองในประเทศ และการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์เม็กซิโก คงต้องดูว่ามีผลกระทบกับประเทศไทยแค่ไหน แต่ผลกระทบต่อการค้ามีค่อนข้างจำกัด เพราะประเทศไทยส่งออกและนำเข้าสุกรเพียงร้อยละ 0.1
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงภาวะเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม 2552 โดยระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ที่ 40 ปรับเพิ่มขึ้นจาก 37.4 ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นขององค์ประกอบเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการผลิตและคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้เป็นผลมาจากสต็อคสินค้าเริ่มลดลง
ประกอบกับ มีการเร่งการผลิตมากขึ้นเพื่อชดเชยวันหยุดยาวในช่วงสงกรานต์ ทำให้ผลประกอบการปรับเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นจากต้นทุนด้านพลังงานเป็นสำคัญ
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า ทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 41.5 เทียบกับระดับ 41.8 ในเดือนก่อนหน้า
ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท.ยังคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ไตรมาส 1 ปี 2552 เชื่อว่ายังหดตัว หากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมองว่า จีดีพี จะหดตัวร้อยละ 5-6 แต่มีสัญญาณดีขึ้น
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2551 ที่จีดีพี หดตัวสูงถึงร้อยละ 6.1 โดยหากเปรียบเทียบเป็นรายไตรมาสจีดีพีไตรมาส 1 ติดลบร้อยละ 0.9 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.2 เนื่องจากภาคเอกชนมีการปรับตัวกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้รวดเร็ว โดยเน้นผลิตสินค้า เพื่อการส่งออกตามคำสั่งซื้อ
ขณะที่สัญญาณเศรษฐกิจเดือนมีนาคม 2552 เริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าอิเลกทรอนิกส์จากต่างประเทศ และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากความต้องการครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการเบิกจ่ายของภาครัฐที่เร่งตัวขึ้นมากในเดือนมีนาคมเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยพยุงภาวะเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไตรมาส 2 ยังต้องติดตามปัจจัยที่เข้ามามีอิทธิพล คือ ภาวะเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมืองในประเทศ และการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์เม็กซิโก คงต้องดูว่ามีผลกระทบกับประเทศไทยแค่ไหน แต่ผลกระทบต่อการค้ามีค่อนข้างจำกัด เพราะประเทศไทยส่งออกและนำเข้าสุกรเพียงร้อยละ 0.1