นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปี 2552 ยังหดตัว หากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยจีดีพี หดตัวร้อยละ 5-6 แต่มีสัญญาณดีขึ้น
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2551 ที่จีดีพี หดตัวสูงถึงร้อยละ 6.1 โดยหากเปรียบเทียบเป็นรายไตรมาสจีดีพีไตรมาส 1 ติดลบร้อยละ 0.9 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.2 เนื่องจากภาคเอกชนมีการปรับตัวกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้รวดเร็ว โดยเน้นผลิตสินค้า เพื่อการส่งออกตามคำสั่งซื้อ ขณะที่สัญญาณเศรษฐกิจเดือนมีนาคมเริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากความต้องการครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการเบิกจ่ายของภาครัฐที่เร่งตัวขึ้นมากในเดือนมีนาคมเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยพยุงภาวะเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไตรมาส 2 ยังต้องติดตามปัจจัยที่เข้ามามีอิทธิพล คือ ภาวะเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมืองในประเทศ และการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์เม็กซิโก คงต้องดูว่ามีผลกระทบกับประเทศไทยแค่ไหน แต่ผลกระทบต่อการค้ามีค่อนข้างจำกัด เพราะประเทศไทยส่งออกและนำเข้าสุกรเพียงร้อยละ 0.1
ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2551 ที่จีดีพี หดตัวสูงถึงร้อยละ 6.1 โดยหากเปรียบเทียบเป็นรายไตรมาสจีดีพีไตรมาส 1 ติดลบร้อยละ 0.9 ถึงขยายตัวร้อยละ 0.2 เนื่องจากภาคเอกชนมีการปรับตัวกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้รวดเร็ว โดยเน้นผลิตสินค้า เพื่อการส่งออกตามคำสั่งซื้อ ขณะที่สัญญาณเศรษฐกิจเดือนมีนาคมเริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากความต้องการครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการเบิกจ่ายของภาครัฐที่เร่งตัวขึ้นมากในเดือนมีนาคมเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยพยุงภาวะเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไตรมาส 2 ยังต้องติดตามปัจจัยที่เข้ามามีอิทธิพล คือ ภาวะเศรษฐกิจโลก ปัญหาการเมืองในประเทศ และการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์เม็กซิโก คงต้องดูว่ามีผลกระทบกับประเทศไทยแค่ไหน แต่ผลกระทบต่อการค้ามีค่อนข้างจำกัด เพราะประเทศไทยส่งออกและนำเข้าสุกรเพียงร้อยละ 0.1