นักลงทุนหวั่นเชื่อไขหวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ในเม็กซิโกระบาดหนัก เทขายหุ้นทิ้งกดดัชนีตลาดหุ้นไทยร่วง 2.27 จุด หรือคิดเป็น 0.48% แม้จะน้อยกว่าตลาดหุ้นเอเชีย เหตุได้รับแรงบวกจากสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มคลี่คลาย-มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ขณะที่นักลงทุนต่างชาติหวนคืนตลาดหุ้นซื้อสุทธิตลอดเดือนเม.ย.รวม 3.5 พันล้านบาท “ภัทรียา” ยันไม่กระทบการลงทุน ปลอบมูลค่าการซื้อขายส่งสัญญาณดีขึ้นเฉลี่ยเกือบวันละ 1 หมื่นล้านบาทแล้ว
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (28 เม.ย.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวอยู่ในแดนบวกสลับแดนลบ โดยในช่วงเช้าดัชนีตลาดหุ้นได้ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 480.35 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลดลงและต่อเนื่องจนถึงช่วงบ่ายท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างหนาแน่น โดยดัชนีแตะระดับต่ำสุดที่ 468.96 จุด ก่อนปิดการซื้อขายที่ 472.72 จุด ลดลงจากวันก่อน 2.27 จุด หรือคิดเป็น 0.48% มูลค่าการซื้อขายรวม 17,642.85 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 619.99 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 479.40 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 140.59 ล้านบาท ส่งผลให้ตั้งแต่เดือนมกราคม 52 ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิรวมทั้งสิ้นกว่า 3,575.17 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บมจ. ปตท. (PTT) ราคาปิดที่ 181 บาท ลดลงจากวันก่อน 1 บาท หรือคิดเป็น 0.55% มูลค่าการซื้อขายรวม 2,512.28 ล้านบาท บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ราคาปิด 98.25 บาท ลดลง 1 บาท หรือ 1.01% มูลค่าการซื้อขาย 1,301.64 ล้านบาท และบมจ. ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) ราคาปิด 14.20 บาท ลดลง 0.30 บาท หรือ 2.07% มูลค่าการซื้อขาย 1,130.35 ล้านบาท
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ในประเทศเม็กซิโก ว่า การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากนัก เพราะไม่มีการแพร่ระบาดในประเทศไทย ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศเริ่มคลี่คลายลง ได้ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยตั้งแต่ต้นปี 2552 ที่ผ่านมามูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่วันละ 9,800 ล้านบาท หรือบางวันมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 20,000 ล้านบาท
ประกอบกับ ปัจจุบันนักลงทุนต่างประเทศได้เริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นแถบเอเชียมากขึ้น โดยดัชนีตลาดหุ้นบางประเทศได้ปรับตัวขึ้นไปแล้วประมาณ 10-20% ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงปลายเดือนมีนาคม – เมษายนที่ผ่านมา
“นักลงทุนต้องติดตามปัจจัยหลักๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการลงทุนทั่วโลก คือภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังน่าเป็นห่วง รวมถึงการประกาศผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ ควบคู่ไปด้วย ส่วนเรื่องโรดไข้หวัดหมูที่กำลังเป็นห่วงว่าจะกระทบต่อภาคการท่องเทียว หรือภาคการลงทุนนั้น คงจะไม่รุนแรงนัก หากรัฐบาลมีการดูแลและป้องกันอย่างรอบคอบ”
นางภัทรียา กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นต่างประเทศบ้าง โดยเฉพาะราคาหุ้นกลุ่มธุรกิจการบิน และธุรกิจการท่องเที่ยวที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ตลาดหุ้นไทยยังไม่ได้รับผลกระทบ เมื่อเทียบกับช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (ซาร์ส) และโรคไข้หวัดนก
นายพงษ์พันธ์ อภิญญากุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในทิศทางที่ดีกว่าตลาดหุ้นภูมิภาค โดยนักลงทุนต่างประเทศเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ท่ามกลางปัจจัยบวกและลบ โดยเฉพาะตลาดหุ้นในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากความวิตกกังวลผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์เม็กซิโก บวกกับกระแสข่าวสถาบันการเงินขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ อาจจะต้องเพิ่มทุน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคการเงินของสหรัฐฯ และยุโรป ก่อนที่จะขยายวงกว้างสู่เอเชียต่อไป
ด้านปัจจัยบวกที่มีผลต่อตลาดหุ้นไทย ได้แก่ สถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลายได้ในระดับหนึ่ง ส่งผลต่อความเชื่อมันของนักลงทุน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่นายกอปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาพูดอีกครั้งหนึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลจะถูกส่งผ่านลงไปยังผู้ใช้เงินโดยตรง รัฐบาลจะตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็น 3 แสนล้านบาท แต่จะได้รับการชดเชยภายใต้มาตรการชุดที่สองจำนวน 5 แสนล้านบาท ตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านการลงทุนหรือด้านอื่นๆ จะไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณประจำปีไม่ต้องรอเบิก ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีความเป็นนัยสำคัญพอสมควร
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วงเช้าตลาดหุ้นมีทิศทางปรับขึ้น แต่ไปได้ไม่ไกลนัก เนื่องจากนักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก น่าจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยบ้าง แม้จะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง หรือไม่รุนแรงเท่ากับโรคซาร์ส และไข้หวัดนกที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
ขณะเดียวกัน นักลงทุนจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวราคาน้ำมัน หลังจากก่อนหน้านี้หลายฝ่ายได้คากการณ์เศรษฐกิจน่าจะปรับตัวลดลงถึงจุดต่ำสุด ส่งผลให้ราคาน้ำมันขยับตัวสูงเหนือระดับ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่จะส่งผลให้ธุรกิจท่องเทียวลดลง และส่งผลต่อภาคธุรกิจในกลุ่มโรงแรม ขนส่งทางเรือ และสายการบิน
“ราคาน้ำมันลดน่าจะเป็นผลดีต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ แต่กลุ่มพลังงานมีน้ำหนักมากที่สุดในตลาดหุ้นไทย หากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงจะส่งผลต่อราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานด้วย ดังนั้นนักลงทุนจะต้องลงทุนอย่างระมัดระวัง รวมถึงหุ้นในกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบ เช่น AOT THAI กลุ่มธุรกิจโรงแรม”
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (28 เม.ย.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวอยู่ในแดนบวกสลับแดนลบ โดยในช่วงเช้าดัชนีตลาดหุ้นได้ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 480.35 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลดลงและต่อเนื่องจนถึงช่วงบ่ายท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างหนาแน่น โดยดัชนีแตะระดับต่ำสุดที่ 468.96 จุด ก่อนปิดการซื้อขายที่ 472.72 จุด ลดลงจากวันก่อน 2.27 จุด หรือคิดเป็น 0.48% มูลค่าการซื้อขายรวม 17,642.85 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 619.99 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 479.40 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 140.59 ล้านบาท ส่งผลให้ตั้งแต่เดือนมกราคม 52 ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิรวมทั้งสิ้นกว่า 3,575.17 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บมจ. ปตท. (PTT) ราคาปิดที่ 181 บาท ลดลงจากวันก่อน 1 บาท หรือคิดเป็น 0.55% มูลค่าการซื้อขายรวม 2,512.28 ล้านบาท บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ราคาปิด 98.25 บาท ลดลง 1 บาท หรือ 1.01% มูลค่าการซื้อขาย 1,301.64 ล้านบาท และบมจ. ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) ราคาปิด 14.20 บาท ลดลง 0.30 บาท หรือ 2.07% มูลค่าการซื้อขาย 1,130.35 ล้านบาท
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ในประเทศเม็กซิโก ว่า การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากนัก เพราะไม่มีการแพร่ระบาดในประเทศไทย ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศเริ่มคลี่คลายลง ได้ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยตั้งแต่ต้นปี 2552 ที่ผ่านมามูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่วันละ 9,800 ล้านบาท หรือบางวันมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 20,000 ล้านบาท
ประกอบกับ ปัจจุบันนักลงทุนต่างประเทศได้เริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นแถบเอเชียมากขึ้น โดยดัชนีตลาดหุ้นบางประเทศได้ปรับตัวขึ้นไปแล้วประมาณ 10-20% ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงปลายเดือนมีนาคม – เมษายนที่ผ่านมา
“นักลงทุนต้องติดตามปัจจัยหลักๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการลงทุนทั่วโลก คือภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังน่าเป็นห่วง รวมถึงการประกาศผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ ควบคู่ไปด้วย ส่วนเรื่องโรดไข้หวัดหมูที่กำลังเป็นห่วงว่าจะกระทบต่อภาคการท่องเทียว หรือภาคการลงทุนนั้น คงจะไม่รุนแรงนัก หากรัฐบาลมีการดูแลและป้องกันอย่างรอบคอบ”
นางภัทรียา กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นต่างประเทศบ้าง โดยเฉพาะราคาหุ้นกลุ่มธุรกิจการบิน และธุรกิจการท่องเที่ยวที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ตลาดหุ้นไทยยังไม่ได้รับผลกระทบ เมื่อเทียบกับช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (ซาร์ส) และโรคไข้หวัดนก
นายพงษ์พันธ์ อภิญญากุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในทิศทางที่ดีกว่าตลาดหุ้นภูมิภาค โดยนักลงทุนต่างประเทศเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ท่ามกลางปัจจัยบวกและลบ โดยเฉพาะตลาดหุ้นในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากความวิตกกังวลผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์เม็กซิโก บวกกับกระแสข่าวสถาบันการเงินขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ อาจจะต้องเพิ่มทุน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคการเงินของสหรัฐฯ และยุโรป ก่อนที่จะขยายวงกว้างสู่เอเชียต่อไป
ด้านปัจจัยบวกที่มีผลต่อตลาดหุ้นไทย ได้แก่ สถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลายได้ในระดับหนึ่ง ส่งผลต่อความเชื่อมันของนักลงทุน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่นายกอปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาพูดอีกครั้งหนึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลจะถูกส่งผ่านลงไปยังผู้ใช้เงินโดยตรง รัฐบาลจะตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็น 3 แสนล้านบาท แต่จะได้รับการชดเชยภายใต้มาตรการชุดที่สองจำนวน 5 แสนล้านบาท ตัวกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านการลงทุนหรือด้านอื่นๆ จะไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณประจำปีไม่ต้องรอเบิก ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีความเป็นนัยสำคัญพอสมควร
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วงเช้าตลาดหุ้นมีทิศทางปรับขึ้น แต่ไปได้ไม่ไกลนัก เนื่องจากนักลงทุนยังวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโก น่าจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยบ้าง แม้จะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง หรือไม่รุนแรงเท่ากับโรคซาร์ส และไข้หวัดนกที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
ขณะเดียวกัน นักลงทุนจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวราคาน้ำมัน หลังจากก่อนหน้านี้หลายฝ่ายได้คากการณ์เศรษฐกิจน่าจะปรับตัวลดลงถึงจุดต่ำสุด ส่งผลให้ราคาน้ำมันขยับตัวสูงเหนือระดับ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่จะส่งผลให้ธุรกิจท่องเทียวลดลง และส่งผลต่อภาคธุรกิจในกลุ่มโรงแรม ขนส่งทางเรือ และสายการบิน
“ราคาน้ำมันลดน่าจะเป็นผลดีต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ แต่กลุ่มพลังงานมีน้ำหนักมากที่สุดในตลาดหุ้นไทย หากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงจะส่งผลต่อราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานด้วย ดังนั้นนักลงทุนจะต้องลงทุนอย่างระมัดระวัง รวมถึงหุ้นในกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบ เช่น AOT THAI กลุ่มธุรกิจโรงแรม”