บล.กิมเอ็งฯ คว้าแชมป์โบรกเกอร์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดประจำไตรมาสแรกปี 52 ด้วยส่วนแบ่งถึง 9.61% ขณะที่ “ภัทร” โดนเบียดตกจากอันดับสองมาอยู่อันดับ 5 มาร์เกตแชร์เหลือ 4.90% “มนตรี”ไม่หวังมากทั้งปีขอเพียง 9% พร้อมมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดอนุพันธ์ ด้าน “แอสเซทพลัส”ยอมรับตลาดเงียบเหงา เร่งหารายได้ผ่านธุรกรรมอื่นเพิ่ม “ฟิลลิป”ปรับแผนรุกเพิ่มลูกค้ากระดานต่างชาติ
วิกฤตสถาบันการเงินที่ลุกลามและส่งต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองได้สร้างแรงกดดันและกระทบต่อตลาดหุ้นไทยอย่างหลีกเลียงไม่ได้ โดยตั้งแต่ต้นปี 2552 ที่ผ่านมา นักลงทุนได้ชะลอการลงทุนอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 8 พันล้านบาท จากปี 2551 ที่ผ่านมามูลค่การซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท
จากมูลค่าการซื้อขายของตลาดหุ้นที่ลดลง ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่มีรายได้หลักจากธรรมเนียมจากการซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) ดังนั้นบล. จึงจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มช่องทางการหารายได้อื่นๆ ทดแทนค่าคอมมิชชันที่หดหายไป หรือการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ไม่จำเป็น เพื่อจะให้บริษัทสามารถผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้
ASTV ผู้จัดการรายวัน ได้สำรวจส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ประจำงวดไตรมาส 1 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2552 เทียบกับสิ้นปี 2551 พบว่า บริษัทหลักทรัพย์ 5 อันดับแรกที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด ได้แก่ บล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 9.61% บล. บีฟิท จำกัด (มหาชน) หรือ BSEC 5.65% บล. เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP 5.55% บล. ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ ZMICO 5.32% และบล. ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA 4.90% (ตารางประกอบข่าว)
เทียบกับปี 2551 บล.ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด ได้แก่ บล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST อยู่ที่ 8.12% บล. ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA 6.04% บล. เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP 5.39% บล. เครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน หรือ CS 4.88% และ บล. ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ ZMICO 4.59%
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST เปิดเผยว่า ภาพผลประกอบการของบริษัทฯ ในช่วงไตรมาส 1/52 ที่ผ่านมายังคงเป็นไปตามทิศทางของตลาดหุ้นไทย ส่วนรายได้จะเป็นอย่างไรนั้นคงไม่สามารถตอบได้ เพราะอยู่ระหว่างการจัดทำงบบัญชีของไตรมาสดังกล่าว
ด้านงานการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ของปี 52 บริษัทฯ ตั้งเป้าส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เกตแชร์) อยู่ที่ 9% จากปี 51 ที่มีมาร์เกตแชร์ 8.12% โดยยังคงมุ่งเน้นคุณภาพของานวิจัยและข้อมูลต่างๆ รวมถึงจะพยายามรักษาฐานลูกค้าให้ดี และผลประโยชน์ของลูกค้าให้มากที่สุด
สำหรับแนวทางการดำเนินของทาง KEST ยังคงมุ่งเน้นขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ของตลาดอนุพันธ์ (tfex) อาทิ สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า (gold future) การลงทุนในฟิวเจอร์ของหุ้นรายตัว (single stock futures) ตลอดจจนใบสำคัญแสดงสิทธิ์อาจเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต
อย่างไรก็ดี แม้ว่าสภาพเศรษฐกิจจะหดตัว แต่ก็ยังไม่มีแนวคิดปิดสาขา และปลดพนักงาน (lay out) เนื่องจากมองว่ายังสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนอื่นแทนได้ รวมถึงยังเปิดรับบุคลากรที่มีความเชี่ยวด้านอื่นนอกจากหลักทรัพย์ที่ต้องการร่วมงานกับบล.กิมเอ็ง เพื่อเสริมคุณภาพการให้บริการนักลงทุนอีกด้วย
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP กล่าวว่า ในไตรมาส 1/52 รายได้ของบริษัทฯ ยังคงเคลื่อนไหวตามภาวะของตลาดหุ้นไทยเป็น ซึ่งจะปรับขึ้นหรือลงแค่ไหนคงต้องรอดูในส่วนของงบการเงิน
อย่างไรก็ตามจากบรรยากาศการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯที่เงียบเหงาซึ่งสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจหดตัว และมีผลกระทบกับรายได้จากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ดังนั้นจึงคาดว่าส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เกตแชร์) ของทั้งปี 2552 น่าจะอยู่ที่ 5.47% ซึ่งใกล้เคียงกับปี 51 ที่มีมาร์เกตแชร์ 5%
ส่วนทิศทางการดำเนินงานคงมุ่งเน้นกระจายฐานรายได้เพิ่มเติมนอกเหนือจากการเป็นนายหน้าค้าหลักทรัพย์ เช่น ตราสารทางการเงิน ฯลฯ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงหากรายได้ส่วนใดลดลงก็ยังมีรายได้ทางอื่นเข้ามาทดแทน
พร้อมกันนี้ ทางบริษัทจะเพิ่มพอร์ตการลงทุนหุ้นขนาดเล็กและกลางที่ให้ผลตอบในรูปของเงินปันผล (Dividend Yield) อยู่ที่ระดับ 7-8% โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก อาหาร ซึงจะเป็นการลงทุนระยะยาว 3ปีขึ้นไป จากเดิมที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว เช่น บมจ.ปตท (PTT)
ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารงานดังกล่าว ทางบริษัทได้มีการปรับสัดส่วนรายได้ เช่น การค้าหลักทรัพย์มาเหลือ 50% จากปี 50 ที่มีสัดส่วน 68%, การลงทุนมาเป็น 20% จากปี 50 ที่สัดส่วนอยู่ที่ 8%, วาณิชธนกิจเป็น 10% จากปี 50 อยู่ที่ 5%, การให้คำแนะนำการลงทุนกับลูกค้าเป็น 15% จากปี 50 อยู่ที่ 10%, อื่นเหลือ 5% จากปี 50 อยู่ที่ 9%
ด้านสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บล.ฟิลลิป จำกัด กล่าวถึงการบริหารงานบริษัทฯท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่คงต้องปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป รวงถึงอาจต้องมีการปลดพนักงาน (lay off) ในส่วนแบ็คอ๊อฟฟิตบางตำแหน่ง
ขณะเดียวกันบริษัทฯเตรียมขยายฐานลูกค้าในส่วนกระดานซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศเพิ่มเติม เพราะในส่วนนี้ถือเป็นจุดแข็งของบริษัทและอาจเรียกได้ว่าเป็นบริษัทแห่งเดียวในไทยที่มีระบบดังกล่าวที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าจะมีลูกค้ามาเปิดบัญชีซื้อขายกระดานต่างประเทศเพิ่มเป็น 300 บัญชี จากปีก่อนที่มีบัญชีลูกค้า 150 บัญชี ส่วนงานค้าหลักทรัพย์เชื่อว่ามาร์เกตแชร์ที่ 3.5% จากปี 51 ที่มีมาร์เกตแชร์ 3.1%
นอกจากนี้ ภายหลังจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดอนุพันธ์ เช่น gold futures และประเมินแล้วอนุพันธ์ยังมีการเติบโตเนื่อง เพราะช่องทางส่วนนี้สามารถลงทุนได้ทั้งในภาวะตลาดขาขึ้นและขาลง จึงเชื่อว่าจะเห็นมาร์เกตแชร์ปีนี้เพิ่มเป็น 8%
วิกฤตสถาบันการเงินที่ลุกลามและส่งต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงปัญหาสถานการณ์ทางการเมืองได้สร้างแรงกดดันและกระทบต่อตลาดหุ้นไทยอย่างหลีกเลียงไม่ได้ โดยตั้งแต่ต้นปี 2552 ที่ผ่านมา นักลงทุนได้ชะลอการลงทุนอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 8 พันล้านบาท จากปี 2551 ที่ผ่านมามูลค่การซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท
จากมูลค่าการซื้อขายของตลาดหุ้นที่ลดลง ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ที่มีรายได้หลักจากธรรมเนียมจากการซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) ดังนั้นบล. จึงจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มช่องทางการหารายได้อื่นๆ ทดแทนค่าคอมมิชชันที่หดหายไป หรือการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ไม่จำเป็น เพื่อจะให้บริษัทสามารถผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปได้
ASTV ผู้จัดการรายวัน ได้สำรวจส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ประจำงวดไตรมาส 1 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2552 เทียบกับสิ้นปี 2551 พบว่า บริษัทหลักทรัพย์ 5 อันดับแรกที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด ได้แก่ บล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 9.61% บล. บีฟิท จำกัด (มหาชน) หรือ BSEC 5.65% บล. เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP 5.55% บล. ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ ZMICO 5.32% และบล. ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA 4.90% (ตารางประกอบข่าว)
เทียบกับปี 2551 บล.ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด ได้แก่ บล. กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST อยู่ที่ 8.12% บล. ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA 6.04% บล. เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP 5.39% บล. เครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน หรือ CS 4.88% และ บล. ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน) หรือ ZMICO 4.59%
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST เปิดเผยว่า ภาพผลประกอบการของบริษัทฯ ในช่วงไตรมาส 1/52 ที่ผ่านมายังคงเป็นไปตามทิศทางของตลาดหุ้นไทย ส่วนรายได้จะเป็นอย่างไรนั้นคงไม่สามารถตอบได้ เพราะอยู่ระหว่างการจัดทำงบบัญชีของไตรมาสดังกล่าว
ด้านงานการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ของปี 52 บริษัทฯ ตั้งเป้าส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เกตแชร์) อยู่ที่ 9% จากปี 51 ที่มีมาร์เกตแชร์ 8.12% โดยยังคงมุ่งเน้นคุณภาพของานวิจัยและข้อมูลต่างๆ รวมถึงจะพยายามรักษาฐานลูกค้าให้ดี และผลประโยชน์ของลูกค้าให้มากที่สุด
สำหรับแนวทางการดำเนินของทาง KEST ยังคงมุ่งเน้นขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ของตลาดอนุพันธ์ (tfex) อาทิ สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า (gold future) การลงทุนในฟิวเจอร์ของหุ้นรายตัว (single stock futures) ตลอดจจนใบสำคัญแสดงสิทธิ์อาจเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต
อย่างไรก็ดี แม้ว่าสภาพเศรษฐกิจจะหดตัว แต่ก็ยังไม่มีแนวคิดปิดสาขา และปลดพนักงาน (lay out) เนื่องจากมองว่ายังสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนอื่นแทนได้ รวมถึงยังเปิดรับบุคลากรที่มีความเชี่ยวด้านอื่นนอกจากหลักทรัพย์ที่ต้องการร่วมงานกับบล.กิมเอ็ง เพื่อเสริมคุณภาพการให้บริการนักลงทุนอีกด้วย
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP กล่าวว่า ในไตรมาส 1/52 รายได้ของบริษัทฯ ยังคงเคลื่อนไหวตามภาวะของตลาดหุ้นไทยเป็น ซึ่งจะปรับขึ้นหรือลงแค่ไหนคงต้องรอดูในส่วนของงบการเงิน
อย่างไรก็ตามจากบรรยากาศการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯที่เงียบเหงาซึ่งสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจหดตัว และมีผลกระทบกับรายได้จากการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ดังนั้นจึงคาดว่าส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เกตแชร์) ของทั้งปี 2552 น่าจะอยู่ที่ 5.47% ซึ่งใกล้เคียงกับปี 51 ที่มีมาร์เกตแชร์ 5%
ส่วนทิศทางการดำเนินงานคงมุ่งเน้นกระจายฐานรายได้เพิ่มเติมนอกเหนือจากการเป็นนายหน้าค้าหลักทรัพย์ เช่น ตราสารทางการเงิน ฯลฯ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงหากรายได้ส่วนใดลดลงก็ยังมีรายได้ทางอื่นเข้ามาทดแทน
พร้อมกันนี้ ทางบริษัทจะเพิ่มพอร์ตการลงทุนหุ้นขนาดเล็กและกลางที่ให้ผลตอบในรูปของเงินปันผล (Dividend Yield) อยู่ที่ระดับ 7-8% โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก อาหาร ซึงจะเป็นการลงทุนระยะยาว 3ปีขึ้นไป จากเดิมที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว เช่น บมจ.ปตท (PTT)
ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารงานดังกล่าว ทางบริษัทได้มีการปรับสัดส่วนรายได้ เช่น การค้าหลักทรัพย์มาเหลือ 50% จากปี 50 ที่มีสัดส่วน 68%, การลงทุนมาเป็น 20% จากปี 50 ที่สัดส่วนอยู่ที่ 8%, วาณิชธนกิจเป็น 10% จากปี 50 อยู่ที่ 5%, การให้คำแนะนำการลงทุนกับลูกค้าเป็น 15% จากปี 50 อยู่ที่ 10%, อื่นเหลือ 5% จากปี 50 อยู่ที่ 9%
ด้านสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บล.ฟิลลิป จำกัด กล่าวถึงการบริหารงานบริษัทฯท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่คงต้องปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป รวงถึงอาจต้องมีการปลดพนักงาน (lay off) ในส่วนแบ็คอ๊อฟฟิตบางตำแหน่ง
ขณะเดียวกันบริษัทฯเตรียมขยายฐานลูกค้าในส่วนกระดานซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศเพิ่มเติม เพราะในส่วนนี้ถือเป็นจุดแข็งของบริษัทและอาจเรียกได้ว่าเป็นบริษัทแห่งเดียวในไทยที่มีระบบดังกล่าวที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าจะมีลูกค้ามาเปิดบัญชีซื้อขายกระดานต่างประเทศเพิ่มเป็น 300 บัญชี จากปีก่อนที่มีบัญชีลูกค้า 150 บัญชี ส่วนงานค้าหลักทรัพย์เชื่อว่ามาร์เกตแชร์ที่ 3.5% จากปี 51 ที่มีมาร์เกตแชร์ 3.1%
นอกจากนี้ ภายหลังจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดอนุพันธ์ เช่น gold futures และประเมินแล้วอนุพันธ์ยังมีการเติบโตเนื่อง เพราะช่องทางส่วนนี้สามารถลงทุนได้ทั้งในภาวะตลาดขาขึ้นและขาลง จึงเชื่อว่าจะเห็นมาร์เกตแชร์ปีนี้เพิ่มเป็น 8%