xs
xsm
sm
md
lg

สมาคมบล.ถกเปิดเสรีคอมฯ เม.ย.นี้ หวังก.ล.ต.ทบทวนเวลาเหมาะสม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

"กัมปนาท" เตรียมถก ก.ล.ต. เพื่อหารือเลื่อนเปิดเสรีใบอนุญาติค้าหลักทรัพย์-ค่าคอมมิชชั่น ภายในเดือนเมษายนนี้ เพื่อรอจังหวะเหมาะสม ชี้หากไม่เลื่อนอาจเห็นโบรกเกอร์ล้มและปิดตัวเพิ่ม เหตุวอลุ่มไตรมาสแรกวูบถึง 50% เทียบกับปี 51

นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด ในฐานนะนายกสมาคมบริษัหลักทรัพย์ (บล.) กล่าวถึงเรื่องการเปิดเสรีใบอนุญาติค้าหลักทรัพย์และค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชั่น) แบบขั้นบันไดในปี 53 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่าส่วนตัวไม่ได้คัดค้านเรื่องการเปิดเสรีฯ เพียงแต่อยากให้ทบทวนในเรื่องของระยะเวลาการเปิด เพราะอาจทำให้ธุรกิจหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์ ) ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เกตแชร์) ต่ำกว่า 2 % บางแห่งอาจต้องปิดตัว หรือมีการควบรวมกิจการประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนธุรกิจโบรกเกอร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันประมาณ 40 แห่ง เชื่อว่าน่าจะมีการพูดคุยภายในเดือนเมษายน 52

ทั้งนี้ ภายหลังจากเปิดเสรีฯ จะไม่ส่งผลกระทบให้โบรกเกอร์แต่ละแห่งปิดหรืออเลิกกิจการไปในทันที เนื่องจากยังมีเงินทุนที่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกระยะ แต่จะส่งผลต่อการดำเนินงานในระยะยาว ซึ่้งทำให้บริษัทหลักทรัพย์ลดจำนวนลงในอนาคต

สำหรับการเปิดเสรี ฯ นี้มีจุดเริ่มต้นเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งในตอนนั้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลาดหลักทรัพย์ฯ )มีมูลค่าตลาดรวม (market cap) ประมาณ 4 ล้านล้านบาท จากปัจจุบัน market cap อยู่ที่ 3.53 ล้านล้านบาท โดยในช่วงเริ่มต้นได้ประเมินว่าหากเปิดเสรีฯ เรียบร้อยแล้ว market cap จะเพิ่มขึ้นเป็น 12 ล้านล้านบาท ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้นรายได้ของธุรกิจหลักทรัพย์ก็จะเท่าเดิม เนื่องจากตลาดฯมีขนาดใหญ่ขึ้น

อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบข้อมูลปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยในช่วงไตรมาส 1/52 พบว่าอยู่ประมาณ 8 พันล้านบาทต่อวัน เทียบกับวอลุ่มการซื้อขายเฉลี่ยปี 51 ที่อยู่ประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาทต่อวัน หรือลดลง 50% ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวได้ส่งผลกระทบธุรกิจโบรกเกอร์ที่พึ่งพารายได้หลักจากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ถึงประมาณ 80% ของรายได้รวม

ขณะที่ประเด็นเรื่องการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์นั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่างกฎหมาย เพื่อนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฏร์(สภาฯ) ให้พิจารณา โดยทางสมาคมฯ ได้มีการร้องขอให้มีภาคเอกชนเข้าไปร่วมในขั้นตอนดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีเพียงคณะทำงานจากกระทรวงการคลัง ตลาดหลักทรัพย์ ฯ และ สำนักงาน ก.ล.ต. ส่วนการแปรรูปจะสามารถเสร็จสิ้นได้เมื่อใดคงต้องขึ้นอยู่กับขั้นตอนของการยื่นกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้สภาฯ พิจารณา ทั้งนี้ หากสภาฯ มีสถานะที่ไม่แข็งแกร่งอาจส่งผลให้กฎหมายดังกล่าวมีความล่าช้าออกไป
กำลังโหลดความคิดเห็น